๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกันคิด ช่วยกันทำ : ก้าวย่างและพัฒนาการของ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค ๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ๑. มีการจัดตั้ง สสส. ๒. สปสช. ๓. การถ่ายโอนภารกิจด้านสุขภาพไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นผลมาจาก พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ๔. การปฏิรูประบบราชการในปี ๒๕๔๕ ๕. สถานพยาบาลเอกชน เริ่มมีบทบาทการส่งเสริมป้องกันสำหรับประชาชนที่ขึ้นทะเบียนหลักประกันสุขภาพและผู้มีประกันสังคมมากยิ่งขึ้น
บทบาทและภารกิจของหน่วยงาน องค์การที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพในปัจจุบัน สธ. การพัฒนาสุขภาพระดับนโยบายและการสาธารณสุขระดับชุมชน สปสช. การบริหารจัดการงบประมาณสำหรับบริการสุขภาพระดับบุคคลและครอบครัว สสส. การสร้างเสริมสุขภาพ สช. การขับเคลื่อนเชิงสังคมและภาคประชาชน อปท. ส่วนราชการอื่น ฯ การสนับสนุนเฉพาะกลุ่มเฉพาะด้าน
บทบาทภารกิจของกระทรวง บทบาทภารกิจของ สปสช. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๔๒ ได้กำหนดว่า “กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข” เป้าหมายการบริหารงบประมาณของ สปสช. ระบุไว้ว่า “เพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนในพื้นที่และภูมิภาค ไม่ว่าจะมีการประกันสุขภาพระบบใด สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน มีการกระจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อย่างเป็นธรรม และกระตุ้นให้ผู้ให้บริการมีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการให้บริการกับประชาชนมากขึ้น โดยการจ่ายเงินตามผลงานและความครอบคลุมของการให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการให้บริการได้อย่างแท้จริง และสามารถผลักดันให้มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือในการบริหารงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค MOPH NHSO Policy Formulation & Provider Provider ผู้รับบริการ / ประชาชน Consumer
หลักการร่วมกันคิด ช่วยกันทำ ๑. หลักแห่งความรับผิดชอบร่วมกัน ๒. หลักบูรณาการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ๓. หลักการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานในพื้นที่
ความร่วมมือในการบริหารงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับบุคคล เป็นความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ให้บริการกับผู้ซื้อบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุดภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยหลักการ ร่วมกันคิด ช่วยกันทำ ในทุกระดับ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ต่อไป
ขอขอบคุณ