การออกแบบการวิจัย (Research Design) น.ท.หญิง สิริรัตน์ เนียมอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
สรุปขั้นตอนการวิจัย แนวคิด/ทฤษฎี/ประสบการณ์/การสังเกต ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ดำเนินการวิจัยตามแผน สมมติฐานการวิจัย เครื่องมือ รวบรวม วิเคราะห์ การออกแบบการวิจัย การแปลความหมาย วัด สุ่ม วิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
แบบการวิจัยคืออะไร
ความหมายของการออกแบบการวิจัย การกำหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อความรู้ตามปัญหาการวิจัยที่ตั้งไว้
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบที่ไม่ใช่การทดลอง 1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นแบบที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริงในอดีตด้วยการรวบรวมหลักฐาน ตรวจสอบและสังเคราะห์ เพื่อสรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันได้ หรือสนับสนุนสมมติฐานที่มีอยู่แล้ว
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบที่ไม่ใช่การทดลอง 2. การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เป็นแบบที่ต้องการศึกษาหาข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ โดยไม่มีการจัดกระทำ (Non-manipulated) ใดๆ เพื่อควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 2.1 การวิจัยศึกษาเฉพาะกรณี (Case study research) 2.2 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) 2.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research)
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบที่ไม่ใช่การทดลอง 3. การวิจัยเชิงสาเหตุ (Causal research) เป็นแบบที่ต้องการศึกษาหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลของตัวแปร ด้วยการสังเกตหรือการวัดผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วสืบสาวกลับไปหาเหตุที่เกิดขึ้นในอดีต จึงไม่มีการควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เราจึงอาจเรียกการวิจัยแบบนี้ว่า การวิจัยย้อนรอย (Ex post facto research)
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบที่ไม่ใช่การทดลอง 4. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เป็นแบบที่ต้องการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ(Skills) หรือวิธีการ (Approaches) ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ซึ่งอาจเป็นการสร้างแบบ (Model) ทั้งที่เป็นแนวความคิดและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และนำไปทดลองใช้แก้ปัญหาในการทำงานที่ตนรับผิดชอบ
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบทดลอง 1. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) เป็นแบบที่ต้องการศึกษาหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลของตัวแปรที่พยายามจัดกระทำ (manipulated) เพื่อควบคุมสภาพการณ์และตัวแปรที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีผลต่อตัวแปรที่ศึกษา แต่ไม่สามารถจัดกระทำได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีอิทธิพลของ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องปะปนเหลืออยู่ ซึ่งมีผลต่อความตรงภายในและความตรงภายนอกของผลการวิจัย
รูปแบบของการวิจัย การวิจัยแบบทดลอง 2. การวิจัยเชิงทดลองแท้จริง (True-experimental design) เป็นแบบที่ต้องการศึกษาหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลของตัวแปร ด้วยการจัดกระทำที่มีระบบระเบียบ (manipulated) เพื่อควบคุมสภาพการณ์และตัวแปรที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีผลต่อตัวแปรที่ศึกษา ยกเว้นสิ่งที่ต้องการศึกษา (Treatment) เท่านั้น โดยจัดให้มีการทดลองกับตัวอย่างในกลุ่มทดลอง จำนวน 1 กลุ่ม หรือมากกว่า 1 กลุ่ม และเปรียบเทียบผลการทดลองกับกลุ่มควบคุม จำนวน 1 กลุ่ม หรือมากกว่า 1 กลุ่ม
ขอบเขตของการวิจัย ขนาดของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประเภทและจำนวนของตัวแปรที่ต้องการศึกษา ช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา
แนวทางการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ต้องการศึกษา ความหมาย การวัดค่า การสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอบข้อซักถาม