เอกสารประกอบการบรรยายสรุป การศึกษาพหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการ ที่ ๑๐ และ ๑๒ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม ระหว่าง สบย.๗ และ สบย.๑๒ (ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้)
พหุวัฒนธรรมอีสาน ๙ จังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ
๙ คำขวัญประจำจังหวัด ในเขตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ ขอนแก่น พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก มหาสารคาม พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร กาฬสินธุ์ เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี ร้อยเอ็ด สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ อุดรธานี น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิดแดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรชันไฌน์ เลย เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู หนองบัวลำภู ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน หนองคาย วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว บึงกาฬ สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ สภาพทางสังคมชาวอีสาน แม้ในพื้นที่ภาคอีสานจะประกอบด้วยหลายชนเผ่าแต่การดำเนินชีวิตทั่วไปของชาวไทยในภาคอีสานขึ้นอยู่กับความเชื่อ และระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ยึดถือร่วมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณที่รียกว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” หมายถึงจารีต และครรลอง ที่ยึดถือสืบต่อกันมา ทำให้สังคมพื้นบ้านอีสานมีความสงบสุข
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ ภาษาท้องถิ่นอีสาน ในพื้นที่ภาคอีสานมีภาษาพูดประจำถิ่นหลายภาษา ตามแต่ละชนเผ่า เช่น ลาว ญ้อ ภูไท กะเลิง แสก โซ่ กุลา ไทเลย ฯลฯ ภูไท กุลา อีสาน กะเลิง ญ้อ
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ ประเพณีอีสาน ประเพณีของคนอีสานส่วนใหญ่จะสืบทอดมาแต่สมัยโบราณ เช่นบุญบั้งไฟ ผีตาโขน บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม บุญเดือนสี่ บุญผะเหวด บุญคูณลาน บุญซำฮะ เป็นต้น การเล่นผีตาโขน จ.เลย บุญบั้งไฟ บุญผะเหวดร้อยเอ็ด
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ อีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ดนตรีหมอลำ และศิลปะ การฟ้อนรำที่เรียกว่า เซิ้ง เป็นต้น ดนตรี อาหาร การฟ้อนรำ
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ วัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมือง อีสานมีชนพื้นเมืองหลายเผ่าพันธุ์ ลักษณะการแต่งกายจะมีเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่าเช่น ภูไท ญ้อ ไทลาว โย้ย
พหุวัฒนธรรมอีสานในเขตตรวจราชการที่ ๑๐ และ ๑๒ สรุป แม้ว่าชาวอีสานจะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยอีสาน ลาว แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่)รวมทั้งชนเผ่าอื่น ๆ ซึ่งแต่ละเผ่ามีความแตกต่างกัน ทั้งทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต แต่วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า"ฮีตบ้านคองเมือง" และ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"สอนให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญ งานกุศลเป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ของกลุ่มชนต่างๆเหล่านี้มีความ สงบสุขตลอดมาตราบถึงปัจจุบัน