ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ส่วนราชการ,องค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ของ ส่วนราชการ,องค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ WT. WT. เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการเสียภาษีเงินได้ทั้ง PIT & CIT WT. ถือเป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เว้นแต่ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ที่เป็นภาษีเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (Final Tax) เป็นการจัดเก็บในขณะที่ผู้มีเงินได้ยังมีความสามารถในการเสียภาษี (Pay as you earn, Pay as you go, Deduct at source) ก่อให้เกิดความสมัครใจในการเสียภาษีอากร การจัดเก็บ WT. ไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่จะจัดเก็บภาษีตามวิธีอื่น เว้นแต่กรณีการเลือกเสียภาษี PIT ตามมาตรา 48(3) และ (4) รวมทั้ง พรฎ. (ฉบับที่ 262) และ พรฎ. (ฉบับที่ 10) มาตรา 5 จตุทศ (Final Tax)
วิธีการเสียภาษีเงินได้ การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย PIT มาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส CIT มาตรา 69 ทวิ 69 ตรี และมาตรา 3 เตรส และมาตรา 70 การเสียภาษีโดยการยื่นรายการประเมินตนเอง การยื่นแบบแสดงรายการก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ การเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี การเสียภาษีเงินได้ประจำปี การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ การเสียภาษีโดยโรงงานยาสูบกระทรวงการคลังเป็นผู้เสียภาษีแทนผู้ค้าบุหรี่ การเลือกเสียภาษี
WT. ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาตรา 60 เพื่อประโยชน์แห่งการคำนวณยอดเงินได้พึงประเมินของผู้ต้องเสียภาษี ให้ถือว่าเงินภาษีที่ได้หักและนำส่งตามความในมาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 53 เป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้ต้องเสียภาษีได้รับ ส่วนจำนวนเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้นั้น ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล มาตรา 69 ทวิ ...ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น มาตรา 69 ตรี ... ภาษีที่หักไว้และนำส่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ถูกหักภาษีตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น
WT. ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542 ข้อ 11 กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรม สรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว สำหรับผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง ผู้มีเงินได้จึงมีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 60 และมาตรา 69 ทวิ กรณีให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้มีเงินได้ดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ผู้มีเงินได้ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จริง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจะได้นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือไม่ หรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องก็ตาม
WT. ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542 ข้อ 11 (ต่อ) กรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่า ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แต่ไม่ได้นำเงินส่งกรม สรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการทางแพ่งและทางอาญากับผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้นำส่งเงินภาษีให้ครบจำนวนที่ถูกต้องต่อไป
WT. ก่อให้เกิดความสมัครใจ ในการเสียภาษีอากร ในการนำส่ง WT. ผู้นำส่งต้องใส่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ รายการเงินได้ จำนวนเงินได้ จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะกรมสรรพากร สามารถติดตามการยื่นรายการและเสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้ โดยสะดวกและรวดเร็ว เป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป ถึงประสิทธิภาพของการใช้ข้อมูลจากการยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับผู้มีเงินได้ที่ดำรงความเป็นธรรม และมุ่งมั่นที่จะเสียภาษีอากรโดยถูกต้องและครบถ้วน ย่อมไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเรียกตรวจสอบภาษีอากรแต่ประการใด
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้ (ภ.ง.ด.1ก, 2ก และ 3ก) (ม.58) ออกหนังสือรับรองการหัก WT. (ม.50 ทวิ) จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหัก WT. และการนำส่งภาษี (ม.17) ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบ (ม.27จัตวา, 51) ร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวน WT ที่หัก และนำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน (ม.54)
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 50 (กฎหมายพิเศษ) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 3 เตรส (กฎหมายทั่วไป) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 69 ทวิ (กฎหมายพิเศษ) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 69 ตรี (กฎหมายพิเศษ) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 70 (กฎหมายพิเศษ)
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. กรณีทั่วไป นำส่งตามมาตรา 52 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 24 ก.ค. 2544 ออกตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง) พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการตามาตรา 59 โดยให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่ ดังนี้ - ภ.ง.ด.1 สำหรับ PIT ที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) - ภ.ง.ด.2 สำหรับ PIT ที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ (4) - ภ.ง.ด.3 สำหรับ PIT ที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) และ (8) - ภ.ง.ด.53 สำหรับ CIT หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 และมาตรา 3 เตรส - ภ.ง.ด.54 สำหรับ CIT ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ให้ผู้จ่ายเงินได้นำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าตนจะได้หักไว้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 52) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นส่วนราชการ อาจใช้วิธีเบิกหักผลักส่งไว้ในฎีกาเบิกเงินตามมาตรา 53 (ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16 และ 58) ประกอบ)
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. การนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับการขายอสังหา ริมทรัพย์ตามมาตรา 50(5) หรือ(6) และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 69 ตรี ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน โดยไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (มาตรา 52 วรรคสาม และมาตรา 69 ตรี) ผู้จ่ายเงินได้อาจนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตทาง Web Site ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง แบบแสดงรายการ ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ วันที่ใช้บังคับ ภ.ง.ด.1, 2, 3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.54 (ฉบับที่ 106) (ฉบับที่ 111) (ฉบับที่ 95) 1 ก.ค. 2545 1 ต.ค. 2545 1 ต.ค. 2544
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58 ภ.ง.ด.1 ก สำหรับแสดงรายการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป (มาตรา 58(2)) ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ สำหรับแสดงรายการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) กรณีมีการตั้งฎีกาเบิกเงิน เฉพาะข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป (มาตรา 58(1)) ภ.ง.ด.2 ก สำหรับการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ (4) ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป (ม.58(2)) ภ.ง.ด.3 ก สำหรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7) และ (8) เฉพาะกรณีส่วนราชการเป็นผู้จ่ายเงินได้ ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป (มาตรา 58(1)) (ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) ประกอบ)
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ให้ผู้ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, 2, 3 และ 53) ตามมาตรา 59 หรือรายการสรุปการจ่ายเงินได้และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1 ก, 2 ก) ตามมาตรา 58 ด้วยสื่อบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ (Format) ของข้อมูลที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดได้ ยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร อำนายให้เกิดความสะดวกในการจัดเตรียมแบบแสดงรายการ ลดทอนค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของภาคเอกชนและภาครัฐ (ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) ประกอบ)
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. การแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับคนต่างด้าว ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการ ภ.ง.ด.1 แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวอย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบที่อฺธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าว สำหรับเงินได้ของเดือน มกราคมของทุกปี (2) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่เข้าทำงาน (3) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งออกจากงานในระหว่างปี ภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. การแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับคนต่างด้าว (ต่อ) แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดดังกล่าว ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ของเดือนมกราคมของทุกปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวออกจากงานในระหว่างปีภาษี แล้วแต่กรณี ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสองฉบับ มีข้อความตรงกันในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ - ในกรณีตามมาตรา 3 เตรส ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหัก WT. - ในกรณีตามมาตรา 50(1) ให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปี ถัดจากปีภาษี หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานในระหว่างปีภาษี - ในกรณีตามมาตรา 50(2)(3) หรือ (4) ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการ หักภาษี ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) กรณีที่ส่วนราชการได้จดแจ้งการหักภาษีไว้ในฎีกาเบิกเงิน และได้มีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ให้ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับดังนี้ (1) ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ” (2) ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน” ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับเพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ชำรุด สูญหาย โดยการออกใบแทน ให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และมีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมาย เลขลำดับของเล่มก็ได้ การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิว เตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้ สำหรับรายการประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนดังกล่าว และกองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุจำนวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องทำเป็นภาษาไทยหรือภาษา อังกฤษ แต่ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค ผู้ใดประสงค์จะทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวข้างต้น ให้ยื่นคำขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้ปฏิบัติตามนั้นได้
หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นไปตาม มาตรา 50 ทวิ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงใช้บังคับกับเฉพาะกรณีการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาปรับใช้กับการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายได้ โดยมีเฉพาะรายการที่จำเป็นต้องใช้กับการหักภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น สำหรับรายการที่ไม่จำเป็น เช่น ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ... หรือข้อมูลเกี่ยวกับการหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น ก็ไม่จำเป็นจัดให้มีก็ได้
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ จัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบ WT. มาตรา 51 ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)(3)(4) และ (7) หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง เพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นสมควร โดยต้องปฏิบัติตามภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. มาตรา 54 ถ้าผู้จ่ายเงินได้... มิได้หักและนำเงินส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักเงินภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้แล้วนั้น และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว มาตรา 27 บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. รายการ ความรับผิดของ ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ 1. ผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง หรือได้หักและนำส่งแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง 2. กรณีตาม 1. ผู้มีเงินได้ได้นำเงินได้ตามจำนวนที่ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือตามจำนวนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีแล้ว ผู้จ่ายเงินได้จึงหลุดพ้นจากหนี้ภาษี เฉพาะเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่ผู้จ่ายเงินได้ยังคงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 27* ถือว่าผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นลูก หนี้ร่วมของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ชำระหนี้ภาษีแล้ว * ให้คำนวณเงินเพิ่ม นับแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีครบจำนวนที่ถูกต้อง แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง (ข้อ 10 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542)
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับ WT. รายการ ความรับผิดของ ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ 3. ผู้จ่ายเงินได้ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ถูกต้องแล้ว และได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ มิได้นำส่ง หรือนำส่งไว้ แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ตามจำนวนที่มิได้นำส่ง พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามมาตรา 27* ไม่ต้องรับผิด กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 60 และมาตรา 69 ทวิ ข้อ 11 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542 * อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง
ความรับผิดเกี่ยวกับหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินได้ไม่ยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 17 หรือมิได้ปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งความของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 51 เว้นแต่จะแสดงได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท (มาตรา 35) ผู้ใด (1) โดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ (2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท (มาตรา 37)
การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 63 ภายใน 3 ปีนับแต่ วันสุดท้ายของปีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาตรา 27 ตรี ให้ขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่ วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ วันได้รับวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด
สิ่งจำเป็นในการศึกษาภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การไล่สายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประเภทเงินได้พึงประเมิน การยกเว้นภาษี โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แนวคิดในการแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาทางภาษีอากร (การวางแผนภาษีอากร)
การไล่สายเงินได้พึงประเมิน รายการ บทบัญญัติ ความหมาย และบ่อเกิดเงินได้ มาตรา 39 และ 41 รูปแบบของเงินได้พึงประเมิน มาตรา 39 แหล่งเงินได้พึงประเมินและหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ มาตรา 41 ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 การยกเว้นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 42 กฎกรทรวง ฉบับที่ 126 การหักค่าใช้จ่าย มาตรา 42 ทวิ 42 ตรี 43 44 45 46 48(4)(5) พรฎ. (ฉ.11) (ฉ.165) การคำนวณภาษีเงินได้ มาตรา 48(1)(2) การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาตรา 50 และ 3 เตรส
การไล่สายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รายการ บทบัญญัติ วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย มาตรา 50 และ 3 เตรส การออกหนังสือรับรองการหัก WT มาตรา 50 ทวิ ประกาศฯ (ฉบับที่ 62) อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจการหัก WT มาตรา 51 และบทบัญญัติในหมวด 2 การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - กรณีทั่วไป - การเบิกหักผลักส่งไว้ในฎีกาเบิกเงิน มาตรา 52 และมาตรา 59 มาตรา 53 ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ดู ป.90/2541 ประกอบ) มาตรา 54, 27 และบทกำหนดโทษ
การไล่สายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รายการ บทบัญญัติ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่เจ้าพนักงานจะเรียกเก็บตามวิธีอื่น มาตรา 55 การยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มาตรา 58 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักและนำส่งไว้แล้วให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษี มาตรา 60 (ดู ป.91/2542 ประกอบ) การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาตรา 63 มาตรา 54 ความรับผิดเกี่ยวกับ WT ร่วมรับผิดในจำนวนเงินภาษี มาตรา 54 เงินเพิ่ม มาตรา 27 (ความรับผิดของเฉพาะผู้จ่ายเงินได้) ความรับผิดทางอาญา มาตรา 35 – 37 ทวิ
เลือกเสีย PIT ตามมาตรา 48(3) ประเภทเงินได้พึงประเมิน Capital Gain ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม – มาตรา 40(4)(ก) ผู้ถือหุ้น มาตรา 40(4)(ข) – (ช) W.T. 15% กรรมการ มาตรา 40(2) – หน้าที่/ ตำแหน่งงานที่ทำ เลือกเสีย PIT ตามมาตรา 48(3) (Final Tax) บริษัท มาตรา 40(1) - จ้างแรงงาน มาตรา 40(2) - รับทำงานให้ พนักงาน Dr. - รายจ่าย Cr. - รายได้ มาตรา 40(2) – เงินได้จากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า มาตรา 40(3) – ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น มาตรา 40(4)(ก) – ดอกเบี้ย เงินได้ลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย มาตรา 40(5)(ก) – ค่าเช่าทรัพย์สิน มาตรา 40(6) – เงินได้จากวิชาชีพอิสระ มาตรา 40(7) – เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญฯ มาตรา 40(8) – เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาห- กรรม การขนส่ง หรือการอื่นใดนอกจากที่ระบุใน (1) - (7)
ประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ผู้มีเงินได้ (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่ตำแหน่งงานที่ทำ เงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ (3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ สิทธิอย่างอื่น (4) (ก) – (ช) = ผลได้จากทุน “Capital Gain” (5) (ก) ค่าเช่าทรัพย์สิน (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (Professional Fee) (7) การรับเหมา (Construction with supplies) (8) เงินได้จากการธุรกิจ (Business) การพาณิชย์ (Trade) การเกษตรกรรม (Agriculture) การอุตสาหกรรม (Industrial) การขนส่ง (Transportation) การอื่นใด (Others) ลูกจ้าง กรรมการ ผู้รับจ้าง, พนักงานขาย เจ้าของ, ผู้มีสิทธิเก็บกิน ผู้รับผลประโยชน์ ผู้ให้เช่า ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ผู้รับเหมา ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ขายสินค้า เกษตรกร ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้รับจ้างขนส่ง ผู้มีเงินได้ …
ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน มาตรา 40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ มาตรา 40(3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น มาตรา 40(4) เงินได้ที่เป็น (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ผลต่างระหว่างราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกต่ำกว่าราคาไถ่ถอน เงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมเงิน หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(4) เงินได้ที่เป็น (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฯ (ค) โบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน (ง) ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการลดทุน (จ) ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการเพิ่มทุน (ฉ) ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการควบ โอน หรือเลิกกิจการ (ช) ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการโอนหลักทรัพย์ หรือตราสารฯ หุ้น หุ้นส่วน หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงิน ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ เฉพาะส่วนที่ราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน มาตรา 40(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ มาตรา 40(8) เงินได้จาก การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7) แล้ว
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย คำนวณหัก WT. เมื่อมีการจ่ายเงินได้ โดยถือตามเกณฑ์เงินสด (Cash Basis) การจ่ายเงินได้เป็นเงินสด ธนาณัติ ดราฟต์ -เมื่อจ่ายเงินได้ การชำระด้วยบัตรเครดิต – เมื่อออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต การโอนเงินผ่านธนาคาร - เมื่อโอนเงินผ่านธนาคาร การจ่ายเงินได้เป็นทรัพย์สินหรือสิ่งของ (Things) - เมื่อส่งมอบสิ่งของ การแลกเปลี่ยน (Barter) - ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง การจ่ายเงินได้เป็นประโยชน์เพิ่ม (Fringe Benefit) - เมื่อจ่าย การหักกลบลบหนี้ - ให้ถือว่าต่างฝ่ายต่างจ่ายเงินได้ การจ่ายเงินได้ด้วยเช็ค ตั๋วเงิน C/N - ตามวันที่ลงในเช็ค ตั๋วเงิน C/N ข้อยกเว้น: เฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหัก WT. และเสีย SBT ในขณะจดทะเบียนฯ
WT. และ VAT สำหรับการแลกเปลี่ยน รายการ แลกเปลี่ยน ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ WT. VAT สินค้า VATแลกกับสินค้า VAT ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับมอบสินค้า สินค้า VAT กับบริการที่ต้องเสีย VAT ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สินค้า VATกับบริการที่ไม่ต้องเสีย VAT ไม่ต้องเสีย VAT
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แม้มิได้หักก็ต้องนำส่ง” เมื่อได้นำส่ง WT. ที่ผู้จ่ายเงินได้มิได้หักไว้อาจเลือกปฏิบัติ ได้ดังนี้ ตั้งผู้มีเงินได้เป็นลูกหนี้ไว้ แล้วออกใบแจ้งหนี้ พร้อมทั้งหนังสือรับรองการหัก WT. ให้แก่ผู้มีเงินได้ ออก WT. ให้แก่ผู้มีเงินได้ โดยออกให้จำกัดจำนวน หรือออกให้ตลอดไป (ออกให้ทุกทอด) กรณีออก WT. ให้ทุกทอด และอัตรา WT. คงที่ ให้ คำนวณโดย WT.ที่ออกให้ = เงินได้ที่จ่าย x อัตรา WT. (100 – อัตรา WT.)
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่าภาษีอากรไม่ว่าประเภทใดๆ ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ไม่ว่า จะออกกี่ทอด ให้ถือเป็นเงินได้ทุกทอด และให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภท และปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่ออกภาษีแทนให้นั้น การให้เป็นสินค้าหรือสิ่งของ หากผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้จ่ายเงินได้มิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้นำค่าภาษีมูลค่าเพิ่มมาถือรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณหัก WT. ด้วย เงินได้เกิดขึ้นในปี 25x1 แม้จะออกภาษีให้ในปีอื่น ก็ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของปี 25x1 จึงต้องหัก WT. นำส่งไม่เกิน 7 ม.ค. 25x2
ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ นาย ก.มีเงินได้ จากการให้เช่าทรัพย์สิน ผู้จ่ายเงินได้ออกภาษีโรงเรือนฯ แทนนาย ก. 25x0 25x1 Exp. ออกภาษีเงินได้ แทนผู้มีเงินได้ เป็นเงินได้ในปี 25x0 ป.7/2529 ต้องหัก WT. และนำส่ง ไม่เกินวันที่ 7 ม.ค. 25x1
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ่ายเงินได้โดยตั้งตัวแทนจ่าย เช่น Shipping, Freight Forwarder หากการจ่ายเงินได้นั้น ตัวการมีหน้าที่ต้องหัก WT. ให้ตัวแทนหัก WT. แทนตัวการ การออกหนังสือรับรองการหัก WT. ให้ใช้แบบหนังสือรับรองของตัวแทน โดยให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำ ตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวการด้วย การนำส่ง WT. แทนตัวการ ให้ตัวแทนกรอกแบบนำส่งภาษีเป็นรายตัวการ แต่ในช่องผู้จ่ายเงินให้ใส่ชื่อตัวแทน ตัวการมีหน้าที่เกี่ยวกับ WT. โดยประการใด ตัวแทนย่อมมีหน้าที่เกี่ยวกับ WT. โดยประการนั้น
ส่วนราชการ บริษัท A. จำกัด บริษัท X. จำกัด บริษัท B. จำกัด ตัวการมีหน้าที่เกี่ยวกับ WT. โดยประการใด ตัวแทนย่อมมีหน้าที่เกี่ยวกับ WT. โดยประการนั้น ส่วนราชการ 1 สัญญาว่าจ้าง WT1%, VAT บริษัท A. จำกัด บริษัท X. จำกัด 2 Subcontract WT 3%, VAT 3 จ่ายเงินได้โดยตรง บริษัท B. จำกัด เมื่อส่วนราชการหรือบริษัท X. จำกัด จ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ บริษัท B. จำกัด ตามหนังสือโอนสิทธิการรับเงินที่บริษัท A. จำกัด ออกให้ บริษัท B. ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัท A. และบริษัท A. ต้องออก ใบกำกับภาษีให้แก่ส่วนราชการหรือบริษัท X. ส่วนราชการหรือบริษัท X. ต้องหัก WT. จากบริษัท A และบริษัท A. ต้อง หัก WT. จากบริษัท B.
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ่ายค่าบริการให้กับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ โดยจ่ายผ่านระบบการหักเงินจากบัญชีธนาคารของผู้จ่ายเงิน ผู้จ่ายเงินอาจแต่งตั้งให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นตัวแทนในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายและยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของผู้จ่ายเงิน ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอาจเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการได้
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน แต่ต้องจัดทำรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย เมื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบกำกับภาษีของค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการว่า “ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เป็นจำนวนเงิน … บาท แทนผู้จ่ายเงินแล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษีดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป” ธนาคารหรือบริษัทจะต้องจัดให้มีการ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำว่า “รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำเดือน…พ.ศ. ….” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของธนาคารหรือบริษัทผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยมีข้อความว่า “ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินได้ตามรายชื่อที่ระบุไว้ในเอกสารนี้” ประเภทเงินได้ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต หรือค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทางโทรเลข ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นตัวการหลายตัวการ จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หักไว้ ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส โดยทั่วไปต้องมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินได้จึงจะมีหน้าที่ต้องหัก WT. การจ่ายเงินได้ตามสัญญาระยะยาว ให้คำนวณหัก WT. เมื่อจำนวนเงินได้ที่จ่ายสะสมรวมกันถึง 1,000 บาท การจ่ายเงินได้ที่มิใช่กรณีตามสัญญาระยะยาว หากเงินได้ที่จ่ายมีจำนวนรวมกันหลายรายการถึง 1,000 บาท ให้คำนวณหัก WT. เมื่อทั้งจำนวน
บทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทุกบทบัญญัติเป็นกรณีที่กฎหมายวางข้อกำหนดเกี่ยวกับประเด็นการหัก WT. กรณีดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายเงินได้ ประเภทเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้มีเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย สรุปความได้เป็นว่า ใคร จ่ายเงินได้ประเภทใด ให้แก่ใคร ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย WT. ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร (1) WT. สำหรับเงินได้ตาม ม. 40(1)(2) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) ทั่วไป สำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(2) ที่ผู้รับมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (2) WT. สำหรับเงินได้ตาม ม.40(3)(4) ทั้งกรณีผู้รับเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยไทยและมิได้อยู่ในประเทศไทย (3) WT. สำหรับเงินได้ตาม ม.40(5)(6) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (4) WT. สำหรับเงินได้ตาม ม. 40(5)(6)(7)(8) เฉพาะกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (5)(6) WT. สำหรับค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 มาตรา 50 สำหรับเงินได้ พึงประเมิน ผู้จ่ายเงินได้ (1) มาตรา 40(1)(2) บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล (2) มาตรา 40(3)(4) เช่นเดียวกับมาตรา 50(1) (3) มาตรา 40(5)(6) (4) มาตรา 40(5)(6)(7) (8) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (5) มาตรา 40(8) เฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (6) เช่นเดียวกับ (5) ผู้จำหน่าย จ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (ข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150))
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย รายการ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้มีเงินได้ ประกอบกิจการ ในประเทศไทย มิได้ประกอบกิจการ กฎหมายพิเศษ มาตรา 69 ทวิ กรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 1% มาตรา 69 ตรี จ่ายเงินได้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 1% มาตรา 70 กฎหมายทั่วไป มาตรา 3 เตรส มาตรา 3 เตรส เฉพาะกรณีเงินได้ตามมาตรา 40(8) บางกรณี เช่น รางวัลจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค ฯลฯ
รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล กทม. เมืองพัทยา อบต. อบจ. จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) - (4) ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสีย PIT ใช่ หัก WT ตามมาตรา 50 (1) และ (2) ไม่ใช่ จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (6) ให้แก่ผู้มีหน้าที่ เสีย PIT ที่มิได้อยู่ในไทย ใช่ หัก WT ตามมาตรา 50(3) ไม่ใช่ จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (8) ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสีย PIT ใช่ หัก WT ตามมาตรา 50(4) ไม่ใช่ จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(2) - (8) ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสีย CIT ใช่ หัก WT ตามมาตรา 69 ทวิ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตาม ม. 70 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้ ไม่ว่า จะเป็นบุคคลใดๆ ทั้งในภาคร้ฐ และ ภาคเอกชน จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2)-(6) จากหรือในประเทศไทย บริษัทหรือห้างฯ นิติ บุคคลต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% สำหรับเงินได้ทุกประเภทเว้น แต่เงินปันผล 10% สำหรับเงินได้ที่เป็นเงินปันผล
WT. ตาม ม. 3 เตรส เป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในอันที่จะกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่ไม่มีหน้าที่ต้องหัก WT ตามมาตรา 50, มาตรา 69 ทวิ, และมาตรา 69 ตรี ให้เป็นผู้มีหน้าที่หัก WT ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
WT. ตาม ม. 3 เตรส มาตรา 3 เตรส คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 (แก้ไขโดย ท.ป. 101/2544,104/2544 และ 111/2545) กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) แก้ไขโดย ฉบับที่ 229, 234 และ 238)
ประเภทเงินได้พึงประเมิน เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) จ่ายเป็นประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ เป็นต้น จ่ายเป็นกรณีพิเศษ เช่น โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ บำเหน็จ เบี้ยหวัด ค่าล่วงเวลา ค่าภาษีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินได้ออกแทนให้ เป็นต้น ประโยชน์เพิ่มอย่างอื่น เช่น ค่าเช่าบ้าน เครื่องแบบ ค่ารักษาพยาบาล การได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า (ดู ป.23/2533) เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้แทนลูกจ้าง เป็นต้น เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ (ดู ป.7/2528)
รายการยกเว้นสำหรับเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท
Stock Option ต้องเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินจากเนื่องการจ้างแรงงาน หรือเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเสียภาษีในกรณีได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ
ได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคา ที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ (Stock Option) เป็นพนักงานหรือ กรรมการ ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทำตาม มาตรา 40(1)หรือ(2) ใช่ ไม่ใช่ ได้รับจากการเล่นเกมส์หรือ จากการให้โดยเสน่หา ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก กิจการที่ทำตาม มาตรา 40(8) ใช่ ไม่ใช่ เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ใช่ ไม่ถือเป็นเงินได้ ไม่ใช่ เนื่องจากการซื้อขายกัน โดยสุจริตเปิดเผย ใช่ ไม่ถือเป็นเงินได้เพราะ เป็นเพียงการลงทุน
ป.56/2538 Member Fee, Fees Golf Club, Sport Club Entertainment Club ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาดของกรรมการ, ที่ปรึกษาหรือพนักงาน Y N 1. ถือเป็นเงินได้ของผู้รับ 2. Input Tax ต้องห้าม 1. ไม่ถือเป็นเงินได้ของผู้รับ 2. Input Tax ต้องห้าม Y นำไปใช้เพื่อการรับรอง N Y นำไปใช้เพื่อการรับรอง N ค่ารับรองโดย เฉลี่ยเป็นรายปีตามอายุสมาชิก ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม (Non Deductible) ตาม ม.65ตรี (3) ค่ารับรองโดย เฉลี่ยเป็นรายปีตามอายุสมาชิก กรณีนำไปใช้ในกิจการไม่ต้องห้ามม.65ตรี พิจารณาเป็นรายกรณี
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะซึ่งลูกจ้าง หรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ตามมาตรา 42(1) (ดู ป.59/2538) ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 ตามมาตรา 42(2)
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะเดินทาง (ต่อ) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมด โดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานในครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิมและในการเข้ารับงานของ นายจ้างเดิมภายใน 365 วันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง ตามมาตรา 42(3)
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(2) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538 เป็นการเหมาตาม อัตราที่รัฐบาลกำหนด ใช่ ไม่ใช่ ตามที่จ่ายจริงในการปฏิบัติงาน และได้จ่ายทั้งหมดในการนั้น ใช่ ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(1) ไม่ใช่ จ่ายทั้งหมด โดยจำเป็นในการ เข้ารับงานครั้งแรกและกลับถิ่น เมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลง ใช่ ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(3) ไม่ใช่ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางเป็นการเหมาที่ลูกจ้างหรือผู้มีหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้า... เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์ ส่วนที่เกินกว่าอัตราที่รัฐบาลกำหนดให้ถือเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 มาตรา 42(5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ มาตรา 42(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ ค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ มาตรา 42(12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(64) บำเหน็จดำรงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกบข. กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(73) เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสินได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 2547 เป็นต้นไป
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้านหรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วย เหลือบุตรเงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(8) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(9) เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพ ที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(51) ค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณ อายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสนบาท
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) มาตรา 42(25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ได้รับจากกองทุนประกัน สังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(35) เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(36) และประกาศอธิบดีกรม สรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ โดยเป็นสมาชิกกองทุนฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือเหตุทุพพลภาพ หรือตาย
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(43) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุน กบข.ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(44) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเนื่องจากออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทนหรือตาย กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(54) เงินได้เท่าที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(57) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
รายการเงินได้ส่วนที่เป็นสวัสดิการ ซึ่งได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) ค่ารักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา พยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
รายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 - 8 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุน RMF ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2(55)(56)(65) ใช้บังคับ 31 ส.ค.2547 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุน LTF ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2(66)(67) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(72) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150)
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (55) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกินสามแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายฯ หรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสามให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนดังกล่าวด้วย ค่าซื้อหน่วยลงทุนที่จะได้รับยกเว้น เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่เคยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไว้แล้วด้วย
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (66) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน วรรคสอง ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งด้วย
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Mutual Fund: LTF) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) ที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น เฉพาะผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีเท่านั้น ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่เคยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไว้แล้วด้วย
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Mutual Fund) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท มีสิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเกินกว่าหนึ่งกองทุน ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Mutual Fund: LTF) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) (ต่อ) กรณีโอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF ทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังอีกกองทุนหนึ่ง ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมนั้นภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน กรณีไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตาม ม.27
การยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผู้สูงอายุ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(72) ให้ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จาก เงินได้ที่ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และ แต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
การยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผู้สูงอายุ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(72) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ตนได้รับ ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ รับทำงานให้ เบี้ยประชุม (กรรมการ) ค่านายหน้า ค่าส่วนลด ค่าธรรมเนียม เงินอุดหนุนในงานที่ทำ โบนัส บำเหน็จ เบี้ยหวัด เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ เงินค่าเช่าบ้านที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้...ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่ทำนั้นจะเป็นประจำหรือชั่วคราว
เงินได้จากการจ้างแรงงานกับ เงินได้จากการรับทำงานให้ รายการ จ้างแรงงาน รับทำงานให้ ประเภทเงินได้ ม. 40(1) ม. 40(2) ผู้มีเงินได้ ลูกจ้าง ผู้รับจ้าง ผู้จ่ายเงินได้ นายจ้าง ผู้ว่าจ้าง สัญญาที่ก่อให้เกิดเงินได้ สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ ความเป็นอิสระในการทำงาน ลูกจ้างไม่มีอิสระในการทำงาน ขึ้นอยู่กับกฎและ ระเบียบของนายจ้าง ผู้รับจ้างมีอิสระในการทำงาน การจ่ายผลตอบแทน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดอายุสัญญาที่จ้าง โดยไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน ผู้ว่าจ้างกำหนดจ่ายสินจ้างตามผลสำเร็จของงานที่ทำ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้รับยกเว้น เป็นบริการที่อยู่ในข่ายต้องเสีย VAT อากรแสตมป์ ไม่ต้องปิด 1,000 ละ 1 บาท
ได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคา ที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ (Stock Option) เป็นพนักงานหรือ กรรมการ ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทำตาม มาตรา 40(1)หรือ(2) ใช่ ไม่ใช่ ได้รับจากการเล่นเกมส์หรือ จากการให้โดยเสน่หา ถือเป็นเงินได้เนื่องจาก กิจการที่ทำตาม มาตรา 40(8) ใช่ ไม่ใช่ เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ใช่ ไม่ถือเป็นเงินได้ ไม่ใช่ เนื่องจากการซื้อขายกัน โดยสุจริตเปิดเผย ใช่ ไม่ถือเป็นเงินได้เพราะ เป็นเพียงการลงทุน
เงินได้จากการรับทำงานให้ ใช้แรงงานเป็นสำคัญ มีใช้จ่ายน้อย: 40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท Y มาตรา 40(2) WT. มาตรา 50(1) N ใช้วิชาชีพอิสระ Y มาตรา 40(6) WT. มาตรา 3 เตรส N จัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ Y มาตรา 40(7) WT. มาตรา 3 เตรส N ทำในรูปของธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้ในการดำเนินงานสูง Y มาตรา 40(8)* WT. มาตรา 3 เตรส *ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ประกอบ
ป.115/2545 ข้อ 2 (2) เงื่อนไขที่อนุโลมให้ถือว่าค่านายหน้า ซึ่งตามปกติถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT มีการจัดตั้งสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นหลักแหล่ง เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง มีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร อาทิ เครื่องใช้สำนักงาน และมีค่าใช้จ่ายสำนักงาน มีลูกจ้างพนักงาน โดยมีสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม และหลักฐานการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1 ก มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการสูง (เมื่อเทียบกับเงินได้ตามมาตรา 40(2)) เช่น ค่ารับรอง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เงินได้จากการรับทำงานให้ คำนวณเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) เงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือ (2) กรณีทั่วไป มาตรา 50(1) ว.1,2 เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มาตรา 50(1) ว.3 เงินได้ตามมาตรา 40(2) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่มิได้อยู่ในไทย มาตรา 50(1) ว.ท้าย
WT. ตามมาตรา 50(1) มาตรา 50 ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
WT. ตามมาตรา 50(1) ผู้มีหน้าที่หัก WT. ได้แก่ วิธีการคำนวณ WT. ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล วิธีการคำนวณ WT. คำนวณ PIT ตามมาตรา 48(1) จากเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายเต็มทั้งปีภาษี โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่จ่าย มาคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ ได้เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายดังกล่าวไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
การคำนวณจำนวนเงินได้ เสมือนหนึ่งว่าจ่ายเต็มทั้งปี โบนัส, ค่านายหน้า, เงินพิเศษ, รางวัล, เบี้ยเลี้ยง, ประโยชน์เพิ่ม เงินได้ที่จ่ายและจำนวนคราวที่จ่าย มีจำนวนที่แน่นอน N นำจำนวนเงินได้ที่จ่ายสะสม ตลอดทั้งปีคูณด้วย 1 Y ผู้มีเงินได้เริ่มทำงานตั้งแต่ ต้นปีภาษีที่จ่ายเงินได้ นำจำนวนเงินได้ที่จ่ายแต่ละ คราวคูณด้วยระยะเวลา ทำงานที่เหลือ N ดู ป.16/2530 ประกอบ Y เพิ่มเงินได้ ระหว่างปีภาษี N นำจำนวนเงินได้ที่จ่ายแต่ละ คราวคูณด้วยระยะเวลา ทำงานตลอดทั้งปี เงินเดือน x 12 คราว รายปักษ์ x 24 คราว รายสัปดาห์ x 54 คราว รายวัน x 365 คราว Y นำจำนวนเงินได้ที่จ่ายแต่ละคราว ในแต่ละช่วงคูณด้วยระยะเวลาทำงาน แต่ละช่วงเวลา แล้วนำมารวมกัน ดู ป.96/2543 ประกอบ
WT. ตามมาตรา 50(1) วิธีการคำนวณ WT. กรณีเพิ่มหรือลดเงินได้ระหว่างปี คำนวณ PIT ตามมาตรา 48(1) จากเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายเต็มทั้งปีภาษี โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่จ่ายแต่ละคราวในแต่ละช่วงคูณด้วยระยะเวลาทำงานแต่ละช่วงเวลา แล้วนำมารวมกัน ได้เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักด้วยจำนวน WT. ที่ได้หักไว้แล้ว คงเหลือเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ที่เหลือในปีภาษีได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายดังกล่าวไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
WT. ตามมาตรา 50(1) วิธีการคำนวณ WT. กรณีเปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อนระหว่างปี คำนวณ PIT ตามมาตรา 48(1) จากเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายเต็มทั้งปีภาษี ทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อน ได้เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักด้วยจำนวน WT. ที่ได้หักไว้แล้วสำหรับช่วงเวลาก่อนเปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อน คงเหลือเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ที่เหลือในปีภาษีได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายดังกล่าวไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี การคำนวณ WT กรณีเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายระหว่างปีให้ดำเนิน การเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อนระหว่างปีดังกล่าว
WT. ตามมาตรา 50(1) วิธีการคำนวณ WT. กรณีจ่ายเงินได้ที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวที่แน่นอน และที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวไม่แน่นอน คำนวณ PIT ตามมาตรา 48(1) จากเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายเต็มทั้งปีภาษี สำหรับเงินได้ที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวทีแน่นอน (1) คำนวณ PIT ตามมาตรา 48(1) จากเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายเต็มทั้งปีภาษี สำหรับเงินได้ที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวทีแน่นอน และที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวไม่แน่นอน (2) นำจำนวน PIT ตาม (2) หักด้วย PIT ตาม (1) คงเหลือเท่าใดเป็นจำนวนภาษีสำหรับเงินได้ที่มีจำนวนเงินและจำนวนคราวที่ไม่แน่นอนจ่าย ที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายเพื่อการคำนวณ PIT เงินได้พึงประเมินประเภทที่คำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อย่างเดียว มาตรา 40(1) (2) มาตรา 40(3) เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ มาตรา 40(5)(ข)(ค) เงินได้พึงประเมินประเภทที่คำนวณหักค่าใช้จ่ายไม่ได้ มาตรา 40(3) ที่มิใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ และ (4) เงินได้พึงประเมินประเภทที่เลือกคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือค่าใช้จ่ายจริงก็ได้ มาตรา 40(5)(ก) (6) (7) และ (8) – 43 รายการ เงินได้พึงประเมินประเภทที่คำนวณหักค่าใช้จ่ายจริงได้อย่างเดียว มาตรา 40(8)
การหักค่าใช้จ่ายเพื่อการคำนวณ PIT ประเภทเงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ค่าใช้จ่ายจริง มาตรา 40(1) และ (2) มาตรา 40(3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ มาตรา 40(5)(ข) และ (ค) มาตรา 40(8) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ มาโดยทางมรดก/โดยเสน่หา - มาตรา 40(3) อื่นๆ มาตรา 40(4)(ก) - (ช) มาตรา 40(5)(ก) มาตรา 40(6) มาตรา 40(7) มาตรา 40(8) 43 รายการ และเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น มาตรา 40(8) กรณีอื่นๆ
การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือค่าใช้จ่ายจริง ได้แก่ เงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก) (6) (7) และ (8) – จำนวน 43 รายการ และเงินได้ตามมาตรา 40(8) ที่กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายจริงได้อย่างเดียว ผู้มีเงินได้ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามจำนวนที่ได้เลือกหักไว้นั้น ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ในการหักค่าใช้จ่ายเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม (มาตรา 5 ถึงมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502)
การเลือกหักค่าใช้จ่าย ควรเลือกค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือค่าใช้จ่ายจริงตามจำนวนที่มากว่าเสมอ ในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีภาษี (ภ.ง.ด.90) สำหรับรายการเงินได้พึงประเมินต่างประเภทกัน บางรายการจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา และบางรายการจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ในกรณีที่บางรายการเลือกหักค่าใช้ตามความจำเป็นและสมควร ปรากฏว่าผู้มีเงินได้มีผลขาดทุนสุทธิ ไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิไปหักกลบลบกันกับเงินส่วนที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ในการคำนวณภาษีเงินได้กลางปีภาษี (ภ.ง.ด.94) ผู้มีเงินได้จะเลือกค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ใดก็ได้ไม่เป็นการผูกพันผู้มีเงินได้สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีภาษี (ภ.ง.ด.90) ว่าจะต้องเลือกหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์เดิม สำหรับ เงินได้พึงประเมินรายการนั้น ๆ
การเลือกหักค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้จากการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ของโจทก์ (นายบุญชู ชัยอารีย์กิจ) โจทก์อ้างว่ามีรายจ่ายที่จำเป็นและสมควรที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ขอหักตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามประมวลรัษฎากร พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 7 ...บัญญัติว่า เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 และมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่มเติมหรือลดอัตราดังกล่าวได้ ดังนั้นแม้จะมีระเบียบปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ภายในให้ลดอัตราเหมาลงเสียร้อยละ 10 ของอัตราเหมาที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่มีผลใช้บังคับได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 ไม่ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 ของรายรับ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2531)
การคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน กรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า การให้เช่าบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ใช่ หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 30% ของเงินได้ ไม่ใช่ ใช่ การให้เช่าที่ดินที่ใช้ในการ เกษตรกรรม หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 20% ของเงินได้ ไม่ใช่ ใช่ การให้เช่าที่ดินที่มิได้ใช้ ในการเกษตรกรรม หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ ไม่ใช่ ใช่ หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 30% ของเงินได้ การให้เช่ายานพาหนะ ไม่ใช่ ใช่ การให้เช่าทรัพย์สินอื่น หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 10% ของเงินได้
การคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ สำหรับเงินได้จากการ ประกอบโรคศิลปะ ใช่ หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 60% ของเงินได้ ไม่ใช่ สำหรับเงินได้จากการ ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นๆ ใช่ หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 30% ของเงินได้ - กฎหมาย - วิศวกรรม - สถาปัตยกรรม - การบัญชี - ประณีตศิลปกรรม - มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (ค่าใช้จ่ายจริง)
การคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ไม่ใช่ ใช่ เลือกหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมา หักค่าใช้จ่ายตามความ จำเป็นและสมควร หักค่าใช้จ่ายในอัตรา 70% ของเงินได้
ประเภทค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล (มาตรา 47(1)(2)(3)(4)(5) และ(6)) 1.1 กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา 1.2 กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 1.3 กรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 1.4 กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 2. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต (มาตรา 47(1)(ง)) 3. ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (มาตรา 47(1)(จ)) 4. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรา 47(1)(ซ)) 5. ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ((มาตรา 47(1)(ฌ)) 6. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค (มาตรา 47(7) พรฎ.(ฉ 458,420, 428) และฉบับอื่นๆ)
ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ (มาตรา 47(1)(ก)(2)(3)(4)) 2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ (มาตรา 47(1)(ข)(2)) 3. ค่าลดหย่อนบุตร (มาตรา 47(1)(ค)(ฉ)(3) 3.1 บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บุตรบุญธรรมให้หักลดหย่อนในฐานะที่เป็นบุตรบุญธรรม แต่ เพียงฐานะเดียว 3.2 บุตรชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ 4. ค่าลดหย่อนอุปการะบิดามารดา – บุพการี (มาตรา 47(1)(ญ)) 4.1 บิดามารดาของผู้มีเงินได้ 4.2 บิดามารดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้
ค่าลดหย่อนส่วนบุคคลตามมาตรา 47(3) เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ส่วนตัวผู้มีเงินได้ 30,000 บาท คู่สมรสของผู้มีเงินได้ - เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย - มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย - บุตรของผู้มีเงินได้ - เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและศึกษา - เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยแต่ไม่ได้ ศึกษา @ 17,000 บาท @ 15,000 บาท @17,000 บาท @15,000 บาท อุปการะบุพการีของผู้มีเงินได้ @ 30,000 บาท ผู้มีเงินได้ ค่าลดหย่อน
1 2 3 ชายจะหักลดหย่อนบุตรได้ก็ต่อเมื่อ 1. จดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือ ไม่ได้สมรสกัน ชายจะหักลดหย่อนบุตรได้ก็ต่อเมื่อ 1. จดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือ 2. จดทะเบียนรับรองบุตร 1 บุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิง 2 หญิงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรของ ตนเสมอ 3 กรณีชายและหญิงสมรสกัน ต่อมาได้มีการหย่า ปัญหาค่าลดหย่อนบุตร - ปีที่หย่า: ให้หักลดหย่อนบุตรได้ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง - ปีถัดจากปีที่หย่า: ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ค่าลดหย่อนบุพการี สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อนบุพการี สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา มาตรา 47 (7)(ญ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาทโดยบุคคลดังกล่าวต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2547 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2548 เป็นต้นไป” พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ 13 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
หลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนบุพการี ตามประกาศอธิบดีกรมสรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) (1) ให้หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบิดามารดาที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป (2) ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู (3) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าวนั้นในแต่ละปีภาษี
ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 1. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ - ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท - สำหรับเบี้ยประกันชีวิตในส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกไม่เกิน 40,000 บาท เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 2. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ - ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท เท่านั้น ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี เงื่อนไข 1. กรมธรรม์ประกันประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี 2. บริษัทผู้รับประกันต้องประกอบกิจการในประเทศไทย ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีจะหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต และส่วนที่ได้รับยกเว้นสูงสุดได้เป็นจำนวน 45,000 บาท
หลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนบุพการี ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู กรณีผู้มีเงินได้หลายคนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนในแต่ละปีภาษี
หลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนบุพการี ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ กรณีสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทย
หลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนบุพการี ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่แล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้ ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของผู้มีเงินได้ Provident Fund เงินสะสมของผู้มีเงินได้ อย่างน้อย 3% ของเงินได้ เงินสมทบของนายจ้าง ของผู้มีเงินได้ นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกไม่เกิน 290,000 บาท นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ตาม มาตรา 42 ทวิ ต้องสมทบอย่างน้อยเท่ากับเงินสะสมของลูกจ้างแต่เป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 15% ของ เงินได้ของลูกจ้าง มีผลต่อจำนวนเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มาตรา 65 ตรี (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 183 หมายเหตุ เงินสะสมกองทุน กบข. ให้นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300,000 บาท
ค่าลดหย่อนเงินบริจาคมาตรา 47(7) ต้องบริจาคเป็นเงิน ต้องบริจาคให้แก่องค์การดังต่อไปนี้ สถานพยาบาลหรือสถานศึกษาของทางราชการ สถานพยาบาลหรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล สภากาชาดไทย วัดวาอาราม มูลนิธิหรือสมาคมหรือกองทุนที่รัฐมนตรีคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล โรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องมีหลักฐานการบริจาคพร้อมที่จะพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน ให้หักลดหย่อนในส่วนของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ
ใช้บังคับ 25 ส.ค. 2547 เป็นต้นไป ค่าบริจาคการกุศล เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา เงินบริจาค นำไปยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เป็นจำนวนสองเท่าของเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษาแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น พรฎ. (ฉบับที่ 420) นำไปหักลดหย่อนตามมาตรา 47(7) ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้ จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น รวมทั้งเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ใช้บังคับ 25 ส.ค. 2547 เป็นต้นไป ภ.ง.ด.91 ดูข้อ ก รายการที่ 8 ภ.ง.ด.90 ดูข้อ 10 ของรายการ 4 ภ.ง.ด.91 ดูข้อ ก รายการที่ 10 ภ.ง.ด.90 ดูข้อ 10 ของรายการ 6
รายจ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 420) ให้ยกเว้น PIT สำหรับเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1) – (6) แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 3) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลว. 25 ม.ค.2548 ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาดังกล่าว ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาให้ความเห็นชอบ และเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ (1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่ สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา (2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทาง วิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่ สถานศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
การยกเว้นที่มีผลเสมือนเป็นค่าลดหย่อน เงินบริจาคที่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ เงินบริจาคเพื่อการกีฬา ให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (ข้อ 2(68) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126) ใช้บังคับ 1 ม.ค.2548 เป็นต้นไป เงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี 2548 เป็นต้นไป (ข้อ 2(70) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126)
การยกเว้นที่มีผลเสมือนเป็นค่าลดหย่อน เงินบริจาคที่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ (ต่อ) เงินบริจาคเพื่อสมทบกองทุนโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงพระชนมายุ 72 พรรษา (พรฎ. (ฉ.417) พ.ศ.2546) ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2547 เป็นต้นไป เงินบริจาคให้กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2550 (พรฎ.(ฉ.423) พ.ศ.2547) เงินบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป (พรฎ. (ฉ.423) พ.ศ.2547)
การยกเว้นที่มีผลเสมือนเป็นค่าลดหย่อน เงินบริจาคที่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ (ต่อ) เงินบริจาคให้แก่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม หรือกองทุนคุ้มครองเด็ก ตามกฎหมายว่าด้วยการดังกล่าว หรือกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. วันที่ 16 ก.พ. 2542 (พรฎ. (ฉ.428) พ.ศ.2548 ใช้บังคับ 25 ม.ค.2548 เป็นต้นไป)
เฉพาะที่ผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อน รายการ ภาษีเงินได้ ครึ่งปี ประจำปี 1. ส่วนตัวผู้มีเงินได้ – บุคคลธรรมดา 15,000 30,000 คู่สมรส บุตรที่มิได้ศึกษา/ ศึกษาในต่างประเทศ บุตรที่ศึกษาในประเทศไทย @ 7,500 @ 8,500 @ 15,000 @ 17,000 ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา @ 15,000 @ 30,000 ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เฉพาะที่ผู้อยู่ในประเทศไทย @ 15,000 แต่ไม่เกิน 30,000 @ 30,000 แต่ไม่เกิน 60,000
การหักลดหย่อน รายการ ภาษีเงินได้ ครึ่งปี ประจำปี 2. เบี้ยประกันชีวิต เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน - สำหรับผู้มีเงินได้ 45,000 50,000 - สำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ ไม่ได้เพราะความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี 10,000 3. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่มี - สำหรับคู่สมรส เกณฑ์เดียวกับผู้มีเงินได้ (ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่จำนวนไม่เกิน 290,000 บาท ให้นำไปหักออกจากเงินได้ก่อนคำนวณหักค่าใช้จ่ายตาม ม. 42 ทวิ)
เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน การหักลดหย่อน รายการค่าลดหย่อน ภาษีเงินได้ ครึ่งปี ประจำปี 4. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน - กรณีผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว, หรือมีคู่สมรส แต่คู่สมรสไม่มีเงินได้ 45,000 50,000 - กรณีผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียวและมีคู่สมรส และคู่สมรสมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แยกคำนวณภาษีต่างหาก ถือเสมือนกู้ร่วมกัน @ 2,500 กับอีก กึ่งหนึ่งของส่วนที่เกิน10,000 อีกไม่เกิน 40,000 @ 5,000 กับอีก กึ่งหนึ่งของส่วนที่เกิน 10,000 อีกไม่เกิน 40,000 - กรณีผู้มีเงินได้ร่วมกันกู้ยืม @ 2,500 กับอีกส่วนที่เกิน10,000 อีกไม่เกิน 40,000 หารจำนวนผู้กู้ @ 5,000 กับอีกส่วนที่เกิน10,000 อีกไม่เกิน 40,000 หารจำนวนผู้กู้
การหักลดหย่อน รายการ ภาษีเงินได้ ครึ่งปี ประจำปี 5. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม - สำหรับผู้มีเงินได้ ไม่มี เท่าที่จ่ายจริง - สำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ 6. เงินบริจาค - เพื่อสนับสนุนการศึกษา สองเท่าของค่าบริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอย่างอื่น - เงินบริจาคทั่วไป กึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10%ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้ จ่าย และค่าลด หย่อนอย่างอื่น รวม ทั้งค่าสนับสนุนการ ศึกษา เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้ จ่าย และค่าลดหย่อนอย่างอื่น รวมทั้งค่าสนับสนุนการศึกษา
บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ช่วงเงินได้ จำนวนเงินได้ แต่ละช่วง อัตราภาษี จำนวนภาษี สะสม 1- 100,000 100,000 5% ยกเว้น * - 100,001- 500,000 400,000 10% 40,000 500,001- 1,000,000 500,000 20% 140,000 1,000,001- 4,000,000 3,000,000 30% 900,000 1,040,000 เกินกว่า 4,000,000 บาท .... 37% * 1. ยกเว้นเฉพาะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามม. 48(1) เท่านั้น 2. สำหรับปีภาษี 2542-2545 ยกเว้นเงินได้สุทธิจำนวน 50,000 บาท เป็นไป ตาม พรฎ. (ฉ.352) พ.ศ.2542 3. สำหรับปีภาษี 2546 ยกเว้นเงินได้สุทธิจำนวน 80,000 บาท เป็นไปตาม พรฎ. (ฉ. 412) พ.ศ.2545 4. สำหรับปีภาษี 2547 เป็นต้นไป เป็นไปตาม พรฎ. (ฉ. 430) พ.ศ.2548
การยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิตามมาตรา 48(1) ในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) เฉพาะกรณีเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) ที่มิใช่เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 48(5) กรณียื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ล่างหน้า ตามมาตรา 52 ทวิ หรือตามประกาศกระทรวงการคลัง (ภ.ง.ด.93) กรณียื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ตามมาตรา 56 (ภ.ง.ด.90, 91, 92) กรณียื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ตามมาตรา 56 ทวิ (ภ.ง.ด.94)
การคำนวณ PIT ตามอัตราก้าวหน้า ที่มิใช่เงินได้สุทธิตามมาตรา 48(1) เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 48(5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5) และ (6) ประกอบมาตรา 48(4) เงินได้ตามมาตรา 40(3) หรือ (4) ที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) ในอัตราก้าวหน้า เงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(4) สำหรับเงินได้ที่เป็นรางวัลจากการประกวดแข่งขันที่ผู้รับมีอาชีพในการประกวดแข่งขันที่ได้รับจากทางราชการ เงินได้ค่าแสดงของนักแสดงสาธารณะ ที่ไม่มีภูมิลำเนาในไทย ตามมาตรา 40(8) ที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ในอัตราก้าวหน้า
ลย.01 เพื่อการคำนวณ WT. ตามมาตรา 50(1) เป็นแนวทางปฏิบัติ (Ruling) ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 (ไม่ใช่กฎหมาย) เป็นแบบแจ้งการขอหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แจ้งต่อนายจ้าง เมื่อเริ่มต้นปีภาษี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการหักค่าลดหย่อน ประโยชน์ ลดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง พร้อมต่อการเรียกตรวจสอบของเจ้าพนักงานสรรพากร
WT. : มาตรา 40(2) ค่านายหน้า (Commission) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(1) 15% ภ.ง.ด.1 2. WT. มาตรา 50(1) ภ.ง.ด.1 อัตราก้าวหน้าของเงินได้สุทธิ นาย ก. 4. WT. มาตรา 3 เตรส 3% ภ.ง.ด.53 (ตั้งแต่ 16 ก.ค. 44) 3. WT. มาตรา 70 15% ภ.ง.ด.54 บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
เงินได้ที่ Shipping ต้องหัก WT.แทน Shipper ค่า Freight 1% Outbound บริษัทไทย DTA Non DTA Air Freight 1% Non WT.* 1% Sea Freight Non WT. 1% 1% Inbound (เฉพาะทางอากาศยาน โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกม.ไทย) ค่าขนส่งในประเทศ (เฉพาะเอกชน) 1% ค่าบริการท่าเรือ (เฉพาะเอกชน) 3% ค่า Warehouse (เฉพาะเอกชน) 3% ค่าเบี้ยประกัน 1%
เงินได้ที่ Shipping ต้องหัก WT.แทน Shipper ค่านายหน้า ตัวแทน (Commission, Broker Fee) ตัวแทนประกันภัย นายหน้าหาพื้นที่เช่า, หางาน, นำเรือเข้าท่า, ขายสินค้า, ขายหลักทรัพย์ ตัวแทนบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ ชิปปิ้ง (Shipping) Freight Forwarder ค่าธรรมเนียมจัดหาเงินกู้ (Management Fee) ค่าธรรมเนียมดูแลเงินกู้ (Agency Fee)
Advanced & Reimbursement 4 Commission WT. 3% VAT 1 เงินทดรองจ่าย (Advanced) Non WT Non VAT 2 Paid จ่ายเงินได้ WT VAT ตัวการ ตัวแทน 3 Reimbursement (Doc. Refund) Non WT Non VAT ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
Prepaid & Reimbursement 3 Commission WT. 3% VAT 1 Prepaid จ่ายเงินได้ WT VAT ตัวการ ตัวแทน Reimbursement (Cash Refund) Non WT Non VAT 2 ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
เงินได้ที่ Shipping ต้องหัก WT.แทน Shipper Reimbursement Non VAT & Non WT. National Outbound Thai DTA Non DTA Sea Freight Non WT 1% Air Freight Tax Inv. Receipt WT. Cert. * Transportation 1% Insurance 1% Port 3% Warehouse 3% Customs Duty - Officer No Doc. Others No Doc. A. Co. Shipper B. co. Shipping Advanced Non VAT Non WT. Commission Service (No Doc.) WT. 3% 1% VAT * ไม่รวม UK และ Poland
เงินได้ที่จ่ายให้แก่ Freight Forwarder Freight (VAT 0%, WT.?) ดู พรฎ. (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 Tax Inv. Receipt VAT 0% International Sea Freight Thai DTA Non DTA Outbound Non WT 1% Inbound Authorized Agent A. Co. Shipper B. Co. Freight Forwarder Advanced Non VAT Non WT. International Air Freight Thai DTA Non DTA Outbound 1% Non WT* Inbound Non WT Service Fee VAT 7% WT. 3% 1% * ไม่รวม UK และ Poland
เงินได้ตามม.40(2) PIT Yes เป็นผู้อยู่ใน WT. มาตรา 50(1) วรรคหนึ่ง, สอง ประเทศไทย Yes WT. มาตรา 50(1) วรรคหนึ่ง, สอง No เป็นผู้อยู่ใน ประเทศ DTA No WT. ม.50 วรรคท้าย 15% Yes ส่วนที่เกิดจากการทำงานในประเทศไทย ส่วนที่มิได้เกิดจากการทำงานในประเทศไทย WT. 15% Non WT.
CIT กรณีมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เงินได้ตามม.40(2) เป็นผู้อยู่ใน ประเทศ DTA N WT. ม.70 15% ภ.ง.ด.54 ส่วน ก Y Non WT. เพราะถือเป็นกำไรจากธุรกิจ (Business Profit) เว้นแต่เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ ตามมาตรา 40(3) ให้คำนวณ หักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
P/E: Permanent Establishment สถานประกอบการถาวร ใช้กับกรณีเงินได้ที่เป็นกำไรจากธุรกิจ (Business Profit) ได้แก่ เงินได้ตามมาตรา 40(2) และ (6) 3 A’s Type of P/E - Asset Type P/E - Activity Type P/E - Agent Type P/E Y N จัดเก็บภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากรได้ ภายใต้ขอบเขตของ DTA ไม่สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากรได้
อัตราก้าวหน้าของเงินได้พึงประเมิน WT.: มาตรา 40(3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ สิทธิอย่างอื่น (Royalty) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(2) 15%* ภ.ง.ด.2 บริษัท A. จำกัด 2. WT. มาตรา 50(2) ภ.ง.ด.2 อัตราก้าวหน้าของเงินได้พึงประเมิน นาย ก. 4. WT. มาตรา 3 เตรส 3% ภ.ง.ด.53 (ตั้งแต่ 16 ก.ค. 44) 3. WT. มาตรา 70 15%* ภ.ง.ด.54 * ดูการลดอัตราใน DTA บริษัท C. จำกัด บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
เงินได้ตาม ม.40(3) ที่อยู่ในข่ายต้องหัก WT. ค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้ (Royalty Fee) ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ฟิล์มภาพยนตร์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สูตร กรรมวิธี ข้อสนเทศ (Information) เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ Know How, Franchise Software Computer (ถือเป็นงานวรรณกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์) ค่าใช้โปรแกรมและค่าจ้างเขียนโปรแกรม (ค่าบริการ) ค่าซื้อลิขสิทธิ์ในโปรแกรมโดยเด็ดขาด (ค่าสินค้า) สิทธิในการใช้แบบแปลนการสร้างอาคาร, สนามกอล์ฟ
WT.: มาตรา 40(4)(ก) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (Interest on Loan) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(2) 15% ภ.ง.ด.2 นาย ก. 2. WT. มาตรา 50(2) 15% ภ.ง.ด.2 (Final Tax) 4. WT. มาตรา 3 เตรส 1% ภ.ง.ด.53 3. WT. มาตรา 70 15% ภ.ง.ด.54 บริษัท C. จำกัด บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) เงินได้ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ ดอกเบี้ยพันธบัตร รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ ผู้ลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคาร และสหกรณ์ ผู้ฝากเงิน ดอกเบี้ยหุ้นกู้ บริษัทจดทะเบียน รัฐวิสาหกิจ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ บริษัท หรือห้างฯ นิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น หรือผู้กู้ยืมอื่น ผู้ให้กู้ยืม ดอกเบี้ยตั๋วเงิน บุคคลใด
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) มาตรา 42 “(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 “(21) เงินได้ดังต่อไปนี้ (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือดอกเบี้ยหุ้นกู้ (ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน (ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ทั้งนี้ เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และผู้มีเงินได้นั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 249 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 25 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) (22) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (30) เงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ (ก) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงคนแรก (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป) (ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 223 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับ 30 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป)
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) “(ค) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนไว้แล้ว“ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544) ใช้บังคับ 14 กันยายน 2544 เป็นต้นไป) ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งเกิดจากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ทรงคนแรกไว้แล้วตาม มาตรา 50(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้ได้ประทับตราว่าได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายบนตราสารแล้วเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ผู้ทรงคนแรกได้เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายใน อัตรา 15% ตามมาตรา 50(2) ไว้แล้วทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ทรงคนต่อไปได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่ผู้ทรงคนก่อนได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้แล้ว Y N ทั้งนี้ ผู้จ่ายเงินได้ต้องประทับตราว่าได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2)(ค) บนตราสารแล้วเท่านั้น ผู้ทรงคนต่อไปไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ดังกล่าวทั้งจำนวน
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (38) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 29 พฤศจิกายน 2538 เป็นต้นไป) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55))
จ่ายดอกเบี้ย เงินกู้ยืม บริษัท A. จำกัด นาย ก. ภ.ง.ด.2 หัก WT.15% Y N เลือกเสีย PIT เท่ากับ WT N Final Tax นำไปรวมคำนวณ PIT กับเงินได้อื่น ควรได้คืน PIT
WT.: มาตรา 40(4)(ข) เงินปันผล (Dividend) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(2) 10% ภ.ง.ด.2 2. WT. มาตรา 50(2) 10% ภ.ง.ด.2 นาย ก. 4. WT. มาตรา 3 เตรส 10% ภ.ง.ด.53 3. WT. มาตรา 70 10% ภ.ง.ด.54 บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) ผู้จ่ายเงินได้ เงินได้ที่จ่าย ผู้มีเงินได้ บริษัทจำกัด เงินปันผล ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินส่วนแบ่งของกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วน กิจการร่วมค้าที่ประกอบ กิจการในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมค้า/ ผู้เป็นหุ้นส่วน กองทุนรวมตามม. 39 หรือ IFCT ผู้ถือหน่วยลงทุน * สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมตามกม.ว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (58) เงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้ (ก) เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545 (ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 235 (พ.ศ. 2545) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป)
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 มาตรา 3 ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ใช้บังคับ 21 เมษายน 2536 เป็นต้นไป)
เลือกเสียภาษีเงินได้ เท่าที่ถูกหัก WT 10% Final Tax เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและ J.V. ซึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิแล้ว ถูกหัก WT. 10% ตามม. 50(2), ม.48(3) เลือกเสียภาษีเงินได้ เท่าที่ถูกหัก WT 10% ใช่ Final Tax ไม่ใช่ นำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตาม ม.48(1) เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ = เงินปันผลฯ คูณ อัตรา CIT หารด้วย (100 – อัตรา CIT) แล้วนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณจำนวน PIT จำนวน PIT มากกว่าจำนวนเครดิต ภาษีและ WT. ให้ชำระเพิ่มเติม จำนวน PIT น้อยกว่า จำนวนเครดิต ภาษีและ WT. ให้มีสิทธิขอคืน
มีสิทธิได้เครดิตภาษี จ่ายเงินปันผล ม.40(4)(ข) บริษัท A. จำกัด นาย ก. นำส่งโดย ภ.ง.ด.2 หัก WT.10% Y เลือกเสีย PIT เท่ากับ WT 10% N Final Tax นำไปรวมคำนวณ PIT กับเงินได้อื่น มีสิทธิได้เครดิตภาษี ตามม. 47 ทวิ
WT for PIT ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษี 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) ประกอบมาตรา 48(3) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) ดังต่อไปนี้เมื่อถูกหัก WT 15% ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสีย PIT ดอกเบี้ยเงินฝาก (ประจำ) ธนาคารในราชอาณาจักร หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างฯ นิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากบรรษัทฯ (IFCT) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตรา สารแสดงสิทธิในหนี้ฯ
WT for PIT ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษี 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) ประกอบมาตรา 48(3) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) ดังต่อไปนี้เมื่อถูกหัก WT 10% ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสีย PIT เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้า เงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 เงินปันผลที่ได้จากบริษัทที่มีหน้าทีเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม * นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ที่เป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หากยอมให้หัก WT. ในอัตรา 10% ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสีย PIT ตามพรฎ. (ฉ.262)
การเลือกเสียภาษี PIT คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 ข้อ 19 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี
WT for PIT ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษี 3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) ประกอบมาตรา 48(3) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ช) ดังต่อไปนี้เมื่อถูกหัก WT 10% ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสีย PIT ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
WT. ตามม. 3 เตรส สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบ 1 % กิจการในประเทศไทย ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ 10 % ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัท Non WT. เครดิตฟองซิเอร์ กรณีบริษัทมหาชนเป็นผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) เฉพาะ ที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้คำนวณหัก WT ดังนี้ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัท 1%
WT.ตามมาตรา 3 เตรส สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร (โดยบริษัทมหาชน) ดอกเบี้ยหุ้นกู้ (โดยบริษัทมหาชน) ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายโดยบริษัทจำกัดที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ 1 % ในประเทศไทย ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ 10 %
การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่เริ่มจำหน่ายก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)
WT.: มาตรา 40(5)(ก) ค่าเช่าทรัพย์สิน (Rental Fee) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(3) 15% ภ.ง.ด.3 2. WT. มาตรา 3 เตรส 5% ภ.ง.ด.3 นาย ก. 4. WT. มาตรา 3 เตรส 5% ภ.ง.ด.53 3. WT. มาตรา 70 15% ภ.ง.ด.54 บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
เงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าทรัพย์สิน รายการ WT VAT SD ค่าเช่าที่ดิน อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น - ค่าเช่า เงินกินเปล่า ค่าเซ้ง แป๊ะเจี๊ยะ ค่าซ่อมแซม - ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าอากรแสตมป์ คลังสินค้า หรือที่จอดรถ - ให้เช่า - ให้บริการรับฝากทรัพย์ ให้ใช้สถานที่เพื่อวางสินค้า ทรัพย์สิน ค่าบริการหัวชั้น Booth, Kiosk, Location ค่าบริการส่วนกลาง, ความเย็น, ยามรักษาความปลอดภัย ทำความสะอาด (จ้างทำของ) ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา ไอน้ำ (ขายสินค้า) ค่าหมายเลขโทรศัพท์ 5% 3% -
เงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าทรัพย์สิน รายการ WT VAT SD ค่าบริการใช้โทรศัพท์ - สายตรง - ผู้ให้เช่าเรียกเก็บ - จ่ายให้ บมจ. ทศท. คอร์ปอเรชั่น - ต่อผ่านศูนย์ – Operator (จ้างทำของ) Apartment - ให้เช่าทั่วไป - ให้บริการ Service Apartment (ดู ป.90/2542) โครงเหล็ก (ถือเป็นสังหาริมทรัพย์ในทางภาษีอากร) - ให้เช่า - ให้บริการโฆษณา ให้เช่าสังหาริมทรัพย์ - เฟอร์นิเจอร์ เต้นท์ กล้วยไม้ เสื้อผ้า รถยนต์ เครื่องจักร Tower Cane ฯลฯ 3% 5% - 2%
เงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าทรัพย์สิน รายการ WT VAT SD ผนังอาคาร - ให้เช่า - ให้บริการโฆษณา บริการห้องพัก ห้องจัดเลี้ยงในโรงแรม - Hotel ให้ยืมใช้คงรูป (= ให้บริการเช่าทรัพย์สิน) - อสังหาริมทรัพย์ - สังหาริมทรัพย์ การให้เช่าแบบลีสซิ่ง (Leasing) - กรณีเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย - กรณีเป็นไม่ไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย 5% 2% -
พื้นที่ (ที่จอดรถ) โดย บริษัท A. จำกัด ให้บริการที่จอดรถ นาย ก. ส่งมอบการครอบครอง พื้นที่ (ที่จอดรถ) โดย ไม่ดูแลรับผิดชอบ Y N การให้เช่าพื้นที่ (อสังหาริมทรัพย์) การรับฝากทรัพย์ (การให้บริการอื่นๆ) WT. 5% Non VAT, SD WT. 3% VAT
เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เช่าแบบลีสซิ่ง 1. ผู้ให้เช่า (Leaser) ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (VAT) 2. สัญญาเช่าต้องมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี เว้นแต่ทรัพย์สินที่ยึดมาจะมีกำหนดเวลาไม่ถึง 3 ปีก็ได้ 3. ผู้เช่า (Leasee) ต้องเป็นนิติบุคคล
สาระสำคัญของสัญญาเช่า มีการส่งมอบการครอบครองทรัพย์ที่เช่า มีระยะเวลาที่ชัดเจน ค่าซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าเป็นภาระของผู้ให้เช่า กรณีผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าซ่อมแซมหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันถือเป็นค่าเช่า ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดกับบุคคลหรือ ทรัพย์สินในระหว่างสัญญาเช่า เป็นภาระของผู้เช่า เว้นแต่เป็นความผิด/ความบกพร่องของผู้ให้เช่า
WT. ค่าบริการโทรศัพท์ตาม ป.125/2545 กรณีกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์กับผู้ให้บริการโทรศัพท์ และได้จ่ายค่าบริการดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ให้คำนวณหัก WT. ในอัตรา 5% ของเงินได้ (รายได้ดังกล่าวต้องเสีย VAT) ค่าธรรมเนียมการขอเลขหมายโทรศัพท์ ค่าลงทะเบียนการใช้บริการโทรศัพท์ ค่าบริการเลขหมายโทรศัพท์ ค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ หรือค่าบริการที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไม่ต้องนำค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ผู้จ่ายค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
WT. ค่าบริการโทรศัพท์ตาม ป.125/2545 กรณีกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์กับผู้ให้บริการโทรศัพท์ และได้จ่ายค่าบริการการใช้โทรศัพท์ หรือค่าบริการที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ให้คำนวณหัก WT. ในอัตรา 3% ของเงินได้ รายได้ดังกล่าวต้องเสีย VAT สำหรับค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไม่ต้องนำค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ผู้จ่ายค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
WT. ค่าโทรศัพท์ (1) 1 3 VAT 2 VAT บมจ.ทศท. คอร์ปอเรชั่น บริษัท A เจ้าของอาคาร ผู้ให้เช่า ค่าโทรศัพท์ WT.3% บริษัท B ผู้เช่าอาคาร ใบแจ้งหนี้ Non WT. VAT 2 ค่าหมายเลข WT.5% ค่าโทรศัพท์ WT. 3% VAT
WT. ค่าโทรศัพท์ (2) 3 2 ค่าหมายเลข WT.5% ค่าโทรศัพท์ WT.3% ใบแจ้งหนี้ของ บมจ. ทศท. Non WT. บริษัท A เจ้าของอาคาร ผู้ให้เช่า บมจ.ทศท. คอร์ปอเรชั่น บริษัท B ผู้เช่าอาคาร 1 ใบแจ้งหนี้ Non WT.
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.125/2546 WT. ค่าโทรศัพท์ (3) บริษัท A จำกัด ใบแจ้งหนี้ Non WT. บมจ.ทศท. คอร์ปอเรชั่น ค่าหมายเลข WT.5% ค่าโทรศัพท์ WT.3% ธนาคาร พาณิชย์ ควรตกลงให้บมจ.ทศท.คอร์ปอเรชั่น เป็นตัวแทนหัก WT. และนำส่ง ตลอดจนออกหนังสือรับรองฯ แทน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.125/2546
สัญญาเช่าต้องได้รับความ ยินยอมจาก A. ผู้ให้เช่าเดิม B. Co. ltd. Case 1 การให้เช่าช่วง สัญญาเช่าต้องได้รับความ ยินยอมจาก A. ผู้ให้เช่าเดิม B. Co. ltd. ผู้เช่า ผู้ให้เช่าช่วง Co. ltd. ผู้ให้เช่าเดิม C. Co. ltd. ผู้เช่าช่วง X Case 2 การโอนสิทธิการเช่า B. Co. ltd. ผู้เช่าเดิม Co. ltd. ผู้ให้เช่า VAT? W.T.? โอนสิทธิการเช่า C. Co. ltd. ผู้เช่าใหม่
ผู้ให้เช่า ผู้เช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า ผู้เช่าที่ดิน B ใช้ภาษีซื้อจากการก่อสร้าง อาคารไม่ได้ ป.90/2542 - WT สำหรับค่าอาคารที่โอน? Co. ltd. ผู้ให้เช่า B. Co. ltd. ผู้เช่าที่ดิน X B, T, O = สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่า สัญญาเช่าธรรมดา (แนวคำพิพากษาฎีกา) SBT? ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2542 เป็นต้นมา ไม่ต้องเสีย SBT เพราะไม่มีการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม Co. ltd. ผู้ให้เช่า B. Co. ltd. ผู้เช่าที่ดิน X B, O, T B, O. at least 3 yrs., T
นาย ก. Co., ltd. ผู้พัฒนา เงินกินเปล่า VAT, WT.3% สัญญาเช่า ผู้เช่าอาคาร ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542 ประกอบ
WT.: มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (Professional fee) ประเทศไทย ต่างประเทศ Mr. X บริษัท A. จำกัด 1. WT. มาตรา 50(3) 15% ภ.ง.ด.3 นาย ก. 2. WT. มาตรา 3 เตรส 3% ภ.ง.ด.3 4. WT. มาตรา 3 เตรส 3% ภ.ง.ด.53 3. WT. มาตรา 70 15% ภ.ง.ด.54 ดู DTA บริษัท C. จำกัด บริษัท B. จำกัด มูลนิธิ/ สมาคม 10%
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 A. Co. ltd. Thai Co. จ่ายเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(4)(ก) CIT Payers (Foreign Co.) Y General Interest WT. 15% N ค่าปรับเนื่องจาก ผิดสัญญา ค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จาก สิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด Y WT 15% N กรณีรัฐบาล, Non Banking ของรัฐบาลเป็นผู้จ่าย Y Non WT
สรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายตาม ม.70 และการนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 รายการเงินได้ W.T. ตาม ม.70 (ภ.ง.ด.54) การนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 (ภ.พ.36) DTA NON DTA ต้องนำส่ง ไม่ต้องนำส่ง 1. ม.40(2) - Commission - เงินได้จากการรับทำงานให้ - กรณีอื่น ๆ - การซ่อมแซม - Training (Business Profit: Non WT) ” 15% ลูกค้าในไทย Concrete รูปธรรม - ลูกค้า ตปท ประกาศ VAT (ฉ. 40 ข้อ 2 (3)) นามธรรม Abstract 2. ม.40(3) - ใช้สิทธิ - ซื้อขายสิทธิโดยเด็ดขาด 15% (ดู DTA) Service (ดู ป.104/ 2545) goods Web Site ค่าสิทธิ (ม.40(3))
สรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายตาม ม.70 และการนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 รายการเงินได้ W.T. ตาม ม.70 (ภ.ง.ด.54) การนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 (ภ.พ.36) DTA Non DTA ต้องนำส่ง ไม่ต้องนำส่ง 3. ม.40(4)(ก) 15% (ดู DTA) 15%(ดู พรฎ ที่เกี่ยวข้อง) - 4. ม.40(4)(ข) 10% 5.ม.40(4) (ค) – (ช) 6.ม.40(5)(ก) (กรณีเช่า ท/ส และใช้ใน ต่างประเทศ) out of VAT scope 7. ม.40(6) Business Profit 8. ม.40(8) – ค่าโฆษณา ใช้บริการในไทย ใช้บริการในตปท.
WT.: มาตรา 40(7)(8) เงินได้ค่าบริการ ก่อน 16 กรกฎาคม 2544 มาตรา 40(7)(8) ค่าจ้างทำของ (PIT,CIT) 3%, 5% มาตรา 40(8) ค่าโฆษณา (PIT,CIT) 2% มาตรา 40(8) ค่าแสดงฯ (PIT) 5%, อัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 16 กรกฎาคม 2544 (เพิ่มรายการต่อไปนี้) มาตรา 40(8) ค่าบริการอื่น (PIT,CIT) 3%, มาตรา 40(8) ค่าขนส่ง (PIT,CIT) 1%, (15 ก.ย. 2544) มาตรา 40(8) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย (CIT) 1%
การจ้างทำของ สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ อยู่ที่ผลสำเร็จของงาน ดังนั้น ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับจ้างทำของ ย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างทำของนั้น ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และปิดอากรแสตมป์ (ถ้ามี) โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายจากฐานที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
จ่ายค่าจ้างทำของ A. Co., ltd. B. Co., ltd มาตรา 40(7)(8) ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 หัก WT.3% กรณี รายการ การหัก WT. 1. B. เรียกเก็บค่าจ้างทำของ โดยไม่แยกราย การค่าจ้างและค่าวัสดุ จำนวน 5,000 บาท A. คำนวณหัก WT. จากยอดค่าจ้างรวม 5,000 บาท 2. B. เรียกเก็บค่าจ้างทำของ โดยแยกรายการค่าจ้างจำนวน 1,000 บาท และค่าวัสดุจำนวน 4,000 บาท รวม 5,000 บาท A. คำนวณหัก WT. จากยอดค่าจ้างรวม 5,000 บาท เพราะค่าวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของ ที่มุ่งผลสำเร็จของงาน บริษัท B.จำกัด ค่าจ้างทำของ 5,000 ฿ บริษัท B.จำกัด ค่าของ 4,000 ฿ ค่าจ้างฯ 1,000 ฿
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างทำของ กรณี รายการ การหัก WT. 3. B. เรียกเก็บค่าจ้างทำของ โดยแยกรายการและบิล ค่าจ้างจำนวน 1,000 บาท และค่าวัสดุจำนวน 4,000 บาท รวม 5,000 บาท A. คำนวณหัก WT. จากยอดค่าจ้างรวม 5,000 บาท เพราะค่าวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของที่มุ่งผล 4. B. เรียกเก็บค่าจ้างทำของ รวม 5,000 บาท โดยแยกรายการและบิล ค่าจ้างจำนวน 1,000 บาท เป็นบิลของบริษัท B. จำกัด และค่าวัสดุจำนวน 4,000 บาท เป็นบิลของบริษัท C. จำกัด A. คำนวณหัก WT. จากยอดค่าจ้างรวม 5,000 บาท เพราะค่าวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของ บริษัท B.จำกัด ค่าจ้าง 1,000 ฿ ค่าวัสดุ 4,000 ฿ บริษัท B.จำกัด ค่าจ้าง 1,000 ฿ บริษัท C.จำกัด ค่าวัสดุ 4,000 ฿
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างทำของ กรณี รายการ การหัก WT. 5. B. เรียกเก็บค่าจ้างทำของ จำนวน1,000 บาท โดยกำหนดให้ A.จัด ซื้อวัสดุเอง A. คำนวณหัก WT. จากค่าจ้างจำนวน 1,000 บาท เพราะเป็นค่าจ้างทำของ โดยไม่รวมค่าวัสดุ A. จัดซื้อวัสดุจากบริษัท C.จำกัด จำนวน 4,000 บาท และเป็นผู้จ่ายค่าวัสดุให้แก่บริษัท C. จำกัด โดยตรง A. ไม่ต้องหัก WT. จากค่าวัสดุที่จ่ายให้แก่บริษัท C. จำกัด เพราะเป็นค่าซื้อสินค้า บริษัท B.จำกัด ค่าจ้าง 1,000 ฿ บริษัท C.จำกัด ค่าวัสดุ 4,000 ฿
กรณีศึกษา บริษัทฯ ซื้อทรัพย์สินโดยมีการันตีว่าให้บริการซ่อมฟรี ๒ ปี ไม่รวมค่าอะไหล่ ภายหลังบริษัทฯ ซ่อมทรัพย์สินดังกล่าว ต้องจ่ายค่าอะไหล่ ๕,๐๐๐ บาท บริษัทฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ ขายสีเป็นตารางเมตร (ขายสีพร้อมทาให้)
WT.: มาตรา 40(7)(8) เงินได้ค่าบริการ การจ้างทำของที่ถือเป็นบริการโดยแท้ ให้ผู้จ่ายเงินได้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากทั้งค่าจ้างและค่าสัมภาระ เช่น ค่าจ้างเหมาก่อสร้าง ค่าวางเสาเข็มเจาะ ค่าจ้างซ่อม ค่าจ้างพิมพ์เอกสาร ค่าจ้างทำป้ายโฆษณา การขายสินค้าพร้อมให้บริการโดยไม่แยกค่าบริการ ไม่ต้องหัก WT. เช่น ขายเครื่องจักรพร้อมติดตั้ง ขายลิฟต์พร้อมติดตั้ง ขายเสาเข็มพร้อมตอก ขายสีพร้อมทา มุ่งผลสำเร็จของงาน มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
การสั่งซื้อสินค้าที่ผู้ขายผลิตขายอยู่เป็นปกติ ผู้ขายมีสินค้าวางขายทั่วไป ไม่กำหนดเฉพาะเจาะจงที่ผู้ซื้อรายใดรายหนึ่ง อาทิ เสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ ผ้าม่าน สินค้าสำเร็จรูปอื่น ถือเป็นการมุ่งหมายที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีไม่แยกค่าบริการ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีแยกค่าบริการ ไห้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เฉพาะค่า บริการเท่านั้น
WT. : มาตรา 40(8) ค่าโฆษณา A. Co., B. Co., Ltd. Ltd. ค่าโฆษณา ไม่ว่าจะมี Media ของตนเอง หรือไม่ก็ตาม ค่า Production WT. 3% ค่าจ้างทำของ
WT. : มาตรา 40(8) ค่าโฆษณา A. Co., Ltd. B. Co. Agency C. Co. Media Advanced VAT Non WT. ค่าโฆษณา VAT WT. 2% ค่า Agency Fee WT. 2%, VAT ป. 6/2528 ค่า Production WT. 3%, VAT ค่าโฆษณา ค่า Agency Fee Total 100% 17.65% of Media 117.65% 85% 15% of Media
WT. : มาตรา 40(8) ค่าโฆษณาร่วมกัน A1 Co., ltd. ค่าโฆษณา 200,000 WT. 2% VAT 14,000 A. Co., ltd. B. Co., ltd. A2 Co., ltd. A3 Co., ltd. (1) A. Co. ltd. able to use Input Tax? (2) A. Co. ltd. can charge VAT from A1 A2 A3? (3) A1 A2 A3 can deduct WT. from A.?
WT. : มาตรา 40 (8) ค่าบริการอื่นๆ ค่าบริการคลังสินค้า ค่าบริการที่จอดรถ ค่าบริการให้ใช้สถานที่เพื่อการวางทรัพย์สิน/สินค้า ค่าบริการหัวชั้น ค่าบริการท่าเทียบเรือ ค่าธรรมเนียม/บริการเรียกเก็บเงินตามบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียม/บริการค้ำประกัน ค่าบริการเรียกเก็บเงินชดเชยส่วนลดจากเจ้าของสินค้า ค่าบำรุงสมาชิก และค่าบริการการใช้สโมสรกีฬา สันทนาการ
WT. : มาตรา 40 (8) ค่าบริการอื่นๆ ค่าบริการโรงแรม รวมทั้ง Guest House, Resort, Service Apartment, Condotel, Inn, Bungalow ค่าบริการภัตตาคาร ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริการขนส่งที่เป็นค่าโดยสารจากการรับจ้างขนส่งสาธารณะ เช่น แท็กซี่ ค่ารถ บขส. ค่าโดยสารสายการบิน
ค่าบริการอื่นๆ ตาม ป.112/2545 ค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หมายถึง ค่าบริการที่คู่สัญญาสามารถคำนวณค่าบริการที่ได้รับทั้งสิ้นเป็นจำนวนที่แน่นอนได้ในการทำสัญญารายหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งๆ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นค่าบริการให้กับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ โดยเป็นการจ่ายค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หากค่าบริการที่ให้บริการในแต่ละครั้ง (Transaction) มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่หากค่าบริการในแต่ละครั้ง มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการ
ค่าบริการอื่นๆ ตาม ป.112/2545 กรณีค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ในแต่ละครั้งมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท หากการจ่ายเงินหลายๆ สัญญาดังกล่าว หรือหลายๆ รายการที่ให้บริการ (Transaction) รวมกันเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการทั้งหมด กรณีค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว มีการตกลงจ่ายค่าบริการตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้จะแบ่งจ่ายหลายครั้ง ครั้งละไม่ถึงหนึ่งพันบาท บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการ
ค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ที่อยู่ในข่ายต้องหัก WT. 3% ค่าธรรมเนียมดราฟต์ ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทางโทรเลข ทางไปรษณีย์ และทางโทรศัพท์ หรือทางคอมพิวเตอร์ ค่าธรรมเนียมในการออกตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันตั๋วเงิน ค่าธรรมเนียมในการออกตั๋วเงินภายในประเทศ และตั๋วเงินในต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเลตเตอร์ออฟเครดิต ค่าธรรมเนียมในการคืนเช็ค ค่าธรรมเนียมในการตรวจสภาพหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินต่างประเทศเข้าบัญชีผู้รับโอน ค่าธรรมเนียมเคาน์เตอร์เช็ค
ค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ที่อยู่ในข่ายต้องหัก WT. 3% (ต่อ) ค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ค่าธรรมเนียมเช็คของขวัญ ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำประกันลูกค้า ค่าให้บริการใช้โทรศัพท์ ค่าใช้คู่สายแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายยกเลิกตั๋วเงิน ค่าธรรมเนียมจากการที่ลูกค้านำตั๋วแลกเงินจากต่างประเทศมาแลกกับธนาคาร ค่าบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ค่าบริการจำหน่ายหลักทรัพย์
ค่าบริการอื่นๆ ตาม ป.112/2545 ค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หมายถึงค่าบริการที่คู่สัญญาไม่สามารถคำนวณค่าบริการที่ได้รับทั้งสิ้นเป็นจำนวนที่แน่นอนได้ในการทำสัญญารายหนึ่ง ๆ หรือครั้งหนึ่ง ๆ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นค่าบริการให้กับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และเครดิต ฟองซิเอร์ โดยเป็นการจ่ายค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หากการจ่ายค่าบริการไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่หากการจ่ายค่าบริการในครั้งต่อไปซึ่งเมื่อนำไปรวมกับค่าบริการครั้งที่ผ่านมาที่มีการจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการ โดยจะต้องนำเงินค่าบริการที่จ่ายในครั้งก่อน ๆ มารวมคำนวณเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย
ค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ที่อยู่ในข่ายต้องหัก WT. 3% ค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเอทีเอ็ม ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างบัญชีออมทรัพย์เข้าบัญชีกระแสรายวัน ค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีกระแสรายวัน ค่าธรรมเนียมบริการชำระค่าโทรศัพท์ ค่าคู่สายที่ใช้ในการออนไลน์บัตรเอทีเอ็มระหว่างจังหวัด ค่าคู่สายที่ใช้ในการออนไลน์บัตรเอทีเอ็มที่เรียกเก็บจากธนาคารอื่น ค่าธรรมเนียมรักษาสภาพบัญชี ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเดือนของพนักงานเข้าบัญชีธนาคารของพนักงาน ค่าธรรมเนียมการให้บริการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ (Media Clearing) ค่าธรรมเนียมจากการให้บริการผ่านระบบ BAHTNET
ค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ที่อยู่ในข่ายต้องหัก WT. 3% (ต่อ) ค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเอทีเอ็ม ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างบัญชีออมทรัพย์เข้าบัญชีกระแสรายวัน ค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีกระแสรายวัน ค่าธรรมเนียมบริการชำระค่าโทรศัพท์ ค่าคู่สายที่ใช้ในการออนไลน์บัตรเอทีเอ็มระหว่างจังหวัด ค่าคู่สายที่ใช้ในการออนไลน์บัตรเอทีเอ็มที่เรียกเก็บจากธนาคารอื่น ค่าธรรมเนียมรักษาสภาพบัญชี ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเดือนของพนักงานเข้าบัญชีธนาคารของพนักงาน
สวัสดี