กลุ่ม 1 กลไกการดำเนินงานพัฒนาระบบราชการของ กรมอนามัยและหน่วยงานในสังกัด (การจัดทำคำรับรองฯ และ PMQA)
1. การดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการ/คณะทำงาน - องค์ประกอบ ,จำนวน ,บทบาท ของ คณะกรรมการ/คณะทำงาน - คกก./คณะทำงาน ควรมีกี่ชุด อะไรบ้าง แนวคิด/วิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ของคณะกรรมการ/คณะทำงาน สรุป ข้อเสนอแนะ 1. คณะกรรมการประสานและสนับสนุน, เจ้าภาพหมวด PMQA และเครือข่าย กพร. ของทั้งส่วนกลางและศูนย์อนามัย ต้องเชื่อมโยงการดำเนินงาน ซึ่งกันและกัน และชี้แจงทำความเข้าใจให้ทราบโดยทั่วกัน 2. เครื่อข่าย กพร. ควรได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องทุกเรื่อง 3. หน่วยงานย่อยภายในกรมอนามัย ต้องมีผู้รับผิดชอบหลัก หรือ เจ้าภาพหลัก ในการดำเนินงาน กพร. 4. ผู้บริหารของหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับงาน กพร.
2. บทบาทของผู้บริหาร (อธิบดี รองอธิบดี หัวหน้าหน่วยงาน) เช่น ควรมีบทบาทในการตัดสินใจ เป็นต้น สรุป ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหารระดับสูงของกรมอนามัย ต้องให้ความสำคัญกับงาน กพร. และ PMQA อย่างจริงจัง เช่น เป็นประธานหมวด PMQA หรือประธาน คณะกรรมการต่างๆ และเข้าร่วมประชุมฯ ด้วยตนเอง 2. สนับสนุน/เสริมสร้าง ขีดความสามารถและความเข้มแข็งของ การดำเนินงาน กพร. 3. กำหนดให้งาน กพร. เป็น KPI รายบุคคลของผู้บริหารฯ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น วัดจำนวนครั้งของการเข้าร่วมประชุม หมวด 1 ,การมีส่วนร่วม/แสดงความคิดเห็นในเรื่อง กพร. ฯลฯ 4. ผู้บริหารต้องร่วมรับผิดชอบในตัวชี้วัด กพร. หรือการตัดสินใจ เช่น การนำองค์กร
3. การนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน สรุป ข้อเสนอแนะ 1. กองแผนงาน เจ้าภาพตัวชี้วัด และเจ้าภาพหมวด PMQA ควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน 2. บูรณาการการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน กพร. และ PMQA ร่วมกับระบบนิเทศติดตามงานของผู้บริหารกรมอนามัย
4. การสนับสนุนการดำเนินงานของกรมอนามัยต่อหน่วยงานในสังกัด สรุป ข้อเสนอแนะ 1. กรมอนามัย ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดการประชุมฯ ให้กับ เจ้าภาพหมวดของ PMQA หรือเจ้าภาพตัวชี้วัดสำคัญของกรมอนามัยอย่าง เหมาะสม 2. ควรมีการจัดทำเกณฑ์ในการสนับสนุนแรงจูงใจ ให้กับผู้รับผิดชอบงาน กพร. ของหน่วยงาน และมีระบบการควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติตามเกณฑ์ฯ
5. ความร่วมมือของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สรุป ข้อเสนอแนะ 1. สร้างกลไกการประสานความร่วมมือของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ช่น เพิ่มความถี่ ในการจัดประชุม และการสื่อสารข้อมูล 2. ผู้เข้าร่วมประชุมเครือข่าย กพร. หรือ PMQA หมวดต่าง ๆ องค์ประกอบ ของผู้เข้าร่วมประชุมควรประกอบด้วย เครื่องข่าย กพร. และเจ้าภาพหมวด PMQA
6. วิธีการพัฒนาระบบราชการที่มั่นคงและยั่งยืน สรุป ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยงานย่อย ควรจัดให้มีโครงสร้างงาน กพร. ที่ชัดเจน 2. หน่วยงานย่อย ควรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบงาน กพร., PMQA, และงานยุทธศาสตร์ และให้ถือเป็นบทบาทภารกิจประจำ 3. กรมอนามัย ต้องใช้ PMQA เป็นเครื่องมือในการจัดทำ แผนปฏิบัติงาน/โครงการ 4. กลุ่มสนับสนุนวิชาการต้องมีศักยภาพในการบูรณาการงาน กพร. PMQA และแผนยุทธศาสตร์
7. ปฏิทินการปฏิบัติงาน เช่น ระยะเวลาการจัดทำคำรับรองฯ เป็นต้น สรุป ข้อเสนอแนะ 1. เลื่อนขั้นตอนการลงนามในคำรับรองฯ ของกรมอนามัย เป็นภายในเดือนธันวาคม 2. การประชุมเครือข่าย เพื่อชี้แจงเกณฑ์ประเมินให้แก่หน่วยงาน ให้เป็นภายในเดือนธันวาคม