การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ การจัดหาและเลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และบุคลิกลักษณะอื่นๆที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติงานใดงานหนึ่งในเวลาที่ต้องการ (put the right man In the right job at the right time)
ความสำเร็จของการสรรหาและเลือกสรรเข้าทำงาน 1. นโยบายของกรมฯ 2. งบประมาณ 3. ระยะเวลา 4. ความพร้อมของบุคลากร 5. เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้อง
นโยบายของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารควรจะกำหนดนโยบายว่าจะให้เน้นปฏิบัติภายใต้ คุณธรรม ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ หรือผสมผสานกันในจุดใดบ้าง เพื่อผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจะได้สามารถกำหนดวิธีการสรรหา และเลือกสรรได้สอดคล้อง
งบประมาณ งบประมาณในการสรรหาและเลือกสรรจะเป็นตัวกำหนดในการเลือกใช้ เทคนิคและวิธีการในการสรรหา เลือกสรร ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีเสียค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการ และได้ผลลัพธ์ในการประเมินบุคคลที่ต่างกัน บุคลากร บุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้าทำ งานนอกจากจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและวิธีการสรรและเลือกสรร บุคคลเข้าทำงานแล้วยังต้องมีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคล และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มองการณ์ไกล
ข้อมูลเกี่ยวกับงาน -ประเภทของงาน -หน้าที่ความรับผิดชอบ -ลักษณะงานที่ปฏิบัติ -ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
วิธีการสรรหา 1. การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อสารมวลชน 2. ติดต่อกับสถาบันการศึกษา หรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ 3. การสรรหาจาก สำนักจัดหางานต่าง ๆ 4. รับสมัครจากผู้สมัครด้วยตนเอง 5. การแนะนำโดยพนักงานของแต่ละหน่วยงาน 6. การให้ทุนไปศึกษาหรือฝึกอบรม
การเลือกสรร หมายถึง การพิจารณาบุคคลที่ได้ทำการสรรหามาทั้งหมด และทำการ คัดเลือกเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่สุด
วิธีการเลือกสรร 1. การประเมินจากใบสมัคร 2. การสัมภาษณ์ 3. การใช้แบบทดสอบ 4. การทดสอบ 5. การตรวจสอบจากบุคคล หรือหนังสือรับรอง 6. การตรวจสุขภาพ 7. การตรวจสอบประวัติ 8. การใช้เทคนิคศูนย์รวมการประเมิน (Assessment Center) 9. การทดลองปฏิบัติงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการเลือกสรร 1. แบบทดสอบ 2. การสัมภาษณ์ แบบทดสอบ -ข้อสอบแบบปรนัย เป็นข้อสอบที่กำหนดคำถามและคำตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบ หรืออาจจะกำหนดข้อความนำแล้วเว้นช่องว่างให้เขียนคำหรือข้อความให้สมบูรณ์ -ข้อสอบแบบอัตนัย เป็นข้อสอบที่มีคำถามหรือโจทย์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบมีอิสระ ในการวางแผนการตอบ การรวบรวมความรู้ ความคิด แล้วเรียบเรียงเป็นคำพูด ของตนเอง
เครื่องมือที่ใช้ในการเลือกสรร การสัมภาษณ์ (Interview) -ใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกผู้สมัครสอบที่มีคุณสมบัติไม่ตรงออก -ใช้เป็นเครื่องมือตัดสินชี้ขาดว่าผู้สมัครสอบมีความรู้ ความสามารถ ในการปฏิบัติงานหรือไม่ -ใช้ผลของการสัมภาษณ์ประกอบกับผลการทดสอบโดยวิธีอื่น ๆ
ผังการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การสอบแข่งขัน การคัดเลือก การสอบคัดเลือก นำรายชื่อ ปริญญาโท นิสิตชลประทาน นักเรียนทุน เปลี่ยนสายงาน เลื่อนว34/2547 เลื่อนระดับ6