การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ.๒๕๔๖มาตรา 11)
ขั้นตอนการดำเนินงานการจัดการความรู้ระดับกรมฯ ประกาศแต่งตั้งทีมงาน KM และ CKO (Chief Knowledge Officer) หน้าที่และความรับผิดชอบ 2.1 CKO (Chief Knowledge Officer) มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 1. ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น ทรัพยากร 2. ให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมประชุมเพื่อการตัดสินใจแก่คณะทำงาน
2.2 ทีมงาน KM 1. หัวหน้าทีม มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 1.1 อำนวยการในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ในองค์กรเพื่อนำเสนอประธาน 1.2 รายงานผลการดำเนินงานและความคืบหน้าต่อประธาน 1.3 ผลักดันติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข 1.4 ประสานงานกับคณะทีมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 ทีมงาน KM 2. เลขานุการ KM Team มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 2.1 นัดประชุมคณะทำงานและทำรายงานการประชุม 2.2 รวบรวมรายงานความคืบหน้าและการดำเนินงาน 2.3 ประสานงานกับคณะทีมงานและหน้าหน้า KM Team 3. KM Team มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 3.1 ดำเนินการตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย 3.2 จัดทำรายงานความคืบหน้าของงานในความรับผิดชอบ 3.3 เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการจัดการความรู้ 3.4 เป็น Master Trainer ด้านการจัดการความรู้
ขอบเขต KM (KM Focus Area) ฝึกอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรม สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรและสหกรณ์ โครงการหุบกะพง (ศูนย์นำร่อง) แผนพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานให้ได้มาตรฐาน ออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกิน
เป้าหมาย KM (Desired State) องค์กรสามารถทำฐานข้อมูลด้านสหกรณ์สำหรับศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตรและสหกรณ์ (ดำเนินการเสร็จภายในปี 2549) องค์กรสามารถจัดทำฐานความรู้เกี่ยวกับวิทยากรเครือข่ายด้านสหกรณ์ องค์กรสามารถจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานKMที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้ดำเนินการแล้ว แต่งตั้งคณะทำงานกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ตามคำสั่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ที่ 5/2551 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2551 แต่งตั้งคณะทำงานสร้างชุดความรู้ ตามคำสั่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ที่ 9/2551 ลงวันที่ 22 เมษายน 2551 แบ่งกลุ่มจัดการความรู้ (KM) จำนวน 4 กลุ่ม) รวบรวมประเด็นการพัฒนาความรู้จากกลุ่มได้จำนวน 4ประเด็น จัดส่งชุดความรู้ของกลุ่มให้คณะทำงานกระบวนการจัดการความรู้ ประมวลความรู้ จัดทำ และปรับปรุงเนื้อหาในรูปแบบเอกสาร และเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทาง หรือทางเลือกให้ทุกคนได้นำไปใช้...
งานKMที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้ดำเนินการแล้ว 7. จัดทำมุมความรู้ส่วนกลาง (ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ) ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร มีคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง ที่รวบรวมข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานฯ พร้อมระบบ LAN และ INTERNET จัดทำชั้นเอกสาร ตำรา หนังสือแจ้งเวียน ระเบียบข้อบังคับทางราชการ กฎหมายต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน จัดทำแผนผัง ขั้นตอนการลดรอบระยะเวลาของกระบวนงานแผนผังสำนักงานฯ และระบบสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ .....................