ร่างผลการศึกษา การฝึกประสบการณ์ด้าน ICT ของประเทศไทย” โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอ(ร่าง) ผลการศึกษาสายงานด้าน ICT ของประเทศไทยและระดมความคิดเห็นในการจัดทำ(ร่าง)ผลการศึกษาสายงานด้าน ICT เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะโดยนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง(ร่าง) ผลการศึกษาสายงานด้าน ICT ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณา (ร่าง)ผลการศึกษาสายงานด้าน ICTของประเทศไทยเพื่อนำแนวทางและเผยแพร่แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาสายงานด้าน ICT เพื่อส่งเสริมการร่วมมือของภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการต่างๆรวมทั้งสถาบันการศึกษา ในการที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้เป็นผู้มีศักยภาพของประเทศ
หัวข้อการบรรยาย 3 3 1 2 ความต้องการของตลาดแรงงาน ICT สายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างประเทศ 2 แบบสายอาชีพ ICT ในประเทศไทย 3
ความต้องการของตลาดแรงงาน ICT (องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ OECD 2004) The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) is an international organization of those developed countries that accept the principles of democracy and a free market economy. It originated as the Organization for European Economy Co-operation (OEEC), to help administer the Marshall Plan for the re-construction of Europe after World War II. Later its membership was extended to non-European states, and in 1961 it was reformed into the Organization for Economic Co-operation and Development. (http://www.wikipedia.biz/wikipedia/oe/OECD.html)
ธุรกิจและอุตสาหกรรม 20 อันดับแรก ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้แรงงาน ICT มากที่สุด (OECD 2004) 1.งานบริการด้านบัญชีและตรวจสอบบัญชี 2. สถาบันการเงินและเครดิตยูเนี่ยน 3. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ 4. งานบริการด้านกฎหมาย 5. บริษัทหลักทรัพย์และการลงทุน 6. ธนาคารพาณิชย์ 7.งานบริการ/ตัวแทนสินเชื่อ 8. งานบริการทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม 9. การประกันภัย 10. งานบริการด้านการจัดการและประชาสัมพันธ์ 11. งานบริการโทรเลข 12. อุปกรณ์สื่อสารทางวิทยุและโทรทัศน์ 13. งานบริการโทรศัพท์ 14. อุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 15. จรวดนำวิถีและชิ้นส่วนยานอวกาศ 16. เครื่องจักรและอุปกรณ์สำนักงาน 17. อุปกรณ์และเครื่องจักรไฟฟ้าทั่วไป 18. อุปกรณ์การถ่ายภาพ 19. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุรา 20. ผู้แทนจำหน่ายยานยนต์
อุตสาหกรรม 10 อันดับแรกที่ใช้ ICT มากที่สุด ในประเทศแถบยุโรป (OECD 2004) 1. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ 2. อุตสาหกรรมการประกันภัย 3. สถาบันการลงทุนทางการเงิน 4. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการลงทุนทางการเงิน 5. การผลิตอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์ 6. ธุรกิจสนับสนุนการดำเนินงาน 7. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 8. การไฟฟ้า แก๊ส และประปา 9. อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์วิทยุ โทรทัศน์ 10. ธุรกิจการค้าส่ง
ประเภทสายอาชีพที่มีวุฒิการศึกษาอย่างต่ำระดับปริญญาตรี พัฒนาโปรแกรม (20%) ฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค (19%) ระบบผู้ประกอบการธุรกิจ (11%) แรงงานด้าน ICT ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2004 ฐานข้อมูล (10%) การพัฒนาเว็บไซต์ (9%) ระบบเครือข่าย (7%) ดิจิทัลมีเดีย (7%) การเขียนเชิงเทคนิค (5%) อื่นๆ (12%)
ทักษะด้าน ICT 20 อันดับแรกที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด
ทักษะของมืออาชีพ ICT และทักษะของผู้ใช้ ICT
ประเทศผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเปิดรับแรงงานต่างชาติ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์
สายอาชีพด้าน IT ของประเทศสหรัฐอเมริกา วิชาชีพโปรแกรมเมอร์ (Programmer) วิชาชีพบริหารระบบ (System Administrator) วิชาชีพนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer) วิชาชีพนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) วิชาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) วิชาชีพนักออกแบบกราฟฟิค (Graphic Designer) วิชาชีพฝ่ายสนับสนุนด้าน ICT (Support) 1 2 3 4 5 6 7
สายอาชีพด้าน IT ของประเทศออสเตรเลีย สายอาชีพนักวิเคราะห์ระบบธุรกิจและโปรแกรมเมอร์ (Business System Analysts and Programmers) สายอาชีพผู้บริหารจัดการฐานข้อมูลและระบบ และ ผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงด้าน ICT (Database and System Administrators, and ICT Security Specialists) สายอาชีพด้านเครือข่ายและการสนับสนุนด้าน ICT (ICT Network and Support Professionals) 1 2 3
สายอาชีพด้าน IT ของประเทศสิงคโปร์ จำแนกเป็น 4 ระดับและ 12 กลุ่มอาชีพ ระดับอาชีพ 1. ระดับพึ่งเริ่มงาน 2. ระดับผู้ชำนาญเฉพาะทาง (Specialist) 3ระดับผู้เชี่ยวชาญหรือนักบริการ (Expert /Management) 4. ระดับนักบริหารอาวุโส (Senior Management กลุ่มอาชีพ 1. นักออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ 2. นักออกแบบและบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ 3. นักบริหารวางแผนและปฏิบัติการเครือข่าย 4. นักพัฒนาแอนิเมชั่นและสเปเชียลแอฟเฟก 5. นักพัฒนาเกมส์ 6. นักบริหารการทำแผน IT 7. นักบริหารฐานข้อมูล 8. นักสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน 9. นักบริหารโครงการ 10. นักการตลาดและขายระบบสารสนเทศ 11. CIO 12. ผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
สายอาชีพด้าน IT ของประเทศอินเดีย โดยภาพรวมแล้ว ประเทศอินเดียไม่ได้มีการนิยามสายอาชีพอย่างเป็นทางการ IT/ITES กลุ่มสายอาชีพสนับสนุน (ทำงาน Data Entry และสนับสนุนทั่วไป) กลุ่มสายอาชีพที่ต้องติดต่อกับลูกค้า กลุ่มสายอาชีพบริหารงานบุคคล กลุ่มสายอาชีพด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณ กลุ่มสายอาชีพด้านสนับสนุนทางเทคนิค และสายอาชีพด้าน IT กลุ่มสายอาชีพด้านให้บริการองค์ความรู้ และงานที่สนับสนุนการตกลงตัดสินใจ กลุ่มสายอาชีพด้านวิจัยและพัฒนา และพัฒนาเนื้อหา
สายอาชีพด้าน IT ของประเทศอังกฤษ SFIA (Skill Framework for Information Age) เป็นโมเดลสำหรับการกำหนดทักษะที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ SFIA จะกำหนดตารางความสัมพันธ์ระหว่างงานและระดับความรับผิดชอบ
SFIA (Skill Framework for Information Age)
SFIA (Skill Framework for Information Age)
SFIA (Skill Framework for Information Age)
แบบสายอาชีพ ICT ในประเทศไทย 1. สายงานวิชาชีพโปรแกรมเมอร์ (Programmer) 2. สายงานวิชาชีพบริหารระบบ (System Administrator) 3. สายงานวิชาชีพนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer) 4. สายงานวิชาชีพนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 5. งานวิชาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ สาย (Software Engineer) 6. สายงานวิชาชีพนักออกแบบกราฟฟิค (Graphic Designer) 7. สายงานวิชาชีพฝ่ายสนับสนุนด้าน ICT (Support)
สายงานวิชาชีพโปรแกรมเมอร์ (Programmer) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ เป็นสายวิชาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ คุณสมบัติ บุคลากร ปริญญาตรี หรือ โท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เทียบเคียงความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมบน WEB Application ด้วย PHP และ ASP ได้คล่อง มีความรู้ด้านฐานข้อมูล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี เงินเดือน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงาน เงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ย 17,000 - 18,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ เป็นสายวิชาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ คุณธรรมและ จรรยาบรรณ ประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
สายงานวิชาชีพบริหารระบบ (System Administrator) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ ศึกษาและค้นหาปัญหาหรือความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ ออกแบบรายงานของคอมพิวเตอร์ให้ ตรงกับความต้องการของฝ่ายบริหาร เป็นสาขาที่ใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารระบบเครือข่าย การบริหารระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ และระบบปฏิบัติการยูนิกส์ การบริหารจัดการระบบเว็บ และการบริหารระบบฐานข้อมูล คุณสมบัติ บุคลากร สำเร็จปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ มีทักษะในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษดี มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีทักษะในการควบคุมลูกน้องได้ดี และมีความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ เงินเดือน ถ้ายังไม่มีประสบการณ์ ทำงานภาคเอกชนจะได้รับค่าจ้างระหว่าง 12,000 - 16,000 บาทต่อเดือน การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ เป็น นักบริหารระบบเครือข่าย นักออกแบบระบบเครือข่าย นักบริหารระบบคอมพิวเตอร์ นักออกแบบระบบ นักบริหารระบบเว็บ นักบริหารระบบฐานข้อมูล นักออกแบบระบบฐานข้อมูล หรืออาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คุณธรรมและ จรรยาบรรณ ควรจดจำไว้เสมอว่า ไม่ควรเปิดเผยความลับของบริษัทที่ตนทำหน้าที่บริหารระบบอยู่ พัฒนาองค์กรในระบบที่กำหนดให้บรรลุเป้าหมาย ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในงานที่ทำ
สายงานวิชาชีพนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Visual Design) ออกแบบลักษณะหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ พัฒนาเครื่องมือสำหรับ Update หรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์ เปิดตัวเว็บไซต์ และทำให้เป็นที่รู้จักดูและพัฒนาต่อเนื่อง คุณสมบัติ บุคลากร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาอื่นๆ มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี Open source เขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งหรือหลายภาษา (HTML, DHTML, PHP, Mysql, JAVA Script, VB.net. C#.net, Delphi) และความรู้ด้าน Database (MS SQL) มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Ajax, CSS, DOM, Flash, Action Script มีความกระตือรือร้น มีความคิดเป็นระบบ เรียนรู้เร็ว เงินเดือน ถ้ายังไม่มีประสบการณ์ ราชการ 5,000-8,000 บาท เอกชน 7,000-12,000 บาท รับทำเป็นงานอิสระ ชิ้นละประมาณ 10,000 บาท ถึง 25,000 บาท หรือรับทำเป็นรายหน้า หน้าละ 500 - 1,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ หากมีความสามารถและมีทักษะในการสื่อสารที่ดี จะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการในการออกแบบเว็บไซต์ (Web Master) ผู้บริหารพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ สามารถที่จะตั้งกิจการของตนเองโดยรับเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บไซต์ให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ คุณธรรมและ จรรยาบรรณ จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับสาร และ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ
สายงานวิชาชีพนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ งานในสายอาชีพนักวิเคราะห็ระบบจะเกี่ยวข้องกับเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และออกแบบระบบให้สมบูรณ์ วางแผนการใช้ทรัพยากรและจัดทำมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ ติดตามระเมินผล จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คุณสมบัติ บุคลากร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาอื่นๆ ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี Open source ความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งหรือหลายภาษา มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Ajax, CSS, DOM, Flash, Action Script สามารถบริหารทีมงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ เงินเดือน ถ้าทำงานกับธุรกิจเอกชนจะมีรายได้อยู่ระหว่าง 12,000 - 16,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคนในระหว่างการศึกษาว่าได้ฝึกฝนด้วยตนเอง หรือ ฝึกงานกับองค์กรใด ได้ตรงกับสายงานที่ตนได้งานนั้นๆ หรือไม่ เงินเดือนสูงสุดอาจขึ้นไปได้ถึง 80,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ ผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน การทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กร การควบคุมลูกน้องได้ดี และมีทักษะในการสื่อสารดีจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารขององค์กรในที่สุด คุณธรรมและ จรรยาบรรณ นักวิเคราะห์ระบบจะได้รับข้อมูลมากมายที่เกี่ยวกับองค์กรและส่วนหนึ่งนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องตระหนักถึงความถูกต้องและความผิดในการเปิดเผยข้อมูลนั้นเป็นสำคัญ
สายงานวิชาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ เป็นสายงานที่สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่และซับซ้อนขององค์กร ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการพัฒนาที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ และสามารถส่งมอบงานได้ในเวลาที่กำหนด ภายใต้งบประมาณที่ตกลงกันและได้ผลงานในระดับคุณภาพ พัฒนาระบบสารสนเทศในระดับสถาปัตยกรรมและโครงสร้างระบบ มุ่งเน้นการออกแบบระบบงานที่สามารถบำรุงรักษาได้ ตลอดจนการคิดค้นกรรมวิธีการดำเนินงานโครงการและองค์กรพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพที่ตรวจสอบได้ ตลอดจน การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้สามารถดำเนินงานพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างอัตโนมัติ คุณสมบัติ บุคลากร ปริญญาตรี /โทวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรซอฟต์แวร์, สาขาคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะความชำนาญทั้งหมดในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถใช้ภาษาพัฒนาเว็บไซต์ได้ดี มีทักษะการใช้ SQL เข้าใจการทำงานของเว็บเช่น AJAX, CSS สามารถประยุกต์เทคโนโลยี CMM: กับองค์กร สามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐาน หรือสามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยี .Net หรือ J2EE เงินเดือน ถ้าทำงานกับธุรกิจเอกชนจะมีรายได้อยู่ระหว่าง 14,000 - 18,000 บาทต่อเดือน เงินเดือนสูงสุดอาจขึ้นไปได้ถึง 100,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ เริ่มต้นตั้งแต่ที่เจ้าหน้าที่วิศวกรซอฟต์แวร์ จนถึงตำแหน่งหน้าที่การงานสุดท้ายในสายงานนั้น หรือสายงานอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน คุณธรรมและ จรรยาบรรณ ในสาขาที่ทำอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่งานที่มีคุณภาพ
สายงานวิชาชีพนักออกแบบกราฟฟิค(Graphic Designer) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ ออกแบบหรือจัดทำรูปแบบการออกแบบ โดยใช้ความรู้ศิลปะและการวาดรูปเพื่อนำเสนอลูกค้า ให้แนะนำแก้ไขหรืออนุมัติกำหนดขนาดและกำหนดรูปแบบของการนำเสนอแล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างชิ้นงานสร้างชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์แล้วประกอบชิ้นงานบนคอมพิวเตอร์ ทบทวนงานร่วมกับลูกค้าและแก้ไขตามที่ลูกค้าเสนอแนะ สร้างชิ้นงานกราฟฟิค สื่อประสมเพื่อใช้ในงานศิลป์ต่างๆ ตลอดจนสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว คุณสมบัติ บุคลากร มีความสามารถ สร้างสรรค์ความคิด สามารถฟังและเข้าใจเนื้อหาที่ผู้อื่นพยายามสื่อสาร สามารถประยุกต์กฎทั่วไปบางอย่างที่เป็นที่ยอมรับกับปัญหาเพื่อให้ได้คำตอบที่สมเหตุผล มีมนุษยสัมพันธ์ดี พูดและนำเสนอชัดถ้อยชัดคำ เงินเดือน ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใหม่ๆ ถ้าทำงานกับธุรกิจเอกชนจะมีรายได้อยู่ระหว่าง 14,000 - 18,000 บาทต่อเดือน เงินเดือนสูงสุดอาจขึ้นไปได้ถึง 100,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ ตำแหน่งงานของนักออกแบบกราฟฟิคได้แก่ เจ้าหน้าที่ออกแบบกราฟฟิคดีไซน์ ผู้จัดการฝ่ายมัลติมีเดีย คุณธรรมและ จรรยาบรรณ ต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาที่ทำอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ ให้เกียรติลูกค้า อดทน ไม่บ่น ไม่ด่า ไม่เถียง เพื่อนำไปสู่งานที่มีคุณภาพ ไม่ควร Copy งานผู้อื่น แล้วแอบอ้าง และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
สายงานวิชาชีพฝ่ายสนับสนุนด้าน ICT (Support) คุณลักษณะ สายวิชาชีพ สายงานนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สนับสนุนการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร โดยจะปฏิบัติงานที่เป็นพื้นฐานตั้งแต่การติดตั้ง ปรับแต่งระบบ ป้อนข้อมูล จัดทำรายงาน สอนการใช้งาน จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และสนับสนุนผู้ใช้ในทุกด้านตอบคำถามที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากข้อบกพร่องของระบบ หรือจากสาเหตุภายนอก เช่น ไวรัส หรือการใช้แอพพลิเคชั่น จัดทำคู่มือการใช้งาน และบทเรียนสอนการใช้งาน ประมวลปัญหาการใช้งานเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ผลิตหรือฝ่ายพัฒนาระบบ คุณสมบัติ บุคลากร ต้องมีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์สารสนเทศต่างๆ เพื่อกำหนดกฎทั่วไปหรือได้บทสรุป สามารถเชื่อมโยงพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุการณ์ต่างๆไม่เกี่ยวเนื่องกัน สื่อสารโดยคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เงินเดือน อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ไม่มี ประสบการณ์ จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณดังนี้ ประเภทองค์กร เงินเดือน ราชการ 5,000-8,000 บาท เอกชน 10,000-12,000 บาท การเติบโต ทางสายงาน วิชาชีพ เริ่มต้นตั้งแต่ เจ้าหน้าที่สนับสนุน เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจนถึงตำแหน่งหน้าที่การงานสุดท้ายในสายงาน เช่น ผู้จัดการสายงาน คุณธรรมและ จรรยาบรรณ ต้องซื่อสัตย์กับตนเองและต้องมีจริยธรรม ต้องอาศัยความมุ่งมานะเมื่อผจญกับปัญหาที่ยากลำบาก และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นและต้องมีใจบริการ
Thank You !