การสร้างตาราง (Table) ผศ.ดร.ปริศนา มัชฌิมา
ตาราง (Table) คือ องค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ต้องสร้างขึ้นเป็นอันดับแรก เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูล โดยในการสร้างตารางนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งเราสามารถจัดการกับข้อมูลในตารางเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้นได้ เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การกรองข้อมูล และการค้นหาข้อมูลเป็นต้น
มุมมองของตาราง มุมมอง Design ใช้ในการออกแบบ และแก้ไขโครงสร้างของตาราง เช่น เพิ่มลบเขตข้อมูล(field) แก้ไขชื่อเขตข้อมูล กำหนดชนิดข้อมูล กำหนดคีย์ กำหนดคุณสมบัติต่างๆของเขตข้อมูล(Properties) เป็นต้น มุมมอง Datasheet ใช้ในการป้อนข้อมูล หรือแสดงข้อมูลที่เก็บไว้ในตาราง โดยแสดงในรูปของตาราง ในมุมมองนี้สามารถเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเรคอร์ดได้ มุมมอง PivotTable ใช้วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลในตารางโดยแสดงในรูปของตารางแจกแจงรายละเอียดข้อมูลและสรุปผลข้อมูล มุมมอง PivotChart ใช้วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลในตารางโดยแสดงในรูปของแผนภูมิหรือ Chart
ส่วนประกอบของตาราง ไอเท็ม (Item)คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในแต่ละเซลล์ของตาราง ฟิล์ด (Field)คือข้อมูลในแนวคอลัมน์ (แนวตั้ง) เรคอร์ด (Record)คือข้อมูลในแต่ละแถวของตาราง ตาราง (Table)คือส่วนของตารางทั้งหมดที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งถ้านำหลายๆตารางมารวมกันทั้งหมด จะเรียกว่า ฐานข้อมูล หรือ Database
ส่วนประกอบของตาราง
การสร้างตาราง
การสร้างตาราง
การตั้งชื่อ field ชื่อ field ต้องไม่ยาวเกิน 64 ตัวอักษร รวมทั้งช่องว่างด้วย ห้ามตั้งชื่อ field ซ้ำกัน สามารถใช้ตัวอักษร ตัวเลข ช่องว่าง ในการตั้งชื่อ field ได้ ห้ามใช้เครื่องหมาย จุด (.) อัศเจรีย์(!) และก้ามปู([ ]) ในการตั้งชื่อ field ห้ามเริ่มชื่อ field ด้วยช่องว่าง
ชนิดข้อมูล Text ข้อความที่ประกอบไปด้วยตัวอักขระที่อาจเป็นตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง หรือตัวเลขประกอบกัน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขอย่างเดียวจะต้องเป็นตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รหัสนักศึกษา เบอร์โทรศัพท์ บ้านเลขที่ และรหัสไปรษณีย์ เป็นต้น โดยสามารถบรรจุข้อมูลได้สูงสุดจำนวน 255 ตัวอักขระ Memo ข้อความที่เป็นตัวอักขระที่มีความยาวมากๆ และมากกว่า 255 ตัวอักขระ แต่ไม่เกิน 65,535 ตัวอักษร ส่วนมากใช้ในการเก็บข้อมูลและรายละเอียดที่มีความยาวของข้อมูลมากๆ นั่นเอง Number ข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนสินค้า และจำนวนหน่วยกิต เป็นต้น
ชนิดข้อมูล 4) Date/Time ข้อมูลที่เป็นวันที่และเวลา 5) Currency ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ใช้ในการคำนวณข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน เช่น ราคาสินค้า ค่าหน่วยกิต เงินเดือน รายรับ และรายจ่าย เป็นต้น 6) Auto Number เป็นตัวเลขจำนวนเต็มแบบลำดับที่ ซึ่งโปรแกรมจะกำหนดค่าให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการเพิ่มเรคอร์ดใหม่เข้ามาในตาราง 7) Yes/No เป็นข้อมูลทางตรรกะ ซึ่งมีสถานะเป็นจริงหรือเท็จ เช่น True/False, Yes/No, หรือ On/Off และจะเป็นค่าว่างไม่ได้
ชนิดข้อมูล 8) OLE Object ข้อมูลที่เป็นการเชื่อมโยงหรือนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ มาเก็บไว้ เช่น รูปภาพ ตาราง กราฟ และเสียง เป็นต้น OLE ย่อมาจาก Object Linking and Embedding เป็นเทคนิคของการประยุกต์ใช้งานบนวินโดว์ส ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น สามารถนำรูปภาพจากโปรแกรมPhotoShopมาใช้ในMicrosoft Wordได้ เป็นต้น
ชนิดข้อมูล 9) Hyperlink เป็นข้อมูลหรือแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงไปยังข้อมูลอื่นๆ หรือระบุการเชื่อมโยงในแบบของเว็บเพจ ซึ่งแสดงด้วย URL (Uniform Resource Locator) โดยการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไฟล์ฐานข้อมูลของโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสเอง หรือไฟล์ของโปรแกรมอื่นที่อยู่ในเครื่องเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตได้
ชนิดข้อมูล 10) Attachment เหมือนไฟล์แนบในอีเมล เป็นไฟล์ชนิดใดก็ได้ เช่น Word, Excel 11) Calculated ผลของการคำนวณจากfieldอื่นในตาราง Lookup Wizard … ที่แสดงในเมนู Data Type นั้น ไม่ใช่ชนิดข้อมูลแต่เป็นเครื่องมือช่วยป้อนข้อมูลและนำเข้าข้อมูลจาก Table อื่นๆ ของฐานข้อมูล
คุณสมบัติของ field ...ติดตามตอนต่อไป...
ทดลองสร้างตาราง