บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) “เสน่ห์ของบ้าน … ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ”
ภายใต้ตราสินค้า ปริญสิริ วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย รวมทั้งการได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากผู้บริโภค ภายใต้ตราสินค้า ปริญสิริ
ลักษณะของธุรกิจหลัก ปริญสิริ ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัย ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว (Single Detached Home) บ้านแฝด (Semi Detached Home) ทาวน์เฮ้าส์และโฮมออฟฟิศ (Town House & Home Office) อาคารชุดพักอาศัย (High & Low Rise)
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
เป้าหมายขององค์กร ตั้งเป้าหมายในการขยายโครงการในอนาคตที่ยังคงเน้นการพัฒนาโครงการประเภทหมู่บ้านจัดสรร และโครงการประเภทอาคารชุดพักอาศัย ตั้งเป้าหมายการจัดซื้อที่ดินและนำมาพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ประมาณปีละ 8 – 12 โครงการ ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างการรับรู้ในตราสินค้า (Brand Awareness) ที่เป็น Corporate Brand ในชื่อ ปริญสิริ และ Product Brand ในชื่อ สิริทาวารา, ปริญญดา, ปริญลักษณ์, ปริญญดา ไลท์, ปริญลักษณ์ ไลท์, เดอะพัลซ์, เดอะ คอมพลีทและสมาร์ทคอนโด
กลยุทธ์ขององค์กร ใช้กลยุทธ์การมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ (Differentiation-base Focus) ใช้กลยุทธการนำธรรมชาติมาใส่ในตัวผลิตภัณฑ์ภายใต้สโลแกน “เสน่ห์ของบ้าน...ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ” ใช้กลยุทธในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับราคาตลาด และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ ใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาดมาใช้แข่งขันกับคู่แข่งขัน เพื่อสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้าของบริษัท (Brand Awareness) เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และเตือนความทรงจำในสินค้า ใช้กลยุทธควบคุมต้นทุน โดยปริญสิริ ถือหุ้น 99.99% ในบริษัท โกร โยธากรุ๊ป จำกัด ที่ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของบริษัทในการควบคุมต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างสำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท ใช้กลยุทธการบริการหลังการขายเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
โครงสร้างขององค์กร
SWOT analysis Strengths Weaknesses มีตราสินค้าแข่งแกร่งและเป็นที่ยอมรับในตลาด มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือก มีทีมงานที่มีความสามารถ มีการจัดการองค์กรที่ดี Weaknesses ไม่มีสถาบันการเงินเป็นของตนเอง มีผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 75% ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายยากต่อการบริหารจัดการ
SWOT analysis (cont) Opportunities Threats ความต้องการของตลาดมีมากสามารถขยายโครงการได้มาก ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถซื้อบ้านได้ บ้านเป็นปัจจัย 4 ที่มีผู้ที่ต้องการเสมอ Threats ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาวัสดุก่อสร้างที่ไม่คงที่ ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย สถานะการทางการเมืองใม่นิ่ง ราคาที่ดินที่สูงขึ้นตลอดเวลา คู่แข่งขันมากราย
BCG matrix High Growth Rate Low high Low Market Share
รายได้หลักขององค์กร รายได้หลักของ ปริญสิริ มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัย ประมาณ 96% ของรายได้รวม ในปี 48 ปี 48 ถึงปี 50 ปริญสิริ และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เท่ากับ 2,241 ล้านบาท, 2,863 ล้านบาท และ 2,524 ล้านบาตามลำดับ ปี 49 ปริญสิริ มีรายได้เพิ่มขึ้น 28% จากปี 48 และปี 50 ลดลง 12% จากปี 49 ตามลำดับ โดยรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ในปี 49 เพิ่มขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาคที่อยู่อาศัย มีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ผลกระทบที่ทำให้กำไรลดลง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามสภาวะตลาดโลก ราคาวัสดุและค่าขนส่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ปริญสิริ มีโครงสร้างการจัดการที่ดี มีประสพการณ์ 8 ปี มีเงินทุนที่มั่นคง มีผลิตภํณฑ์หลากหลาย ราคาหลายระดับ ครอบคลุมทั้งตลาดบน กลางและล่าง เป็นองค์กรขนาดกลาง มีความคล่องตัวสูง สามารถเติบโตได้ดีในอนาคต แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีการบริหารจัดการที่ดี ก่อตั้งมานานกว่า 20 ปี มีสถาบันการเงินเป็นของตนเอง มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ราคาสูง จับกลุ่มตลาดบนและกลาง เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีความคล่องตัวต่ำ เริ่มอิ่มตัวเติบโตช้า
มาตรฐานในการกำกับและควบคุมกิจการ มีคณะกรรมการ (Board of Director) กำกับดูแลงานนโยบาย มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานจากทั้งภายในและภายนอก มีการแบ่งสายงานความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มี Scalar Chain ที่เหมาะสม
สรุปประเด็นสำคัญและปัญหา การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น ปริญสิริ จึงต้องจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัญหาดังต่อไปนี้ ปัญหา ปัญหาจากการผันผวนของราคาค่าก่อสร้าง ปัญหาความเสี่ยงจากการสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย ปัญหาจากราคาที่ดิน เนื่องจากไม่ได้ซื้อตุนไว้เป็นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เกิดภาระทางการเงิน ปัญหาความเสี่ยงจากการที่บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่า 75% ปัญหาจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แนวทางป้องกันและแก้ไข จัดตั้งบริษัทลูกเข้ามาดูแลการก่อสร้าง ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและวางแผนการขายให้เป็นแนวทางเดียวกัน วางแผนการซื้อให้สอดคล้องกับความต้องการ จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบให้รัดกุม วางแผนการเงินให้ถูกต้องและตอบรับตามความต้องการ
ทฤษฎีที่ต้องนำมาใช้ในการดำเนินงาน ต้องนำทฤษฎีการจัดการองค์กรมาใช้คือ การวางแผน : Planning การจัดองค์กร : Organizing การนำ : Leading การควบคุม : Controlling