เทคนิคเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดย เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 25-26 พ.ค. 53
เหตุผลการแสวงหาความรู้ Rational of Acquiring Knowledge มนุษย์ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ความรู้และความจริงที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มนุษย์มักมีปัญหาตลอดเวลา เพราะมีประสบการณ์ใหม่ๆ - ไม่ตอบสนองความต้องการ - ไม่สามารถอธิบายหรือบอกสิ่งที่ต้องการรู้ การสังเกตุสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มนุษย์มีความอยากรู้ อยากเห็นและต้องการใหม่เสมอ
ระดับความรู้ของมนุษย์ Level of Knowledge Wisdom ปัญญา ประมวลทฤษฎี & ประสบการณ์ Law/Theory/ Concept กฎ/ทฤษฎี/แนวคิด สรุป / สังเคราะห์ / วิจัย ความรู้ Knowledge วิเคราะห์ / สังเคราะห์ / วิจัย Information ข่าวสาร จัดระบบ / ประมวล ข้อมูลดิบ Raw Data ข้อมูลเก็บรวบรวม
ลักษณะของศาสตร์ Sciences ศาสตร์ :“ วิธีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวัตถุวิสัย ” วิธีการวิเคราะห์ - เป็นระบบ (Systematic) - เป็นเหตุเป็นผล (Logical) - เป็นวัตถุวิสัย (Objective) จุดประสงค์ศาสตร์ - บรรยาย (Descriptive) - อธิบาย (Explanatory) - ทำนาย (Predictive) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น/สังเกต เพื่อ ระบบวิชาความรู้ /องค์ความรู้ - Content - Method
วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge การไต่ถามผู้รู้ (Authority) - ผู้เชี่ยวชาญ (Scholar) - ผู้ชำนาญการ (Expert) การใช้ประสบการณ์ (Experience) อาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมา และรวบรวมมาใช้ใน แก้ปัญหาหรือการลองผิด/ลองถูก (Trial and Error) สรุปเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่
วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge การอนุมาน (Deductive Method/ Syllogism/ Deductive Logic/ Inside-out Method) Aristotle นำวิธีการมาค้นหาความรู้/ข้อเท็จจริง โดยใช้ เหตุผล ด้วยการอ้างข้อเท็จจริงที่พบแล้วมาสรุปเป็นข้อเท็จ จริงใหม่ /ความรู้ใหม่ ข้อบกพร่อง : - ข้อสรุป/ข้อเท็จจริงที่ได้อาจไม่เป็นความจริง/สรุปได้ไม่ชัดเจน - ข้อสรุปหรือข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ใช่ความรู้ใหม่
วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge การอุปมาน (Inductive Method) Francis Bacon เสนอการค้นคว้าหาความรู้ใหม่/ ข้อเท็จจริงใหม่ในลักษณะเก็บรวบรวมข้อมูล/ข้อเท็จจริง ย่อยๆ จำแนกประเภทตามลักษณะ หาความสัมพันธ์ แปล ความหมายและสรุป : - การอุปมานแบบสมบูรณ์ (Perfect Inductive Method) เก็บรวมรวมข้อเท็จจริงย่อยครบทุกหน่วยประชากร - การอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect Inductive Method) เก็บรวมรวมข้อเท็จจริงย่อยจากตัวอย่างบางส่วนประชากร
วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) Charles Darwin เป็นผู้นำค้นคว้าวิธีการมาใช้ศึกษาหา ข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ โดยอาศัยใช้วิธีการ : - Deductive Method - Inductive Method
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ Scientific Method การตรวจสอบและนิยามปัญหา Identification and Definition of the Problem การตั้งสมมติฐาน Formulation of Hypothesis การรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบและการวิเคราะห์ข้อมูล Collection Organization and Analysis of Data การสรุป Formulation of Conclusion การยืนยัน ปฏิเสธ หรือปรับสมมติฐาน Verification Rejection or Modification of Hypothesis
แบบการสร้างทฤษฎีแห่งศาสตร์ INDUCTIVE LOGIC EMPIRICAL BASED ทฤษฎี (Theories) DEDUCTIVE LOGIC Deductive Theory Building THEORY BASED Functional Theory Building การสรุปจากข้อเท็จจริง (Empirical generalization) สมมติฐาน (Hypothesis) Inductive Theory building Model based Theory Building การสังเกต (Observation)
วงจรการวิจัย -1 The Research Wheel ความคิด (idea) การเผยแพร่ การกลั่นกรองและคำถามใหม่ (Refinement and new question) ความคิด (idea) เอกสาร (Literature) การเผยแพร่ (Dissemination) ทฤษฎี (theory) การอนุมาน (Deduction) ผลและข้อค้นพบ (Results and findings) สมมติฐาน (Hypothesis) นิยามและการวัด (Operational definition and measurement) การจัดการข้อมูล (Data organization) แบบแผนการวิจัย (Research design) การเก็บข้อมูล (Data collection)
(ทฤษฎี,เอกสารที่เกี่ยวข้อง) การสังเกตข้อเท็จจริง วงจรการวิจัย -2 The Research Wheel กรอบแนวคิด (ทฤษฎี,เอกสารที่เกี่ยวข้อง) สิ่งที่เป็นข้อเสนอ คำถามในการวิจัย สมมุติฐาน การสังเกตข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล Deduction (อนุมาน) Induction (อุปมาน)
ความหมายการวิจัยทั่วไป “Research” การวิจัย การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งมั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนาย และอธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) กำหนดให้ความหมายการวิจัยว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม”
ความหมายการวิจัยทั่วไป พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่าง ระมัดระวัง อดทน เป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อให้ได้ มาซึ่งข้อเท็จจริง และกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง
ความหมายการวิจัยทั่วไป บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมายการวิจัยว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ อย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้าให้ได้มาทั้ง ข้อเท็จและข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุน และข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่าง หนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน = วัตถุประสงค์ชัดเจน
ความหมายการวิจัยทั่วไป สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา โดยที่มี… - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความเกี่ยวโยง ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
ความหมายการวิจัยทั่วไป ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี 1961 ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon
ลักษณะของงานวิจัยที่ดี : มาตรฐานที่ดีถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดและอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง - มีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของผู้ทำวิจัย - การค้นคว้าถูกแสดงอย่างไม่คลุมเครือ - บทสรุปที่พิสูจน์ว่าถูกต้อง - สะท้อนประสบการณ์ของการวิจัย
ลักษณะของงานวิจัยที่ดี : มาตรฐานที่ดีถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดและอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง
ลำดับขั้นตอนการวิจัย (The Research Sequence) ระบุสาขาหัวข้อกว้างๆ (identify boardarea) เลือกหัวเรื่องที่จะทำ (select topic) ตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ (decide approach) กำหนดแผนการวิจัย (formulate plan) เก็บรวบรวมข้อมูล (collect information) วิเคราะห์ข้อมูล (analyze data) เสนอผลการวิจัยที่ค้นพบ (present findings)
ขั้นตอนสำคัญทางปฏิบัติของการวิจัย 1. การตั้งคำถามหรือปัญหาของการวิจัย 2. การทบทวนวรรณกรรม 3. การกำหนดแบบของการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การจัดกระทำกับข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล และ 7. รายงานผลการวิเคราะห์
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย = Research Design 1) การพิจารณาตัวแปรการวิจัย 1.1) การกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่ต้องการศึกษา 1.2) การพิจารณาตัวแปรแทรกซ้อน - ความแตกต่างภูมิหลัง - การพัฒนา/เปลี่ยนแปลง - สิ่งอื่น วิธีอื่นและสถานที่อื่นที่ส่งผลถึง 2) การกำหนดแหล่งข้อมูล 2.1) ใคร/อะไรเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2.2) ต้องใช้กี่กลุ่ม มี Control group หรือไม่ 2.3) ควรมีจำนวนเท่าไร ใช้วิธีเลือกแบบใด จึงจะเป็นตัวแทน
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย = Research Design 3) การกำหนดวิธีรวบรวมข้อมูลการวิจัย 3.1) การดำเนินการสำรวจ/การทดลองอย่างไร 3.2) การใช้เทคนิค เครื่องมืออะไร –กี่ชนิด กี่อย่าง 3.3) การสร้างอย่างไร รวบรวมมากน้อยเพียงใด 3.4) การตรวจสอบคุณภาพอะไร โดยวิธีการใด - ใช้ Expert judgment - ใช้ try-out 4) การดำเนินการรวบรวมข้อมูล 4.1) ใครดำเนินการ โดยวิธีการใด 4.2) รวบรวมกี่ครั้ง ระยะเวลาใด 4.3) จะได้รับความร่วมมือหรือไม่ วางแผนแก้ปัญหาอย่างไร 4.4) รวบรวมข้อมูลอย่างไร จึงถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาและถูกสถานการณ์
การกำหนดยุทธวิธีการวิจัย = Research Design 5) การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย 5.1) การมาตรวัดตัวแปร : 4 ระดับ 5.2) การเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ : ค่าเฉลี่ย : สัดส่วน 5.3) การต้องตอบวัตถุประสงค์วิจัย 5.4) การตอบต้องหาลักษณะหรือค่าใดจากข้อมูล
หลักการเขียนข้อเสนอและรายงานวิจัย 1. ความชัดเจน (Clarity) : การเขียนต้องแจ่มชัด ไม่คลุมเครือ กำกวม สามารถอธิบายแนวคิด กระบวนการเป็นตามลำดับขั้นตอน ความเหมาะสมอย่างสมเหตุสมผลและเข้าใจง่าย 2. ความกะทัดรัด (Conciseness) : การเขียนใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด ตรงจุด (Precise) ไม่ขยายความจนวกวน/ซ้ำซาก 3. ความสมบูรณ์ (Completeness) : เสนอสาระสำคัญของงานวิจัย อย่างครบถ้วนตั้งแต่แนวคิด เป้าหมาย วิธีการ จนถึงผล/ข้อสรุปต่างๆ 4. ความถูกต้อง (Accuracy) : การเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่บิด เบือนจากความเป็นจริงที่ศึกษา/ค้นพบ หลีกเลี่ยงการเสนอแนวคิด นอกเหนือขอบเขตการวิจัย ไม่ควรจะรีบด่วนสรุป (Jump Conclusion) ความซื่อตรง (Honesty) : การเสนอต้องไม่ปิดบังข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้น ไม่แก้ไข/เปลี่ยนข้อมูล ไม่เปลี่ยนแปลงสมมติฐาน ตามผล ไม่ลำเอียงส่วนตัวหรือลอกผลงานผู้อื่นแต่ไม่อ้างอิง
การเขียนโครงร่างวิจัย หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่องวิจัย (Research Topic) 2. คำสำคัญ (Key Words)* 3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the Problem) 4. คำถามจากการวิจัย (Research Question)* 5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective)
หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย 6. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) 7. ขอบเขตการวิจัย (Scope of the study) 8. ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation of the Study) 9. ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic Assumption) 10. คำนิยามศัพท์หรือคำจำกัดความในการวิจัย (Definition of Terms)
หัวข้อของโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย 11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Significance of the Finding) 12. กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Research Framework) 13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 14. รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference and Bibliography) 15. รายละเอียดงบประมาณและแผนการดำเนินงานวิจัย
หลักการเขียนโครงร่างวิจัย 1. ชื่อเรื่องวิจัย (Research Topic) ตรงความต้องการ ชัดเจน และกะทัดรัด ครอบคลุมประเด็นปัญหาและสาระที่จะทำวิจัย ตั้งให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ เป็นเรื่องที่วิจัยได้ ควรค่าต่อการหาคำตอบ นำเอา keywords มาประกอบเป็นชื่อเรื่อง
2. คำสำคัญ (Key Words) ควรเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องวิจัย โดยเฉพาะ ตัวแปรที่ศึกษา และนำเสนอให้ครบทุกตัวแปร อาจเขียนคำสำคัญเพื่อบอกให้ทราบถึงประชากรของงานวิจัย
3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the Problem) ความสำคัญ คุณค่าและประโยชน์การวิจัยครั้งนี้ เคยมีการศึกษามาแล้วอย่างไรบ้าง การศึกษาครั้งนี้จะเพิ่มคุณค่าต่องานด้านนี้ หลักเกณฑ์เขียนความเป็นมาและความสำคัญปัญหาการวิจัย เขียนตรงประเด็น เน้นประเด็นปัญหา ไม่ยืดเยื้อ ครอบคลุมประเด็นสำคัญที่จะศึกษาทุกประเด็น สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัย ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป (3-5 หน้า) ข้อมูลและอ้างอิงถูกต้องทันสมัย ใช้ภาษาง่าย ๆ จัดลำดับประเด็นที่เสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ส่วนสุดท้ายสรุปเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัยที่จะศึกษา
4. คำถามจากการวิจัย (Research Question) เป็นประโยคคำถามทำให้แน่ใจว่าต้องการจะศึกษาเรื่องอะไร บางปัญหาไม่จำเป็นต้องทำวิจัย เพราะมีคำตอบด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ การทำวิจัยควรมีคำถามหลัก (Primary research question) ที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุดและต้องการคำตอบมากที่สุด คำถามหลักต้องเลือกด้วยความระมัดระวัง และให้นิยามอย่างชัดเจน เพราะการกำหนดขนาดตัวอย่าง (Sample size) ของการศึกษาขึ้นกับคำถามหลักนี้
4. คำถามจากการวิจัย (Research Question) การวิจัยอาจจะตั้งคำถามรอง (Secondary research questions) จำนวนหนึ่งได้ แต่ไม่ควรจะมีมากเกินไป คำถามรองเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา ประเด็นที่ต้องคำนึงคือ ผลการวิจัยอาจจะตอบคำถามรองทุกข้อหรือไม่ก็ได้ เพราะการคำนวณขนาดตัวอย่างไม่ได้กำหนดมาเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) เหตุผลการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการขยายรายละเอียดแนวคิดของประเด็นปัญหาของการวิจัยว่าต้องการศึกษาอะไรบ้าง เป็นเครื่องชี้แนวทางให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบ กำหนดวิธีการดำเนินงานได้ถูกต้อง ทำให้ทราบคุณลักษณะ ตัวแปรที่จะศึกษา ตลอดจนประชากรเป้าหมายการวิจัย เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้วิจัยมีแนวทางการหาคำตอบ และช่วยกำหนดทิศทางการทำวิจัย
5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) เหตุผลการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นแนวทางการกำหนดสมมติฐานการวิจัยดีขึ้นและมีความถูกต้องตามหลักสถิติ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอผลวิจัยได้ชัดเจน
5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย เขียนประเด็นให้ชัดเจนตามกรอบการวิจัย โดยเขียนให้กระชับใช้ภาษาเข้าใจง่าย เขียนเป็นรูปแบบประโยคบอกเล่าหรือประโยคการเปรียบเทียบ หรือประโยคความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัยดีกว่าเขียนเป็นรูปแบบประโยคคำถาม วัตถุประสงค์ข้อเดียวควรมีประเด็นการศึกษาเพียงประเด็นเดียว
5. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์ทุกข้อที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ คือ สามารถเก็บข้อมูล วัดได้ และวิเคราะห์ได้ทั้งหมด ไม่ควรนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการวิจัยมาเขียนเป็นวัตถุประสงค์การวิจัย
6. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) สมมติฐานที่ดีควรสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย สามารถทดสอบอย่างถูกต้องตามหลักทฤษฎี โดยต้องระบุความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปรหรือมากกว่า และเขียนด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน งานวิจัยเชิงปริมาณจะนิยมกำหนดสมมติฐานที่ทดสอบเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพบางงานไม่สามารถระบุสมมติฐานเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน
7. ขอบเขตการวิจัย (Scope of the study) งานวิจัยควรกำหนดขอบเขตการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัยที่ตั้งไว้ เป็นการกำหนดลักษณะประชากร กลุ่มตัวอย่าง ชนิดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และกำหนดขอบเขตการศึกษาที่ระบุถึงตัวแปรการวิจัย - เป็นกรอบของกลุ่มประชากรและตัวแปรในการศึกษา - เป็นการระบุกรอบเชิงพื้นที่ที่ใช้ศึกษาและกรอบเนื้อหา ตัวแปรต่างๆ
8. ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation of the Study) ข้อจำกัดที่เป็นเหตุทำให้ผู้วิจัยไม่ดำเนินการวิจัยให้ครอบคลุมในทุกแง่มุมตามที่ควรดำเนินการ ข้อจำกัดที่มีเหตุผลเชิงวิชาการและยอมรับได้ ไม่ใช่ ข้อจำกัดที่มาจากผู้วิจัย เช่น ไม่มีเวลา ขาดความรู้กระบวนการวิจัย หรือปัญหาสุขภาพ
9. ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic Assumption) รายละเอียดที่ผู้วิจัยต้องยึดในการทำวิจัยเรื่องนั้น เพราะอาจทำให้ผลของการวิจัยแตกต่างกัน แต่ไม่ใช่เป็นข้อบกพร่องของการวิจัย การระบุกรอบของการทำวิจัยภายใต้เงื่อนไขของปัจจัยบางอย่างที่ทำให้งานวิจัยไม่สามารถให้ผลสมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น การวิจัยแต่ละเรื่องหากผู้วิจัยควบคุมตัวแปรและสถานการณ์ไม่ได้ จำเป็นต้องเขียนข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัย
10. คำนิยามศัพท์หรือคำจำกัดความในการวิจัย (Definition of terms) ควรนิยามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยทุกตัว จะเป็นการ ให้คำนิยามเชิงสามัญ หรือเชิงปฏิบัติการที่ใช้ใน การวิจัยเรื่องนั้นๆ เนื่องจากศัพท์บางคำอาจจะมี ความหมายหลายประการ การนิยามเชิงปฏิบัติการต้องไม่ขัดกับแนวคิด ทฤษฏี และมีความหมายที่แน่นอนชัดเจนและวัด ได้อย่างเดียวกันไม่ว่าใครวัด คำนิยามเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับผู้วิจัย
วัตถุประสงค์การให้คำนิยามศัพท์ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในความหมายและตัวแปร ที่ใช้ในการศึกษาตลอดการวิจัย เพื่อสามารถนำไปสู่การสร้างเครื่องมือและกำหนด วิธีการวัดตัวแปรอย่างถูกต้องเหมาะสม
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Significance of the Finding) ผลการวิจัยที่ค้นพบนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ผลการวิจัยที่ค้นพบนำไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มใด/หน่วยงานใด/พื้นที่ใด ผลการวิจัยที่ค้นพบสามารถไปใช้แก้ปัญหาใด
12. กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Research Framework) แนวคิดของผู้วิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่ใช้ศึกษาใน การวิจัยครั้งนั้น ๆ แหล่งมาจากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฏี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาเขียนเป็นแผนภาพ สมการ และการบรรยาย เชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย
ประโยชน์ของกรอบความคิดในการวิจัย ช่วยชี้ทิศทางการวิจัย ประเภทและความสัมพันธ์ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ช่วยชี้แนวทางในการออกแบบการวิจัย การเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย ช่วยชี้แนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย ช่วยชี้แนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยชี้แนวทางกรอบการแปลผลและการอภิปรายผลการวิจัย
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) หัวข้อวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 13.3 การดำเนินงานทดลอง 13.4 การรวบรวมข้อมูล 13.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร เขียนบรรยายลักษณะประชากรของงานวิจัยว่าเป็น กลุ่มใด มีจำนวนเท่าใด กลุ่มตัวอย่าง ระบุขนาดตัวอย่างและวิธีคำนวณขนาดตัวอย่าง แบบแผนการวิจัยที่จำเป็นต้องใช้วิธีการสุมตัวอย่าง ให้ระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ระบุประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือแต่ละชุดเป็นเครื่องมือที่บุคคลใดพัฒนาขึ้นหรือ เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างเอง ผู้วิจัยมีวิธีการสร้างอย่างไร ลักษณะเครื่องมือเป็นอย่างไร เกณฑ์การให้คะแนนเครื่องมือ วิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยเฉพาะคุณภาพความ ตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และคุณภาพความ เที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใด จำนวนเท่าไรและ ผลการวัดความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 13.3 การดำเนินการทดลอง งานวิจัยที่ใช้แบบแผนการวิจัยแบบทดลองหรือแบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองให้ระบุ : - ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง - ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน - ระบุวิธีการกำกับการทดลอง - วิธีควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 13.4 การรวบรวมข้อมูล - ระบุขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง - วิธีการเก็บข้อมูล - ลักษณะการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
13. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 13.5 การวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยเชิงปริมาณให้ระบุสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ควร เขียนระบุเป็นข้อๆ เรียงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การ วิจัย งานวิจัยเชิงคุณภาพให้ระบุวิธีวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจน
14. รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference and Bibliography) รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง/บรรณานุกรมหนังสือ วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ รวมถึงคำสัมภาษณ์ที่มาใช้ ประกอบการวิจัยมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบแวนคูเวอร์ และ APA Formatted References เป็นต้น การเขียนรายการอ้างอิง/บรรณานุกรมในงานวิจัยให้ ยึดตามรูปแบบที่กำหนดโดยหน่วยงานนั้นๆ
15. รายละเอียดงบประมาณ ระบุรายการการใช้จ่ายตลอดโครงการ จำแนก ตามหมวดหมู่ ได้แก่ - หมวดค่าตอบแทน - หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าวัสดุ - หมวดครุภัณฑ์และหมวดอื่นๆ
ตัวอย่างการเขียนงบประมาณ งบประมาณการวิจัย - หมวดค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนที่ปรึกษาโครงการ ค่า ตอบแทนผู้วิจัยหลัก ค่าตอบแทนผู้ร่วมวิจัย ค่าตอบแทนผู้นำชุมชน และแกนนำ เป็นต้น - หมวดค่าใช้สอย เช่น ค่ายานพาหนะและที่พัก ค่าวิเคราะห์ข้อมูล ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและรายงานผลการวิจัย ค่า จัดทำสื่อ ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน เป็นต้น - หมวดค่าวัสดุ เช่น ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นต้น - หมวดครุภัณฑ์ เช่น ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ เป็นต้น - อื่นๆ เช่น เบ็ดเตล็ด
16. แผนการดำเนินการวิจัย เขียนระบุเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
แหล่งทุนสำคัญ - สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) www.nrct.net - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) www.trf.or.th - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) www.nstda.or.th - หน่วยงานอื่นๆ
หลักการประเมินข้อเสนอการวิจัยทั่วไป การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/แผนงานวิจัย (10) 2) คุณค่าทางปัญญา (60) 2.1) ปัจจัยการวิจัย (input) : ความสำคัญหัวข้อวิจัย ความชัดเจนของ วัตถุประสงค์ ความพร้อมของคณะผู้ทำวิจัย การตรวจเอกสารและ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แผนการดำเนินงาน ความเหมาะสมของ งบประมาณ 2.2) กระบวนการวิจัย (process) : วิธีวิจัยและกลยุทธ์การเชื่อมโยงขั้นตอน การวิจัย แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย 2.3) ผลผลิตการวิจัย (output) : ผลสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับก่อให้เกิดมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจ การสร้างคุณค่าเพิ่มทางสังคมและวัฒนธรรม 3) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) : ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่จะ ทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ (30)
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 1. หัวข้อโครงการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ความชัดเจนและกะทัดรัด 2) สามารถระบุสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือประดิษฐ์และพัฒนา 3) ชี้ให้เห็นแนวทางการวิจัยหรือประเภทการวิจัย 4) ครอบคลุมประเด็นปัญหาหรือสาระที่จะทำการวิจัย 5) สนองตอบต่อความต้องการของหน่วยงาน หรือแหล่งทุน
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย ประกอบด้วย : 1) นำเสนอชี้ประเด็นปัญหาได้อย่างชัดเจน 2) ความสอดคล้องกับชื่อหัวข้อโครงการวิจัย 3) ชี้ความจำเป็น/ความสำคัญในการศึกษาวิจัย 4) ความเป็นเหตุเป็นผลของการอธิบาย 5) หลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันตามข้อเท็จจริง
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 3. วัตถุประสงค์การวิจัย ประกอบด้วย : 1) ความชัดเจนที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องการทราบจากการศึกษา 2) ความสอดคล้องตรงกับประเด็นปัญหา 3) ความ SMART S : SENSIBLE = เหมาสม สำคัญ จำเป็น M : MEASURABLE = วัดได้ ตรวจสอบได้ A : ATTAINABLE = สามารถทำได้ R : REASONABLE = สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย T : TIME = มีระยะเวลาสิ้นสุด
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย : 1) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับควรเป็นไปได้จริง 2) ความคุ้มค่า/พอเพียงในการทำวิจัย 3) ประโยชน์อยู่ในกรอบของวัตถุประสงค์การวิจัย
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 5. ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ระบุขอบข่ายประเด็นที่มุ่งเน้น : ตัวแปร 2) ระบุขอบเขตเชิงพื้นที่/ประชากรที่ต้องการศึกษา/กลุ่มเป้าหมาย 3) ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย 4) การระบุเป้าหมายการขยายผลใช้ประโยชน์
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 6. แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย : 1) ระบุแหล่งที่น่าเชื่อถือ และอ้างอิงถูกต้อง 2) ความเหมาะสม ทันสมัย 3) พอเพียงที่ใช้เป็นแนวคิดการวิจัยและกรอบการวิจัย
9 การประเมินวรรณกรรม ระดับความเกี่ยวข้อง 1. เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องหรือปัญหาในการวิจัย เพื่อใช้ในการเขียนภูมิหลัง ความสำคัญและที่มาของปัญหาได้ชัดเจน 2. เกี่ยวข้องกับสมมติฐานเพื่อจะได้มีเหตุผลว่าทำไมกำหนดสมมติฐานเช่น เน้นวรรณกรรมที่คัดเลือกมาควรจะเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนสมมติฐาน 3. เกี่ยวข้องกับตัวแปร เพื่อจะได้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย 4. เกี่ยวข้องกับการอภิปรายผล เพื่อนำมาสนับสนุน/โต้แย้ง ผลการวิจัยที่ได้ /เปรียบเทียบกับผลงานวิจัยในอดีต 9 65
10 การประเมินวรรณกรรม ระดับความครอบคลุม การเลือกวรรณกรรมที่สามารถนำมาอ้างอิง สนับสนุน/ โต้แย้งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ให้มากที่สุดตั้งแต่ภูมิหลังความ เป็นมา กรอบแนวคิด สมมติฐาน ขอบเขต ตัวแปร และการ อภิปรายผลการวิจัย ถ้าเลือกวรรณกรรมที่ครอบคลุมน้อยจะต้องใช้วรรณกรรม เป็นจำนวนมากเกินไปในการศึกษาวิจัย 10 66
11 การประเมินวรรณกรรม ระดับความน่าเชื่อถือ 1. ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา จะต้องสามารถสืบค้นได้ถึงเจ้าของผลงานเดิม 2. ความน่าเชื่อถือของประเภทวรรณกรรมปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ 3. ความน่าเชื่อถือของเจ้าของวรรณกรรม คุณวุฒิ ความถนัด ความชำนาญของเจ้าของวรรณกรรม 4. ความน่าเชื่อถือในสำนักพิมพ์ McGraw-Hill ,Adison Wesly,. Prentice-Hall, Dryden Press 5. ความทันสมัยของวรรณกรรม ปี พ.ศ. 11 67
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 7. สมมติฐาน (ถ้ามี) ประกอบด้วย : 1) ความชัดเจนที่สามารถระบุผลที่คาดหวัง 2) สอดคล้องและครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย 3) ความสมเหตุสมผล/มีแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและผลงานวิจัยรองรับ 4) สามารถพิสูจน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 8. ข้อจำกัดการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ระบุสิ่งที่ไม่ได้พิจารณาถึง พร้อมเหตุผลชัดเจน 2) ระบุสิ่งที่เป็นข้อจำกัดในการวิจัยและเหตุผลชัดเจน 3) ความสมเหตุสมผล/มีแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและผลงานวิจัยรองรับ 4) ข้อจำกัดทางวิชาการ/เทคนิค ไม่ได้เป็นมาจากนักวิจัย
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย Refer To ไม่ใช่ Meaning 9. นิยามศัพท์ ประกอบด้วย : 1) ความครบถ้วนและชัดเจนตามตัวแปร X และตัวแปร Y 2) ต้องสามารถช่วยให้เห็นแนวทางหรือลักษณะของข้อมูล 3) ทำให้ผู้อ่าน/ติดตามการวิจัยมีความเข้าใจตรงกับนักวิจัย Refer To ไม่ใช่ Meaning
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 10. ระเบียบวิธีการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ความชัดเจนและเป็นขั้นตอนถูกต้อง 2) ความเป็นไปได้ในการเลือกใช้เครื่องมือและถูกต้อง 3) นำเสนอรัดกุม สามารถให้ผลน่าเชื่อถือ - แบบแผนการวิจัย - การทดลอง
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 10. ระเบียบวิธีการวิจัย ประกอบด้วย : แบบแผนการวิจัย - ออกแบบตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษาวิจัย - สามารถแสดงให้เห็นผลตามที่ต้องการศึกษาวิจัย - มีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน - ความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง การทดลอง - กำหนดวางแผนเป็นขั้นตอนและรัดกุม - ความแตกต่างจากสภาพปกติ - การใช้เวลาที่เหมาะสม - สามารถตอบสมมติฐาน/ให้ข้อสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย การรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย : - ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของเครื่องมือ - ถูกต้องในช่วงเวลาและถูกสถานการณ์ - แหล่งข้อมูลต่างๆ น่าเชื่อถือ - ข้อมูลเพียงพอ
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย : - ระบุวิธีการที่ชัดเจนและตามขั้นตอน - วิธีการเหมาะสม
ประเด็นการประเมินข้อเสนอการวิจัย 11. ระยะเวลาการวิจัย ประกอบด้วย : 1) ความเหมาะสมและเป็นไปได้ทางปฏิบัติ 2) ความสอดคล้องและทันเหตุการณ์ 12. งบประมาณและค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย : 1) ภาระงานตามขั้นตอนที่กำหนดมีความจำเป็น 2) อุปกรณ์และครุภัณฑ์ที่ใช้มีความจำเป็น 3) ช่วงเวลาเหมาะสมตามความจำเป็น