สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ
16.สภาพของสารมลพิษในประเทศไทย 16.1 ความหมายของ “สารมลพิษ” หมายถึง สารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ (1)สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฉีดพ่นป้องกันโรคพืช และดีดีที กำจัดยุง เป็นต้น (2)สารพิษในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส เป็นต้น
16.สภาพของสารมลพิษในประเทศไทย 16.2 ผลกระทบของสารมลพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1)มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ และผลผลิตทางกรเกษตรต่างๆ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ (2)ถ่ายทอดไปสู่คนโดยระบบ “ห่วงโซ่อาหาร”
17.สารตะกั่ว สารมลพิษที่สำคัญในประเทศไทย 17.1สารตะกั่วเป็นสารมลพิษที่อันตรายที่สุดในประเทศไทย เพราะมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ทั่วไป เช่น ใช้สีที่มีสารตะกั่วมาประกอบอาหาร การทำเครื่องสำอาง ภาชนะพลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐาน และการบริโภคน้ำที่มีสารตะกั่วเจือปนเข้าไปโดยตรง เป็นต้น
17.สารตะกั่ว สารมลพิษที่สำคัญในประเทศไทย 17.2 ผลกระทบจากการได้รับสารตะกั่ว มีดังนี้ (1) หญิงมีครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกั่ว ส่งผลกระทบต่อเด็กทารก (2) เด็กที่อยู่ใกล้โรงงานผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว อาจส่งผลให้สติปัญญามีพัฒนาการช้าลง (3) กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว เป็นกลุ่มคนที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการรับสารพิษเป็นอย่างมาก
18.กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว 18.1 การรับสารตะกั่วเข้สู่ร่างกาย กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่วโดยตรง จะรับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการดังนี้ (1) การหายใจ โดยสูดฝุ่น ควัน และไอระเหยของสารตะกั่วเข้าไปร่างกาย (2) ทางปาก เช่น รับประทานอาหารในโรงงานที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในอากาศ (3) ทางผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ทำงานกับน้ำมันเบนชิน เช่น เด็กปั้มน้ำมัน
18.กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว 18.2 อาชีพที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารตะกั่ว มีดังนี้ (1) คนงานในเหมืองแร่ตะกั่ว ช่างบัดกรี และคนงานในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ (2) คนงานในโรงเรียนอุตสาหกรรมทำแก้ว ช่างเรียงพิมพ์ และทำกระป๋อง (3) คนงานล้างและซ่อมถังเก็บน้ำมัน คนงานทำสี และคนงานชุบโลหะ ฯลฯ
19.ความหมายของขยะและสิ่งปฏิกูล 19.1 “ขยะและสิ่งปฏิกูล” หมายถึง วัตถุใดๆ ที่ไม่มีผู้ต้องการใช้แล้ว เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร มูลสัตว์ และซากสัตว์ รวมทั้งสิ่งของวัตถุอื่นๆ ที่มีผู้นำมาทิ้ง 19.2 “สิ่งปฏิกูล” หมายถึง ของเสียที่ขับออกจากร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ และรวมถึงขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และร้านค้าต่างๆ ฯลฯ
20.สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย 20.1 การเพิ่มของจำนวนประชากร 20.2 คุณภาพของประชากร 20.3 พฤติกรรมบริโภคนิยมของผู้คนในสังคมเมือง 20.4 การเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ 20.5 การแยกชนิดและประเภทของขยะ 20.6 มีขยะที่เกิดจากวัตถุที่ย่อยสลายยากเพิ่มมากขึ้น
21.ผลกระทบของปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูล 21.1 ทำให้บ้านเมืองสกปรก 21.2 เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นภาหะนำโรค 21.3 ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
22.การคัดแยกประเภทขยะ กรุงเทพมหานครได้จัดประเภทขยะตามชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 22.1 ขยะพิษ ควรแยกออกมาจากขยะอื่นๆก่อน เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องสารเคมี กระป๋องยาฆ่าแมลง 22.2 ขยะเศษอาหาร นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ 22.3 ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ พลาสติก แก้ว เหล็ก โลหะต่างๆ
23.วิธีการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล กรุงเทพมหานครและเทศบาลต่างๆทั่วประเทศ ใช้วิธีกำจัดขยะ 3 วิธี ได้แก่ การเผา การฝัง กลบ และนำไปทำปุ๋ยหมัก