การบริหารความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง(conflict) คือ สภาพของความไม่ราบรื่นที่เกิดขึ้น ภายในตัวบุคคล ระหว่างบุคคล หรือระหว่างกลุ่ม เนื่องจากมีความต้องการหรือผลประโยชน์ขัดแย้งกัน และไม่สามารถตัดสินใจหรือหาข้อตกลงร่วมกันได้
ชนิดของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งภายในตัวเอง (Self Conflict)
1.1 ความขัดแย้งแบบดึงดูด – ดึงดูด (Approach – Approach Conflict) “รักพี่เสียดายน้อง”
“หนีเสือปะจรเข้” 1.2 ความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง – หลีกเลี่ยง (Avoidance – Avoidance Conflict) “หนีเสือปะจรเข้”
“อยากจะลงไปเด็ดบัว แต่ก็กลัวเปียกน้ำ” 1.3 ความขัดแย้งแบบดึงดูด – หลีกเลี่ยง (Approach – Avoidance Conflict) “อยากจะลงไปเด็ดบัว แต่ก็กลัวเปียกน้ำ”
2. ความขัดแย้งภายในกลุ่ม (Intragroup Conflict)
3.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict)
ลักษณะและพฤติกรรม ที่เกิดความขัดแย้ง
1. สมาชิกขาดความร่วมมือและประสานงานกัน 2. สมาชิกคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนมากกว่าเป้าหมายร่วมของกลุ่ม 3. มีการเกี่ยงงอนหรือแก่งแย้งหน้าที่และความรับผิดชอบ กันอยู่เสมอ 4. สมาชิกไม่กลัวเกรงกฎ ระเบียบ และบรรทัดฐานของกลุ่ม 5. สมาชิกย่อท้อ ไม่ทุ่มเท กำลังกายกำลังใจ สติปัญญาและเวลา เพื่อกลุ่มอย่างเต็มที่ 6. มีการชิงดีชิงเด่นกันอยู่เป็นประจำ
7. บรรยากาศในการทำงานเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา เงียบเหงา วังเวง ขาดการติดต่อสื่อสาร 8. ขาดความมั่นคงในงาน สมาชิกเบื่อหน่ายการทำงาน 9.สมาชิกต่างเสนอวิธีการหลากหลายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและต่างก็ยืนยันว่าวิธีการของตนดีกว่า โดยไม่ยอมลดราวาศอก 10. เรื่องความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันเล็กน้อยของสมาชิกมักจะบานปลายเป็นทำนอง “น้ำผึ้งหยดเดียว”
สาเหตุแห่งความขัดแย้ง
1.ความขัดแย้งทางด้านบุคลิกภาพ ค่านิยม ความคิด และประสบการณ์ 2.ความแตกต่างทางด้านความรู้ ความสามารถ 3.ความเข้าใจในเรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน 4. การกำหนดหน้าที่ในงานไม่ชัดเจน 5. การแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรและผลประโยชน์
6. ความขัดแย้งในเรื่องวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน 7. ความขัดแย้งเกี่ยวกับวิธีปฎิบัติ 8. ผลประโยชน์ขัดกัน 9.โครงสร้างขององค์กรไม่ชัดเจน 10.ขาดการสื่อสารที่ดี