การประชุมชี้แจงและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยระบบ EPP+
1. แจ้งหน่วยงานให้ทราบวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ครั้งที่ 1/2555 รายละเอียดการชี้แจง 1. แจ้งหน่วยงานให้ทราบวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ครั้งที่ 1/2555 2. รับ username และ password ระดับ admin สำนัก/กอง/กลุ่ม ในระบบ EPP+ 3. เตรียมความพร้อมให้กับ admin ระดับสำนัก/กอง/กลุ่ม สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ด้วยระบบ EPP+
หน้าที่ของ admin ระดับ สำนัก/กอง/กลุ่ม - ตรวจสอบรายชื่อข้าราชการที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ต้องรับผิดชอบ - กำหนดตัวผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน - รวบรวม บันทึก และแก้ไขปรับปรุงตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPI) - ตรวจสอบงบประมาณที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน - ควบคุมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในระบบ EPP+ ให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
โดยขอให้ใช้ การประเมินผลการปฏิบัติงาน EPP+ เป็นการประเมินออนไลน์ ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยขอให้ใช้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ สบค. ไม่ควรใช้ IE ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน EPP+
เข้าสู่ระบบ EPP+ โดยการใส่ username และ password ที่ http://epp.rid.go.th
ตรวจสอบรายชื่อบุคลากรในสังกัด ที่เมนู ข้อมูลบุคลากร เลือกรายชื่อบุคลากร
เลือกหน่วยงานที่ต้องการตรวจสอบรายชื่อ
คืนค่ารหัสผ่าน ย้ายไปยัง สำนัก/ส่วน/ฝ่าย/กลุ่มอื่น ระงับการเข้าใช้งานระบบ EPP+ ล้างข้อมูลการประเมิน (หากประเมินผิดพลาด)
การกำหนดผู้ประเมิน ให้กับข้าราชการในสังกัด
เลือกหน่วยงานที่ต้องการกำหนดผู้ประเมิน คลิกที่ไอคอนหลังชื่อบุคคลเพื่อกำหนดให้เป็นผู้ประเมินในสังกัดนั้น
การบันทึกข้อมูลตัวชี้วัด KPI คลิกที่ข้อมูลการประเมิน เลือกรายการตัวชี้วัด
คลิกที่ปุ่มเพิ่มตัวชี้วัด
ช่องรหัส ควรกำหนดรหัสให้มีความสอดคล้องกับหน่วยงาน เช่น สบค-ปท-001 สบค = สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล ทป = ฝ่ายทะเบียนประวัติฯ 001 = ตัวชี้วัดลำดับที่ 1
เลือกหน่วยงานที่ใช้ตัวชี้วัดที่กำลังดำเนินการบันทึกข้อมูล (การกำหนดจะช่วยให้ส่วน/ฝ่าย/กลุ่ม อื่นเห็นตัวชี้วัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสังกัดตนเอง)
พิมพ์ข้อความตัวชี้วัดลงในช่องตัวชี้วัด (หากมีการพิมพ์ไว้ในไฟล์ word หรือ Excel สามารถคัดลอกแล้วนำมาวางในช่องได้)
ลักษณะงานมีอยู่ 3 แบบ คือ 1. กลยุทธ์ คือ งานที่สนับสนุนตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาตามยุทธ์ศาสตร์กรม/คำรับรองการปฏิบัติราชการ (กรม สำนัก กอง) 2. ประจำ คือ งานตามบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงาน 3. พิเศษ คือ งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ (เลือกตามแบบฟอร์มของ ชป.135/1)
เลือกประเภทของตัวชี้วัด 1. รายเดือน สำหรับการติดตามตัวชี้วัดที่กำหนดค่าเป้าหมายไว้เป็นรายเดือน (ทุกๆ เดือนผู้ปฏิบัติงานต้องเข้ามายืนยันการดำเนินการนั้นทุกเดือน) 2. คำอธิบาย สำหรับตัวชี้วัดที่กำหนดค่าเป้าหมายไว้เป็นคำอธิบายโดยแบ่งเป็น 5 ระดับ (ผู้ปฏิบัติงานเข้ามายืนยันเป้าหมายเมื่อถึงรอบการประเมิน)
การเลือกติดตามตัวชี้วัดแบบรายเดือน
การเลือกติดตามตัวชี้วัดแบบรายเดือน
การเลือกติดตามตัวชี้วัดแบบคำอธิบาย
เพื่อให้สะดวกในการกรอกข้อมูลตัวชี้วัด KPI ขอให้ทุกหน่วยงานดูแบบฟอร์ม ชป.135/1 โดยสามารถรวบรวม และนำมากรอกข้อมูลได้ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลง/ยกเลิก admin สำนัก/กอง/กลุ่ม สามารถแก้ไขได้ทันที เมือพิมพ์และตรวจทานแล้วสามารถบันทึกได้โดยการกดที่ปุ่ม บันทึก
เมื่อบันทึกแล้วจะมีรายงานตัวชี้วัดปรากฏขึ้นมา คลิกที่ไอคอนเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการตัวชี้วัด คลิกที่ไอคอนเพื่อลบตัวชี้วัดออกจากระบบ
การเปลี่ยนรหัสผ่านสามารถทำได้โดยการคลิกที่เมนู เปลี่ยนรหัสผ่าน ระบบจะแสดงกรอบข้อความขึ้นมารให้พิมพ์รหัสผ่านเดิน และพิมพ์รหัสผ่านใหม่ จากนั้นกดที่ปุ่มเปลี่ยน ระบบจะแจ้งให้ทราบว่าดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนการดำเนินการภาพรวม Admin สำนักตรวจสอบข้อมูลรายชื่อข้าราชการในสังกัด/กำหนดผู้ประเมินผลการปฏิบัติราชการ และบันทึกตัวชี้วัด KPI ทั้งสำนัก/กอง ข้าราชการทุกคน เข้าระบบดำเนินการเลือกตัวชี้วัด KPI เมื่อถึงรอบการประเมินดำเนินการประเมินสมรรถนะตนเอง และเลือกระดับความสำเร็จของตัวชี้วัด KPI รอผลยืนยันจากผู้ประเมิน ขั้นตอนการดำเนินการภาพรวม ผู้ประเมิน เข้าระบบและดำเนินการยืนยันผลการประเมินของผู้ใต้บังคับบัญชา ข้าราชการทุกคนพิมพ์ผลการประเมินในหัวข้อรายงานในระบบ EPP+