การซ่อมทำหม้อแปลงไฟฟ้า ของ อาคาร สรส.ยศ.ทร.
หม้อแปลงไฟฟ้า ขนาด 1600 KVA. ของอาคาร สรส. ยศ. ทร ในขณะที่สับจ่าย DROPFUSE CUTOUT จะเกิดการระบิดอย่างรุนแรงและรุกไหม้อย่างรวดเร็ว
จากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าเบื้องต้น พบว่า จากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าเบื้องต้น พบว่า มีรอยอาร์คของกระแสไฟฟ้าตามรอยต่อ ๆ ของ ท่อร้อยสาย กล่องบัสบาร์และเคเบิลเทย์
2. สาย SAC ขนาด 50 SQ.MM รับกระแสไฟฟ้าจาก DROP FUSE CUTOUT จ่ายให้กับหม้อแปลงมีรอยชำรุด และมีบางจุดเกิดการแฟลชโอเวอร์
3. ตรวจสอบกราวด์ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าและกราวด์ล่อฟ้าแรงสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งตามปกติจะต้องไม่เกิน 5 โอห์ม
4. ค่าความต้านทานของฉนวนบัสบาร์มีค่าต่ำ 4. ค่าความต้านทานของฉนวนบัสบาร์มีค่าต่ำ
5. สารดูดความชื้นเสื่อมสภาพ
6. ลูกถ้วยและบุชชิ่งต่าง ๆ สกปรก
7. ตรวจวัดค่าอัตราส่วนระหว่างขดลวดแรงสูงและแรงต่ำด้วยเครื่องมือตรวจวัดเฉพาะเพื่อหาค่าการลัดวงจรที่ขดลวดปกติแสดงว่าขดลวดยังไม่ลัดวงจร
8. ค่า BREAKDOWN ของน้ำมันหม้อแปลงต่ำกว่า 30 KV
9. สีของน้ำมันหม้อแปลงผิดปกติ
การแก้ไข
1. จัดทำระบบกราวด์ของหม้อแปลงไฟฟ้าและระบบป้องกันฟ้าผ่าใหม่ตรวจสอบค่าได้ประมาณ 2 โอห์ม
2.เปลี่ยนสารกรองความชื้นใหม่
3.ซ่อมทำฉนวนของบัสบาร์
4. เปลี่ยนสาย SAG เข้าหม้อแปลงที่ชำรุด
5. ทำความสอาดบุชชิ่งต่างๆ ของหม้อแปลง
7. ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหม้อแปลงประมาณ 1200 ลิตร
เครื่องกรองและเครื่องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหม้อแปลง
8. ตรวจสอบค่า BREAKDOWN น้ำมันหม้อแปลงที่เปลี่ยนใหม่ได้ค่า BREAKDOWN อยู่ที่ 60 KV
9.ทำการสับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหม้อแปลง
เนื่องจากหม้อแปลงลูกดังกล่าวมีอายุการใช้งานมาแล้ว 18 ปี หลังจากซ่อมทำและใช้ราชการไปแล้วประมาณ ๔ เดือนจะต้องแจ้งบริษัทให้มาทำการตรวจสอบน้ำมันหม้อแปลงเพื่อตรวจหาความผิดปกติของขดลวดภายในหม้อแปลง