โครงการพัฒนาโรงพยาบาลราชบุรี บริการฉับไว ไร้ความแออัด
สถานการณ์
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชบุรี คน 499,303 472,359 446,810 เฉลี่ย : วัน 2,038 คน เฉลี่ย : วัน 1,928 คน เฉลี่ย : วัน 1,832 คน 100,668 69,536 เฉลี่ย : วัน 353 คน เฉลี่ย : วัน 243 คน ปี 2517 2523 2546 2547 2548
วัตถุประสงค์ ระยะสั้น 1. ลดอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยนอก 10% 2. เพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการใช้บริการ ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี 3. เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการที่ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี 4. เพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 5. เพื่อดำเนินงานตามนโยบาย “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ระยะสั้น
วัตถุประสงค์ ระยะยาว 1. แผนกผู้ป่วยนอกให้บริการดูแลรักษาในระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพในเครือข่าย
กลวิธีในการดำเนินงาน 1. ปรับระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการ ดำเนินการแล้ว * กระจายห้องตรวจในอาคารอื่น Ortho, จิตเวช ลดจำนวนผู้ป่วยที่ตึก OPD ~ 200 คน/วัน * นัดหมายผู้ป่วยเหลื่อมเวลา * ปรับเปลี่ยนเวลาของคลินิกเฉพาะโรค เป็นช่วงบ่าย (ต่อมลูกหมาก) * ส่งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องฟังผล ~ 60% * เปิดคลินิกนอกเวลาราชการทุกวัน ผู้ใช้บริการ ~ 70-90 คน/วัน * นัด Elective case นอกเวลา เช่น Mammogram
กลวิธีในการดำเนินงาน 1. ปรับระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการ กำลังจะ ดำเนินการ * นัดผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น DM, HT รับยาที่สถานบริการใกล้บ้าน โดยมีแพทย์เฉพาะทางออกไปให้บริการ * แพทย์แผนไทย เปิดให้บริการวันเสาร์ * คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ เช่น อายุรกรรม, สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม
กลวิธีในการดำเนินงาน 2. เสริมสร้างความรู้และทักษะของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัวได้ เหมาะสม 3. สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการใช้บริการสุขภาพที่เหมาะสม 4. เสริมทางเลือกบริการสุขภาพในชุมชนด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น แพทย์แผนไทย การนวด การใช้สมุนไพร ฯลฯ 5. ดำเนินงาน Healthy Thailand ในศูนย์สุขภาพชุมชน 6. เปิดให้บริการผู้ป่วยนอก 4 มุมเมืองในสถานที่ผู้ใช้บริการคมนาคมได้สะดวก โดยไม่ต้องมาใช้บริการในโรงพยาบาล โดยในช่วงแรกจะเปิดให้บริการ 1 สาขา เพื่อรองรับผู้ใช้บริการในเขตจังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงประสานงานร่วมกับ เครือข่ายท้องถิ่น เช่น เทศบาล เพื่อดำเนินการให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ รับผิดชอบ
งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ 1. ค่าปรับปรุงสถานที่ 740,000 บาท 2. เครื่องปรับอากาศ 160,000 บาท 3. ครุภัณฑ์การแพทย์ 2,000,000 บาท 4. อุปกรณ์สำนักงาน 600,000 บาท 5. อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย 500,000 บาท รวม 4,000,000 บาท
แผนงานและระยะเวลาในการดำเนินงาน Modernized Hospital ลำดับ กิจกรรม มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. 1. จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาล”บริการฉับไว ไร้ความแออัด 2. แต่งตั้งคณะกรรมการฯ 3. ประชุมคณะกรรมการฯ 4. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ 5. สำรวจสถานที่ที่เหมาะสม 6. จัดทำแผนการดำเนินงาน 7. จัดทำงบประมาณด้านครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง 8. นำเสนอโครงการต่อกรรมการโรงพยาบาลเพื่อพิจารณาอนุมัติและดำเนินการ 9. จัดเตรียมบุคลากร/ระบบบริการ 10. ปรับปรุงสถานที่ 11. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการรับทราบ 12. เปิดให้บริการ 13. วิเคราะห์/ประเมินการดำเนินงาน ทุก 6 เดือน แผนงานและระยะเวลาในการดำเนินงาน Modernized Hospital
แนวทางการติดตามประเมิน ประเมิน/วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน จำนวนผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลสาขา จำนวนผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลราชบุรี ลดลง 10% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลราชบุรีมากกว่า 80% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสาขามากกว่า 80% ระยะเวลาใช้บริการในโรงพยาบาลสาขาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ระยะเวลาที่แพทย์ใช้ตรวจผู้ป่วยแต่ละรายที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชบุรี ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (5 นาที/คน) ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับการดำเนินโครงการ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก และเหมาะสมกับความจำเป็นทางด้านสุขภาพ โรงพยาบาลราชบุรี สามารถพัฒนาศักยภาพของ รพ.ระดับทุติยภูมิและตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน, สถานีอนามัย, ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล เพื่อเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
สวัสดี