การบริหารจัดการด้านอุบัติภัยสารเคมี การประชุมเสริมศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข 30 ตุลาคม 2546
“เตรียมไว้….เผื่อภัยมา” First Episode
“ท่านเป็นพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงาน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมุทรสาคร ขณะนั้นเป็นเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งว่าเกิดเหตุสารเคมีรั่วจากโรงงานแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเมือง เมื่อประมาณ 10 นาทีก่อนหน้า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลผู้บาดเจ็บ ท่านจะทำอะไรบ้าง?”
“ถ้าโรงพยาบาลของท่านไม่มีแผนปฏิบัติการและไม่เคยซ้อมแผนรับอุบัติภัยเคมี รวมทั้งไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเข้าไปปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ ท่านจะทำอย่างไร?”
“ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้บัญชาการ จัดการ (ตามแผน) ท่านจะจัดเตรียมคน อุปกรณ์ และอื่นๆอย่างไร สำหรับการปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุและที่โรงพยาบาล”
“หลังจากจัดการรับมือกับอุบัติภัยเคมีครั้งนี้ ได้มีการประชุมสรุปการดำเนินการ ที่เรียกว่า debriefing สำหรับเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พบ”ประเด็น”ที่น่าสนใจ คือ เจ้าหน้าที่ รถพยาบาลใช้เวลานานถึง 30 นาทีกว่าจะถึงจุดเกิดเหตุ, เจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าสารเคมีต้นเหตุคืออะไร ทำให้ไม่ได้ ป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม รวมทั้งไม่ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ป่วย, มีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต 5 ราย(จากทั้งหมด 50 ราย) เพราะไม่สามารถวินิจฉัยอาการพิษได้ทันเวลา ท่านจะมีแนวทางในการแก้(หรือป้องกัน)ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?”
คำถามหลัก 3 ข้อ โรงงานอยู่ที่ไหน ในโรงงานมีสารเคมีอะไรบ้าง สารต้องสงสัยมีพิษอะไร
Hot Zone อยู่ที่ไหน Arcview ข้อมูล อุตุนิยมวิทยา รหัสโรงงาน ALOHA รหัสโรงงาน รหัสสารเคมี โรงงาน อยู่ที่ไหน สารเคมี อะไร มีพิษ อย่างไร ผังเมือง กรมโรงงานฯ Cameo
“เตรียมไว้….เผื่อภัยมา” Second Episode
“หลังเกิดเหตุ 1 สัปดาห์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเข้าร่วมปรึกษาหารือ เนื่องจากอุบัติภัยที่เกิดขึ้นก่อความเสียหายค่อนข้างมากให้กับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมทั้งมีพนักงานในโรงงานเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย ผู้อำนวยการสั่งให้ท่านเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอในที่ประชุมกับผู้ว่าฯ ท่านจะมีแนวทางเตรียมข้อมูลอย่างไร?”
“ท่านเตรียมข้อมูลเสร็จแล้ว ผู้อำนวยการเรียกไปพบอีกครั้ง บอกว่ามีแต่ข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีการนำเสนอแนวทางป้องกันปัญหา ท่านจะเตรียมข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง?”
“ในที่ประชุมกับผู้ว่าฯและหน่วยราชการอื่น มีการ”พาดพิง”ถึงโรงพยาบาลว่าไม่สามารถให้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ โดยเฉพาะการ ตัดสินใจอพยพประชาชนที่อาศัยโดยรอบโรงงาน ต้นเหตุ ท่านผู้ว่าฯเองถึงกับตั้งคำถามว่า”ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกข้างโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ทีมสาธารณสุขจะสามารถจัดการให้เด็กนักเรียนปลอดภัยได้หรือไม่ ท่านจะช่วยผู้อำนวยการตอบคำถามเหล่านี้อย่างไร?”
อยู่ใน “เขตอันตราย” หรือไม่ Arcview ข้อมูล อุตุนิยมวิทยา ALOHA รหัสโรงงาน รหัสสารเคมี โรงงาน อยู่ที่ไหน สารเคมี อะไร มีพิษ อย่างไร ผังเมือง กรมโรงงานฯ Cameo
การเฝ้าระวังก่อนเกิดเหตุ การเฝ้าระวังหลังเกิดเหตุ กรมป้องกันฯ แจ้งเหตุ กรมควบคุมมลพิษ กรม คร. ระงับเหตุ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เฉียบพลัน เรื้อรัง เฉียบพลัน เรื้อรัง triage การเฝ้าระวังหลังเกิดเหตุ เสียชีวิต เจ็บหนัก เจ็บน้อย เสี่ยง