องค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองมาตรฐาน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ พ.ศ.2542 ยื่นคำร้องพร้อมด้วย หลักฐานต่อปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอ Certificated that…….. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอจึงไปตรวจสอบฟาร์มเพื่อดำเนินการต่อไป
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานครบ 5 ประการ ดังนี้ 1. มีระบบการทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า-ออกจากฟาร์ม 2. มีการจัดการโรงเรือนที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล 3. โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีลักษณะและขนาดเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ 4. การจัดการด้านบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ 5. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ โดยมีโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสม
โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้แก่ 1. โรคกาฬโรคเป็ด 2. โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า 3. โรคไข้หวัดใหญ่ม้า 4. โรคไข้เห็บม้า 5. โรคแซลโมเนลลา 6. โรคดูรีน 7. โรคทริคิโนซิส 8. โรคนิวคาสเซิล 9. โรคบรูเซลโลซีส 10. โรคปากอักเสบพุพอง 11. โรคฝีดาษม้า 12. โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า
โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้แก่ 13. โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า 14. โรคเรื้อนม้า 15. โรคเลปโทสไปรา 16. โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า 17. วัณโรค 18. โรควัวบ้า 19. โรคสมองอักเสบนิปาห์ 20. โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า 21. โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า 22. โรคสมองอักเสบเจแปนิส 23. โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า 24. โรคเอเวียนอินฟลูเอนซา
สิทธิประโยชน์ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐาน การเคลื่อนย้ายสัตว์ ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงโคนมและสุกรสามารถขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าในหรือผ่านเขตปลอด โรคระบาดได้จากปศุสัตว์จังหวัด โดยปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2537 ข้อ 7 (2) ยกเว้นสุกรขุนที่จะเข้าหรือผ่านเขตจังหวัดภาคใต้ ซึ่งจะต้องขออนุมัติจากกรมปศุสัตว์
สิทธิประโยชน์ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐาน กรมปศุสัตว์จะจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกร ให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอตามปริมาณสุกรของ ฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน กรมปศุสัตว์ จะให้บริการการทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคในโคนม โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน กรมปศุสัตว์ จะให้บริการการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มาตรฐาน
การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังท้องที่ต่างจังหวัด 2. การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในเขตโรคระบาด เข้าใน หรือ ออกนอกเขตโรคระบาด เขตที่สงสัยว่ามีโรคระบาด หรือเขตโรคระบาดชั่วคราว 3. การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าใน หรือ ผ่านเขตปลอดโรคระบาด 4. การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายใน หรือระหว่างเขตปลอดโรคระบาด
เขตปลอดโรคระบาด เขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย มีพื้นที่ตั้งแต่ ประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนสุดชายแดนภาคใต้ (เขต 8 , 9)ประกอบด้วย 15 จังหวัดภาคใต้ คือ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง พังงา ภูเก็ต สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง และนราธิวาส และพื้นที่ในภาคตะวันออก(เขต 2) ของประเทศ ไทย ประกอบด้วย 8 จังหวัด คือนครนายก ปราจีนบุรี ตราด สระแก้ว จันทุบรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ เขตปลอดโรครินเดอร์เปสต์ คือ พื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อกับลงไปจนสุดชายแดนภาคใต้ (เขต 8 , 9)