การจัดการความรู้ (Knowledge Management) KM คืออะไร?? การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การจัดการ (Management) คือ กระบวนการที่ ดำเนินการตามขั้นตอนที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์กร โดยใช้การวางแผน การจัดองค์กร และมอบหมายงาน การใช้ทักษะผู้นำ และการ สร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการติดตาม และการ ควบคุมงาน
ความรู้ (Knowledge) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา ค้นคว้า ประสบการณ์ ความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจาก ประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา
(Knowledge Management) คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และการประเมินการดำเนินการที่เกี่ยวกับ ความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ ภารกิจที่เราทำเป็นประจำไม่ว่าเป็นงานที่บ้าน หรือที่ทำงาน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การซักผ้า เราต้องการซักให้เสร็จเร็วและสะอาด ดังนั้นต้องเริ่มคิดว่า ควรเริ่มแยกเสื้อผ้าที่สกปรกน้อย สกปรกมาก แยกผ้าที่สีตก ผ้าขาว ถ้าเราไม่คิดถึงการจัดการความรู้ เราอาจจะไม่ได้ทำให้การซักผ้าดีขึ้น แต่ที่ทำให้เสร็จเร็วนั้น เป็นเพราะความเคยชินที่ทำประจำทุกวัน จึงกลายเป็นความรู้ที่ฝังลึก (tacit knowledge)
แต่ถ้าเรา KM ในขณะที่ซักผ้า คิดว่าจะทำอย่างไรให้เสร็จเร็วขึ้น ช่วยลดเวลา ทำให้ดีกว่าเดิม เราสามารถพัฒนาการซักผ้าให้ดีขึ้นได้ แล้วถ้าสอนให้คนใกล้ชิดหรือแนะนำเพื่อน เราสามารถบอกสิ่งที่ควรระวังได้ เช่น ผ้าที่สีตกควรแยกก่อน ทำให้คนที่ต้องการรู้นั้นไม่ต้องลองผิดลองถูก ตัวอย่างนี้ถ้ามีการบันทึกไว้ถือว่าเป็นแหล่งความรู้หรือคลังความรู้ในการซักผ้า นั่นเอง
KM ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไร สามารถพัฒนาความรู้ของตัวเอง สามารถดูขั้นตอน หรือวิธีการทำงานที่ดีกว่าของ คนอื่นในการทำงานแบบเดียวกับเรา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาวิธีการทำงานของ ตนเองให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นได้
การจัดการความรู้ในองค์กร คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่อยู่ในองค์กร ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการความรู้ที่ดี...จะช่วยให้องค์กร สร้างนวัตกรรม โดยการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็น อย่างเต็มที่ เพิ่มคุณภาพการบริการ ลดอัตราการลาออก โดยการให้ความสำคัญกับความรู้ ของบุคลากร ลดเวลาการบริการและลดค่าใช้จ่าย โดยจำกัดกระบวนการ ที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้กับทุกหน่วยงาน ขององค์กร
ที่มา/แหล่งอ้างอิง : เวปไซต์ http://www.dpu.ac.th/kms/about.html km.naraed2.org/modules.php?name=News&file=article&sid=308 - 25k - http://www.ecba.tsu.ac.th/web/th/ecbakm/Doc/km.pdf ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวอัญชนา คล่องไชยชน งานจัดการความรู้ สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร