Engineering Graphics II [WEEK5] การยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียว การแสดงการยึดชิ้นงานใน Solid Work
การยึดต่อด้วยสลักเกลียว
การยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียว การยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียวอาจทำได้โดยหลายวิธี คือ 1. Bolt and Nut 2. Cap Screw/Set Screw 3. Stud
การยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียว การยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียวจะอาศัยหลักการกดชิ้นงานไม่ให้แยกออกจากกันด้วยการขันตึง
Bolt and Nut รูปทรงของหัว Bolt และ Nut อาจมีได้ในหลายลักษณะขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ลักษณะที่พบเสมอคือ Bolt และ Nut ที่มีหัวหกเหลี่ยม(Hexagon) และ สี่เหลี่ยม(Square)
Cap Screw โดยทั่วไปจะใช้งานสำหรับการยึดจับชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลักษณะหัวของ Cap Screw
Set Screw ใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ระหว่างชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น ใช้ Set Screw เพื่อไม่ให้มู่เล่เคลื่อนที่ตามเพลาหมุน เป็นต้น ลักษณะหัวของ Set Screw
สลักเกลียวยึดชิ้นงานอื่นๆ
มิติเกลียว Major diameter (d) = เส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว Minor diameter(dr ) = เส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กสุดของเกลียว Mean diameter = เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเกลียว Pitch(P) = ระยะที่วัดจากสันเกลียวหนึ่งถึงสันเกลียวถัดไป Major diameter Minor diameter Mean diameter Pitch Root Crest Thread angle Root = รากเกลียว Crest = ยอดเกลียว Thread angle = มุมเกลียว
มิติเกลียว Lead (L) = ระยะที่ nut เคลื่อนที่ตามแนวแกนของเกลียวเมื่อ nut หมุนครบ 1 รอบ
ประเภทเกลียว Single threads คือ เกลียวที่มีระยะที่ Nut หมุนเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ เท่ากับ ระยะจากสันเกลียวหนึ่งถึงสันเกลียวถัดไป Lead(L) = Pitch(P) Multiple Thread Double - Thread (L = 2P) Triple - Thread (L = 3P)
มาตรฐานเกลียว เกลียวเมตริก (Metric thread) เกลียวยูนิไฟล (Unified thread) แบ่งตามความละเอียดของเกลียว เช่นกันคือ เกลียวหยาบ (Coarse - Pitch Series) , เกลียวละเอียด (Fine - Pitch Series)
มาตรฐานเกลียวยูนิไฟล เกลียวยูนิไฟล อาจแบ่งตามลักษณะของโคนฟันเป็น 2 แบบ คือ 1. UN คือ เกลียวที่มีโคนฟันแบนราบ 2. UNR คือ เกลียวที่โคนฟันโค้ง r UNR Threads UN Threads
มาตรฐานเกลียวยูนิไฟล 1. Nominal major diameter 2. จำนวนเกลียวต่อความยาว 1 นิ้ว 3. ชนิดเกลียว (Thread series) หมายถึง เกลียวที่มี d = 5/8 นิ้ว จำนวนเกลียว 18 เกลียวต่อความยาว 1 นิ้ว และเป็นชนิด UNR ชนิดละเอียด(F) 18 UNR F
มาตรฐานเกลียวเมตริก มีรูปร่างเช่นเดียวกับเกลียว ยูนิไฟล แตกต่างกับเกลียวยูนิไฟล คือเกลียวชนิดนี้ใช้หน่วย มิลลิเมตร แทนที่จะเป็นหน่วยนิ้ว เกลียวเมตริก แบ่งประเภทตามลักษณะของเกลียวเป็น 2 ประเภท คือ 1. M Profiles คือ เกลียวทำมุมเอียง 60 องศา 2. MJ Profiles คือ ที่รากเกลียว(Root) มีลักษณะโค้งมน
มาตรฐานเกลียวเมตริก การระบุเกลียวเมตริกทำได้โดย 1. บ่งบอกว่าเป็นเกลียวเมตริก M 12 x 1.75 2. Major diameter 3. ระยะพิท หมายถึง เกลียวเมตริกที่มีขนาด Major Diameter 12 mm ระยะพิท 1.75 mm
รูเจาะสำหรับการยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียว รูเจาะสำหรับการจับยึดชิ้นงานมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกที่มีปลายเป็นรูปกรวยทำมุมประมาณ 30 องศากับแนวระดับ
รูเจาะสำหรับการยึดชิ้นงานด้วยสลักเกลียว ความลึกรูเจาะจะประกอบด้วย ความยาวในส่วนที่มีเกลียว และ ความยาวในส่วนไม่มีเกลียว ขนาดของรูเจาะจะต้องยึดตามมาตรฐานของ screw ที่ใช้
โปรแกรม SolidWorks การยึดต่อด้วยสลักเกลียว
เริ่มต้นการยึดด้วยสลักเกลียวด้วย SolidWorks สลักเกลียวชนิดต่างๆ ในโปรแกรม SolidWork จะถูกรวมอยู่ใน Toolbox ดังนั้นในการเริ่มใช้งานจึงควรทำการ enable toolbox ก่อน Tool -> Add-Ins -> เลือก SolidWork Toolbox -> เลือก SolidWork Toolbox Browser
เริ่มต้นการยึดด้วยสลักเกลียวด้วย SolidWorks ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลภายใต้มาตรฐานต่างๆ จะถูกรวมอยู่ใน Design Liberary -> Toolbox
ใช้ Hold Wizard สำหรับรูเจาะสลักเกลียว การเจาะรูตามมาตรฐาน สามารถกำหนดโดยใช้ Hole Wizard Features -> Hole -> Wizard
การกำหนดเงื่อนไข เราสามารถเปลี่ยนข้อกำหนดของ Bolt และ Nut ได้หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอื่นที่เรียกจาก Toolbox ได้โดยการใช้คำสั่ง Edit Toolbox definition
การยึดชิ้นงานจำนวนมากอย่างอัตโนมัติ กรณีทำการยึดชิ้นงานจำนวนมากอย่างอัตโนมัติเราสามารถทำได้โดยใช้ Smart Fasteners Browser Smart Fastener Browser เริ่มต้นจากการกำหนดมาตรฐานรูเจาะก่อน เพื่อให้ชนิดของสลักเกลียวมีความสัมพันธ์กับรูเจาะ Toolbox -> Browser Configuration -> Smart Fasteners
การกำหนดรูเจาะบน Smart Fasteners Browser
การเลือกสลักเกลียวอย่างอัตโนมัติ จากนั้นทำการเลือก Smart Fasteners เราสามารถเลือกรูเจาะตามที่เราต้องการ หรือเลือกรูเจาะทั้งหมดโดย Populate All ได้ เมื่อเราเลือกรูเจาะเสร็จแล้วจะปรากฎสลักเกลียวชนิดต่างที่สอดคล้องกับชนิดรูเจาะที่รูเจาะที่เราเลือกนั้น
การใส่แหวน(Washer) และแป้นเกลียว(NUT) การใส่ Nut ทำได้โดยการ Edit Smart Fasteners จากนั้นเลือก Bottom stack หรือ Top stack ตามต้องการ และทำการเลือก Nut ที่สอดคล้องกับ Bolt และ รูเจาะ
การเปลี่ยนชนิดของชิ้นงานจับยึด เรายังคงสามารถเปลี่ยนชนิดของ fastener ได้โดย Edit Smart Fastener -> เลือก Fastener -> Change Fastener Type
การแสดงการประกอบชิ้นงาน สามารถแสดงได้เช่นเดียวกับ Assembly ทั่วไป