Seminar in computer Science อ้างอิงจาก learners.in.th
วัตถุประสงค์ สามารถศึกษาค้นคว้าวิทยาการได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการเขียนรายงานและนำเสนอผลงาน มีความรู้ในวิทยาการใหม่ๆ Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
แหล่งข้อมูล มีเนื้อหาอยู่ใน “ศาสตร์” ของวิทยาการที่เราสนใจ มักจะอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น บทความทางวิชาการ หรือ หนังสือ ไม่ใช่การโฆษณาสินค้าหรือบริการ Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องเป็น “ศาสตร์” ใหม่ๆ หรือทันสมัย ไม่ควรเป็นบทเรียนในรายวิชาของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรเป็นเรื่องที่นิสิตสนใจและอาจจะขยายเรื่องดังกล่าวเป็น โครงงาน (Special Problem) ได้ บทความที่จะนำเสนอต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ ปรึกษาหรืออาจารย์ประจำวิชาก่อน Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การนำเสนอ แนะนำตัวและหัวเรื่องที่จะนำเสนอ บทนำ (Introduction) เกี่ยวกับเรื่องที่จะนำเสนอ วัตถุประสงค์หรือประเด็นหลัก (Main idea) ของเรื่องที่จะ นำเสนอ รายละเอียดของเรื่องที่จะนำเสนอ สรุป คำวิจารณ์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้นำเสนอ Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การเขียนเอกสาร ส่วนของปกหน้าประกอบด้วย หัวเรื่อง (Title) ชื่อ-ชื่อสกุลของนิสิต และรหัสประจำตัว ชื่อวิชา ภาคและปีการศึกษา ภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัย Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การเขียนเอกสาร (2) ส่วนของเนื้อหาประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทย (Abstract) บทนำ (Introduction) อาจรวมถึงความเป็นมาของเรื่องที่ นำเสนอ (Literature Review) (ถ้ามี) รายละเอียดของเนื้อเรื่อง บทสรุป ข้อเสนอแนะของผู้เขียนบทความ บรรณนานุกรม (References) Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การเขียนบทคัดย่อ บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อ โดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้คือ ย่อทุกๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควร ได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับในเนื้อหาสัมมนา เมื่อผู้อ่านๆบทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียด นั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป (ไม่ควรเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4) ในบทคัดย่อไม่มี ตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใดๆ ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
หลักสำคัญของการเขียนบทคัดย่อ มีความสั้น กระทัดรัดและกระชับ (Concision) มีความถูกต้อง (Precision) คือสามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตาม ความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความ คิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป มีความชัดเจน (Clarity) Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การเขียนบทคัดย่องานวิจัย การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนต่อเนื่องกันไป และมี เนื้อหาที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ จุดประสงค์ (Purpose or Objective) เป็นการอธิบายให้ทราบถึง จุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง วิธีการ (Methodology) เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ผลและบทสรุป (Result and Conclusions) และอาจมีข้อเสนอแนะ การ ประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.