คำวิเศษณ์
ความหมายของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน ให้มีความหมายชัดเจนขึ้น คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์
ชนิดของคำวิเศษณ์ ๑. วิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์) ได้แก่ คำที่บอกลักษณะต่าง ๆ ต่อไปนี้ - บอกสี เช่น ขาว ดำ แดง เหลือง เขียว แตงโมมีเปลือกสีเขียวเนื้อสีแดง และมีเมล็ดสีดำ
แม่ทำแกงเผ็ดเป็ดย่างอร่อยมาก เค้กเป็นขนมหวานที่น้องชอบ - บอกรส เช่น เผ็ด หวาน มัน เปรี้ยว เค็ม ฝาด แม่ทำแกงเผ็ดเป็ดย่างอร่อยมาก เค้กเป็นขนมหวานที่น้องชอบ
ดอกกุหลาบมีสีสวยและกลิ่นหอม - บอกกลิ่น เช่น หอม หืน เหม็น ฉุน ดอกกุหลาบมีสีสวยและกลิ่นหอม
- บอกขนาด เช่น ใหญ่ เล็ก กว้าง แคบ บาง บ้านหลังใหญ่อยู่กลางทุ่งกว้าง
- บอกสัณฐาน เช่น กลม แบน รี ป้อม เหลี่ยม พิซซ่ามีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบน
รถยนต์แล่นเร็ว รถไฟแล่นช้า - บอกอาการ เช่น ด่วน เร็ว ไว ช้า เฉื่อย รถยนต์แล่นเร็ว รถไฟแล่นช้า
- บอกชนิด เช่น ดี เลิศ วิเศษ ชั่ว เลว ผิด ถูก พอใช้ ปานกลาง ตำรวจเป็นคนดี ผู้ร้ายเป็นคนเลว
- บอกเสียง เช่น เพราะ ไพเราะ ดัง ค่อย แหบ น้องร้องไห้เสียงดัง มาช่าร้องเพลงเพราะ
๒. วิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) เช่น เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำ ๒. วิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) เช่น เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำ วันนี้ฉันตื่นสาย คุณยายกลับมาจากวัดตอนบ่าย ๆ
เด็กหลายคนวิ่งตามกันไปที่สนาม ต้อยติ่งตั้งใจเรียนมาก ๓. วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์) เช่น มาก หลาย เต็ม น้อย บาง บ้าง ทุก หมด หนึ่ง ที่หนึ่ง เด็กหลายคนวิ่งตามกันไปที่สนาม ต้อยติ่งตั้งใจเรียนมาก
เฮลิคอปเตอร์บินไปทางทิศเหนือ วิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์) เป็นวิเศษณ์บอกที่อยู่ หรือระยะที่ตั้งอยู่ เช่น ใกล้ ไกล ห่าง ชิด บน เหนือ ใต้ ล่าง หน้า หลัง พี่เดินหน้าน้องเดินหลัง เฮลิคอปเตอร์บินไปทางทิศเหนือ
วิเศษณ์บอกปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์) เช่น ไม่ มิได้ หามิได้ ไม่ใช่ ไม่ได้ หาไม่ บ่ อย่า ตุ๊กตาตัวนี้ไม่ใช่ของเธอนะ ฉันยังไม่ได้เล่นเลย อย่าทะเลาะกัน แม่ไม่ชอบนะ
๖. วิเศษณ์แสดงคำขานรับและโต้ตอบ (ประติชญาวิเศษณ์) เช่น จ๋า จ้ะ ขา ครับ ขอรับ ค่ะ แม่จ๋าหนูหิวข้าว เจ้านายมีอะไรให้ผมรับใช้ขอรับ
๗. วิเศษณ์ชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) เช่น นี่ โน่น นี้ นั้น โน้น เอง ๗. วิเศษณ์ชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) เช่น นี่ โน่น นี้ นั้น โน้น เอง ฉันทำกับข้าวเอง บ้านนี้มีต้นเฟื่องฟ้าหน้าบ้าน
๘. วิเศษณ์ไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) เช่น อะไร ไหน ใย ไฉน ใด อื่น ๘. วิเศษณ์ไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) เช่น อะไร ไหน ใย ไฉน ใด อื่น คุณจะเลือกเสื้อตัวไหนก็ได้ ขนมอะไรฉันก็กินได้หมด
๙. วิเศษณ์บอกคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์) เช่น ใคร อะไร ไหน หรือ ใย ไฉน ใด ทำไม ทำไมไม่ทำการบ้าน การเล่นฟุตบอลมีกติกาอย่างไร
นาฬิกานี่เป็นของฉัน เป็นวิเศษณ์ชี้เฉพาะ ข้อสังเกต ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ คือ คำเดียวกันทำหน้าที่ได้หลายอย่าง สำหรับคำวิเศษณ์ก็เช่นเดียวกันอาจเป็นคำชนิดอื่นได้อีก เช่น วิเศษณ์ชี้เฉพาะ นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น อาจเป็น นิยมสรรพนาม ตามที่กล่าวมาแล้ว นาฬิกานี่เป็นของฉัน เป็นวิเศษณ์ชี้เฉพาะ นี่เป็นนาฬิกาของฉัน เป็นนิยมสรรพนาม
วิเศษณ์ไม่ชี้เฉพาะ อะไร ไหน ใด อาจเป็น อนิยมสรรพนามตามที่กล่าวมาแล้ว ข้อสังเกต วิเศษณ์ไม่ชี้เฉพาะ อะไร ไหน ใด อาจเป็น อนิยมสรรพนามตามที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาใด ๆ ล้วนมีทางแก้ เป็น วิเศษณ์ไม่ชี้เฉพาะ ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง เป็น อนิยมสรรพนาม
ข้อสังเกต เมื่อนำคำวิเศษณ์ออกจากประโยค ใจความของประโยคก็ยังคง สมบูรณ์ แต่อาจไม่ชัดเจนเท่ากับประโยคที่มีคำวิเศษณ์ประกอบอยู่ด้วย เช่น - นักเรียนเข้าห้องประชุม - นักเรียนทั้งหมด เข้าห้องประชุม ( “ทั้งหมด” เป็นวิเศษณ์ขยายคำนาม “นักเรียน”)
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง มักวางไว้ข้างหลังคำที่ขยาย ซึ่งคำที่ถูกขยายอาจเป็นประธาน กรรม หรือคำขยายก็ได้ ดังนี้ ๑. ขยายคำนาม อาจวางไว้ข้างหน้า ข้างหลัง หรือทั้งข้างหน้าและข้างหลังคำนามก็ได้ เช่น เด็กดีมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
๒. ขยายคำสรรพนาม เช่น ไปเลือกตั้ง ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง ๒. ขยายคำสรรพนาม เช่น ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง เราทุกคนต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ ไปเลือกตั้ง
๓. ขยายคำกริยา เช่น น้องเดินช้า คนอ้วนกินจุ
๔. ขยายคำวิเศษณ์ เช่น น้องเดินช้าจริง ๆ คนอ้วนกินจุมาก
๕. ทำหน้าที่กริยาสำคัญในประโยค เช่น ๕. ทำหน้าที่กริยาสำคัญในประโยค เช่น ดอกไม้บานแล้ว สุดาเก่งการเต้น
จบเรื่องคำวิเศษณ์แล้วค่ะ นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียนดีมาก รับรางวัลไปเลยค่ะ