การเขียนรายงานการวิจัย อรุณศรี เตชเรืองรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์
การเขียนรายงานการวิจัย 1. รูปแบบของรายงานการวิจัย 1.1 ส่วนที่เป็นปก หน้าปก (Title) ประกาศคุณูปการ (Acknowledgement) สารบัญ (Table of Content) บัญชีตาราง (List of Table) บัญชีภาพ (List of Figures)
1.2 ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องของรายงาน (Mainbody of Report) ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ ปัญหา คำถามที่จะต้องตอบ สมมติฐานที่จะทดสอบ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น และขอบเขตการวิจัย คำจำกัดความของศัพท์เฉพาะเรื่อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการที่ใช้ แหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล บทที่ 4 การนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อเรื่อง ตาราง รูปภาพ
1.3 ส่วนที่เกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง บทที่ 5 ย่อ และสรุปผล สรุปปัญหา รายละเอียดของวิธีการที่ใช้ในการวิจัย ข้อค้นพบที่สำคัญ และสรุปผล ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป 1.3 ส่วนที่เกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก
ส่วนที่เป็นปก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (ผู้วิจัย) ชื่อผู้เขียน (ผู้วิจัย) ความเกี่ยวข้องกับรายงานกับรายวิชา ชื่อโรงเรียน
ตัวอย่าง การสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนอุตรดิตถ์ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิจัยเบื้องต้น นางสาวอรุณศรี เตชะเรืองรอง โรงเรียนอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ รายงานการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ค 31104 การวิจัยเบื้องต้น ปีการศึกษา 2553
ประกาศคุณูปการ (กิตติกรรมประกาศ) ขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เขียนสั้นๆ และง่าย ไม่ควรเขียนถึงบุคคลในครอบครัว อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติกรรมประกาศ รายงานเรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนอุตรดิตถ์ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิจัยเบื้องต้นครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์จาก นายนเรศ ศรีภิรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุตรดิตถ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอุตรดิตถ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูที่ปรึกษา ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ผู้จัดทำ
บัญชีตาราง และบัญชีรูปภาพ แยกบัญชีตาราง และบัญชีรูปภาพ เขียนชื่อบัญชีตาราง และบัญชีรูปภาพให้ตรงกับที่ปรากฏในรายงาน เรียงลำดับบัญชีตารางและบัญชีรูปภาพ
การเขียนเลขหน้าในส่วนที่ 1 ให้เขียนไว้ตรงกลางหน้ากระดาษส่วนบน หรือส่วนล่าง ปกติใช้เลขและมีวงเล็บไว้ หรืออาจใช้เลขโรมัน (i, ii, iii, iv ….) ก็ได้
ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องของรายงาน บทที่ 1 ความนำของเรื่อง ประกอบด้วย คำถามของปัญหา/สมมติฐานที่ต้องการทดสอบ/ความสำคัญของปัญหา จุดมุ่งหมาย ข้อตกลงเบื้องต้น ข้อจำกัดในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ศัพท์สำคัญ
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเอกสาร และผลงานวิจัยซึ่งสรุปโดยย่อ เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวมาตั้งแต่ต้น เขียนข้อเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย หรือช่องว่าง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ แบบแผนการวิจัย บทที่ 3 วิธีดำเนินการ แบบแผนการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและการควบคุมตัวแปร ที่มาของข้อมูล การรวบรวมข้อมูล ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ การใช้สถิติ
บทที่ 4 การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิจารณ์แล้วรายงานผล ใช้ตาราง รูปภาพช่วยในการนำเสนอ อภิปรายผล
บทที่ 5 สรุปย่อ (Summary) ย่อความตั้งแต่บทที่ 1 – 4 ปัญหา วิธีวิจัย ข้อค้นพบ สรุปผลการค้นพบว่ายอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพรวม อย่าสรุปเกินข้อมูลที่ศึกษาได้
ส่วนที่เกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง บรรณานุกรม พิมพ์กลางหน้าส่วนบน เขียนสิ่งที่อ้างอิง เรียงตามตัวอักษร ภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อสกุลขึ้นก่อน เริ่มพิมพ์จากด้านซ้าย ถ้าเกิน 1 บรรทัดให้เว้นช่อง 1 Space อักษรตัวแรกของบรรทัดต่อไป เริ่มที่ตัวอักษรที่ 5 ของบรรทัดแรก
เอกสารเล่มต่อไป เว้น 2 Space ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ หรือองค์กรที่จัดพิมพ์เรียงเป็นชื่อของผู้เขียน ถ้ามีความยาวมาก อาจแยกเป็นรายชื่อหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ภาคผนวกให้พิมพ์ตรงกลางหน้า เรียงลำดับหน้าไปเรื่อยๆ อาจมีภาคผนวก ก, ข, ค, ง …. ถ้ามีข้อมูลจะใส่หลายตอน
วิธีเขียนรายงานการวิจัย เขียนเพื่อแสดงความคิดสร้างสรรค์ ชัดเจน กระทัดรัด เขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาให้ตรงประเด็น ภาษาที่ใช้ต้องง่าย ไม่ใช่ภาษาสะแลง หรือภาษาพูด ไม่เขียนยั่วยุ หรือชักชวนให้ผู้อ่านคล้อยตาม หรือมุ่งจะเปลี่ยนความคิดผู้อ่าน ห้ามใช้คำว่า “ผม” “ดิฉัน” “ข้าพเจ้า” “คุณ” “ท่าน” แต่ให้ใช้ว่า “ผู้ศึกษาหรือผู้รายงาน” แทน ไม่ใช้คำย่อ ถ้าจะใช้ต้องวงเล็บคำเต็มด้วย
ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ ให้เขียนชื่อลงไปเลย เช่น รศ. กิดิ เขียนว่า กิดิ ใส่สูตรสถิติ ไม่นิยมเขียนตัวเลข แต่จะเขียนเป็นตัวหนังสือแทน การคำนวณให้แสดงเฉพาะข้อมูลดิบใส่ไว้ในภาคผนวกและไม่มีการคำนวณค่าให้ดู อย่ารีบเร่งเขียน เพราะงานวิจัยที่เขียนได้ดีจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลายครั้ง จึงจะลงมือพิมพ์ได้
การประเมินรายงานการวิจัย 1. หัวข้อเรื่อง - ชัดเจนไหม 2. ปัญหา หัวข้อปัญหาเฉพาะเจาะจงหรือไม่ หัวข้อปัญหาสำคัญเพียงใด คำถามตั้งตรงกับปัญหาหรือไม่ สมมติฐานชัดเจนเพียงใด ข้อจำกัด & ข้อตกลงเบื้องต้นมีไหม มีการให้นิยามศัพท์เฉพาะเรื่องไหม
3. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีพอไหม สิ่งที่รวบรวมมาสัมพันธ์กับงานวิจัยไหม วิธีการเรียงเอกสารถูกต้องหรือไม่ การสรุปผลจากเอกสารทำให้เข้าใจหรือไม่
4. กระบวนการวิจัยที่ใช้ อธิบายการวางแผนการวิจัยละเอียดหรือไม่ 4. กระบวนการวิจัยที่ใช้ อธิบายการวางแผนการวิจัยละเอียดหรือไม่ วิธีที่ใช้ตรงกับเรื่องหรือไม่ กล่าวถึงตัวแปรต่างๆ ครบถ้วนหรือไม่ มีการควบคุมตัวแปรเหมาะสมหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมหรือไม่ ตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นด้วยวิธีใด ใช้สถิติเหมาะสมหรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ตาราง และแผนภูมิเสนอผลอย่างไร อภิปรายผลชัดเจน และกระทัดรัดเพียงใด การวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องหรือไม่
การสรุปผล กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาหรือไม่ อธิบายรายละเอียดของกระบวนการวิจัยอย่างไร อธิบายผลจากการวิจัยชัดเจนหรือไม่ ผลการวิเคราะห์เป็นปรนัยหรือไม่ ผลสรุปที่ได้สอดคล้องกับข้อมูลที่นำมาเสนอแนะและวิเคราะห์หรือไม่
ที่มา 1) 202.129.34.51/cur/vijai.ppt 2) ตัวอย่างรายงานการวิจัย social media.2553