PLC คืออะไร? Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกะ ที่สามารถโปรแกรมได้ PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำเนิดจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงาน อุตสาหกรรมที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมา เพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้ เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER โรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ 2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือน คอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย 3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น
ประวัติ PLC ค.ศ.1969 PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิต รถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydromantic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ประวัติ PLC (ต่อ) ค.ศ.1970-1979 ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการ เปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถในการสื่อสารข้อมูล ระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมี การใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ประวัติ PLC (ต่อ) ค.ศ.1980-1989 มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programming terminal
ประวัติ PLC (ต่อ) ค.ศ.1990-ปัจจุบัน ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตรฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย - IL (Instruction List) - LD (Ladder Diagrams) - FBD (Function Block Diagrams) - SFC (Sequential Function Chart) - ST (Structured Text)
โครงสร้างของ PLC
หน่วยความจำของ PLC 1. RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้ เพื่อใช้เลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและเขียนโปรแกรมลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก จึงเหมาะกับการใช้งานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมบ่อยๆ
หน่วยความจำของ PLC (ต่อ) 2. EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิด EPROM นี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนโปรแกรม การลบโปรแกรมทำได้โดยใช้ แสงอัลตราไวโอเลตหรือตากแดดร้อนๆ นานๆ มีข้อดีตรงที่โปรแกรมจะไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรม
3. EEPROM (Electrical Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิดนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม โดยใช้วิธีการ ทางไฟฟ้าเหมือนกับ RAM นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟเมื่อไฟดับ ราคาจะแพงกว่า แต่จะรวมคุณสมบัติที่ดีของทั้ง RAM และ EPROM เอาไว้ด้วยกัน
แสดงโครงสร้างภายในของ PLC
ส่วนประกอบของ PLC PLC แบ่งออกได้ 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. ส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (Control Processing Unit : CPU)
2. ส่วนที่เป็นอินพุต/เอาต์พุต (Input Output : I/O)
2. ส่วนที่เป็นอินพุต/เอาต์พุต (Input Output : I/O)
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices) • PROGRAMMING CONSOLE • EPROM WRITER • PRINTER • GRAPHIC PROGRAMMING • CRT MONITOR • HANDHELD • etc
PROGRAMMING CONSOLE
EPROM WRITER
PRINTER
GRAPHIC PROGRAMMING
CRT MONITOR
HANDHELD
แบบฝึกหัดที่ 1 1. จงบอกข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER 2. จงบอกโครงสร้างของ PLC ประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย 3. จงบอกอุปกรณ์ อินพุต และอุปกรณ์เอาต์พุต พร้อมหลักการทำงาน มา ประเภทละ 3 ชนิด 4. จงอธิบายคำต่อไปนี้ - ROM - RAM - EPROM - EEPROM 5. จงเขียนประวัติของ PLC