พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์และสยามวงศ์สมัยอยุธยา สมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1967 เริ่มมีคณะสงฆ์จากอยุธยา และกลุ่มแคว้นใกล้เคียงไปบวชใหม่และศึกษาธรรมวินัยอยู่ศรีลังกา กลับมานำพระเถระจากลังกามาด้วย 2 รูป และเผยแผ่พุทธศาสนา และคนไทยเรียกพระสงฆ์สายนี้ว่า “คณะป่าแก้ว” เกิดพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ในดินแดนไทย พ.ศ. 2295 สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ได้นิมนต์พระอุบาลีเถระและพระอริยมุนีเถระ พร้อมพระติดตามอีก 16 รูป ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ลังกา เกิดพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในประเทศลังกา
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 พระพุทธศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 เกิดปรัชญาการเมืองแบบพระราชาคือมหาชนสมมติแตกต่างจากพระราชาคือ เทวราชา สมัยอยุธยา จัดสังฆมณฑล พ.ศ. 2311 ณ วัดบางหว้าใหญ่ คือวัดระฆังโฆสิตาราม ในปัจจุบัน ทรงบูรณะพระอารามต่างๆกว่า 200 แห่ง พร้อมกับให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมศีลคุณบริบูรณ์ในพระพุทธศาสนาแล้ว แม้นจะปรารถนามังสะรุธิระ (เลือด) ของโยม โยมก็อาจจะเชือดเนื้อแลโลหิตออกมาบำเพ็ญทานได้” บำรุงการเล่าเรียนพระไตรปิฎก มีการตั้งรางวัลเป็นแรงจูงใจให้พระสงฆ์
อาคารท้องพระโรงภายในพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ที่ประทับเก๋งคู่ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 (ต่อ) พระพุทธศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 (ต่อ) รวบรวมพระไตรปิฎก และคัมภีร์วิสทธิมรรค ชำระพระอลัชชี ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือธรรมะเรื่องสั้น เรื่อง “ลักษณะบุญ” ที่อธิบายลักษณะการปฏิบัติธรรมขั้นสูง “สมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวง” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ปรากฏในบานแพนกของสมุดภาพนี้ว่ามีรับสั่งให้พระยาศรีธรรมธิราช จัดพระสมุดเนื้อดี ส่งให้ช่างเขียนไปเขียนสมุดภาพไตรภูมิบุราณ ฉบับหลวง ที่วัดบางว้าใหญ่ เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ทรงกำกับดูแลการเขียน บอกเรื่อง และคัดข้อความภาษาบาลีประกอบไว้ให้ชัดเจน
ภาพบางตอนในสมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวง