เรื่อง วัฏฏะ 3 อาหารเสริมของวัยรุ่น จัดทำโดย ด. ช เรื่อง วัฏฏะ 3 อาหารเสริมของวัยรุ่น จัดทำโดย ด.ช.อาทิตย์ ภูมิภูเขียว ม.3/1 เลขที่ 2 ครูที่ปรึกษา ครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ กเกดด้า
วัฏฏะ3และการบริโภคอาหาร วัฏฏะ มี 3 องค์ประกอบ คือ กิเลส กรรม วิบาก เมื่อบุคคลทำอะไรลงไป ไม่ว่าทางใด หากทำลงไปด้วยกิเลสที่อยู่ในใจ ก็จะก่อให้เกิดกรรมเมื่อเกิดกรรมก็จะเกิดวิบากกรรมคือผลตามมา วิบากหรือผลอันนี้ก็จะก่อให้เกิดกิเลสขึ้นอีก และกิเลสจะก่อให้เกิดกรรมขึ้นอีก กรรมนี้จะก่อให้เกิดวิบาก หรือผลขึ้นอีก วนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าคนจะดับกิเลสหมดสิ้น จึงจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
วัฏฏะ 3 ได้แก่ 1. กิเลสหรือกิเลสวัฏฏ์ (Defilements) วงจรของกิเลส เป็นตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งการกระทำต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน 2. กรรมหรือกรรมวัฏฏ์ (Karma or Action) วงจรกรรมเป็นกระบวนการกระทำหรือปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ 3. วิบากหรือวิปากวัฏฏ์ (Results) วงจรวิบาก คือ สภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของการกระทำและกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างให้เกิดกิเลสต่อไปอีก ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สาฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การบริโภคอาหารจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองและบุคคลภายในครอบครัว แต่ละครอบครัวจะต้องต่อสู้กับชีวิตและความเป็นอยู่ภายในครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่บางครอบครัวอาจขาดการดูแลเอาใจใส่ตนเองและบุคคลภายในครอบครัว เพราะเนื่องจากต้องออกหางาน ทำงานแข่งกับเวลา เพื่อหาเงินมาเลี้ยงบุคคลภายในครอบครัว ทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพตนเอง ทำให้ตนเองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การบริโภคอาหารสำเร็จรูป การบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ บริโภคอาหารมากเกินไป และไม่รับประทานอาหารเป็นเวลา ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน โรคภาวะโภชนาการเกิน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
พฤติกกรมการบริโภคอาหาร 1 พฤติกกรมการบริโภคอาหาร 1. อดอาหารบางมื้อ เด็กวัยรุ่นเป็นห่วงรูปร่างมากกว่าอย่างอื่น โดยเฉพาะเด็กหญิงกลัวความ อ้วน หรือน้ำหนักมากเกินไปทำให้รูปร่างไม่สวย จึงมักแก้ปัญหาโดยการอดอาหาร 2. นิสัยการบริโภคไม่ดี เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านการศึกษาและสังคม ทำให้ไม่ค่อย ได้บริโภคอาหารที่บ้าน นิสัยการบริโภคอาจเปลี่ยนแปลงตามเพื่อนมากกว่าบิดามารดา 3. เบื่ออาหาร เป็นปัญหาที่พบมากในเด็กวัยรุ่น ถ้ามีเหตุทำให้กระทบกระเทือนทางจิตใจ หรือ อารมณ์ถูกรบกวน เช่น ผิดหวังเสียใจในเรื่องต่าง ๆ ก็เป็นเหตุให้เบื่ออาหาร หรือไม่อยากอาหารได้ เป็นต้น 4. ชอบบริโภคอาหารจุบจิบ คือ บริโภคอาหารตามมื้อแล้วไม่เพียงพอ ยังบริโภคอาหาร ระหว่างมื้ออีกด้วย ซึ่งทำให้บริโภคอาหารมากกว่าที่ควร ซึ่งทำให้เกิดโรคอ้วน โรคฟันผุ 5. ความเชื่อผิด ๆ ในเรื่องอาหาร เด็กวัยรุ่นมักจะหลงเชื่อและบริโภคอาหารที่โฆษณาว่ามีคุณค่าต่าง ๆ เช่น ลดความอ้วนได้
4.2 อาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น วิตามินและสารอาหารสำหรับวัยรุ่น เสริมสติปัญญาและสายตาและสุขภาพของวัยรุ่น ให้มีพัฒนาการที่ดี สมองของเด็กหลังคลอดทั่วโลกจะมีรูปแบบเหมือนกัน โดยแบ่งเป็น 2 ซีก คือสมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี ส่วนของการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองทั้งสองด้านจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 11-13 ปี แต่สิ่งที่กำหนดให้เด็กมีไอคิวต่างกัน คือ วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ การอบรมการเลี้ยงดู เซลล์สมองที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ซึ่งประสิทธิภาพของสมองนั้นก็จะขาดหายไป เช่น การคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อย่างเช่น คนไทยสมองส่วนนี้จะหดหายไป
ปัจจัยที่มีผลต่อสมอง ปัจจัยที่ทำให้สมองเจริญเติบโตดีสำหรับกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ 1.การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เข้าร่วมสังคม 2.ช่วยเหลือตัวเองตามวัย ได้ทำหรือเรียนสิ่งที่ชอบ 3.ได้รับคำชมเชย ความรักจากพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด 4.ศิลปะ ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลงตามความชอบและอิสระไม่ใช่ท่องทฤษฎี 5.มองตนเองในแง่บวก 6.ได้จินตนาการ เช่นฟังนิทาน 7.เป็นคนยืดหยุ่น 8.ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินบี 9.ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม สร้างกระบวนการคิดมากกว่าเน้นความจำ 10.ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
สรุป เมื่อสติลดกิเลศก็จะทำให้การบริโภคอาหาร ของวัยรุ่นที่ดีขึ้นและทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
ที่มา http://www. nmt. ac. th/product/web/1/food. html และ http://www ที่มา http://www.nmt.ac.th/product/web/1/food.html และ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dharma&month=13-01-2006&group=3&gblog=5