ระบบการสื่อสารข้อมูล www.krusorndee.net/group/krujindawan ระบบการสื่อสารข้อมูล
ระบบการสื่อสารข้อมูล 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) 3. ข้อมูล (Data) 4. สื่อนำข้อมูลหรือตัวกลาง (Medium) 5. โพลโทคอล (Protocol)
1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่ง ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับผู้ส่งข้อมูล
3. ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อนำข้อมูลหรือตัวกลาง (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น คน อากาศ และสายเคเบิล
5. โพลโทคอล (Protocol) คือ กฎเกณฑ์ ข้อตกลง หรือวิธีการในการสื่อสารข้อมูลซึ่งผู้ส่งและผู้รับจะต้องตกลงวิธีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะส่งและรับข้อมูลได้ถูกต้อง
การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน ทิศทางการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้รับทำหน้าที่รับแต่เพียงอย่างเดียว สื่อนำข้อมูลมักมีคุณสมบัติในการเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ข้อดี ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา ข้อเสีย ผู้รับข้อมูลอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งไป และผู้ส่งข้อมูลไม่ทราบว่าผู้รับได้รับข้อมูลนั้นหรือไม่ ตัวอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ ประกาศ จดหมาย e-mail ข้อความ การดูหนัง ฟังเพลง ฟังประกาศ อ่านหนังสือต่าง ๆ
การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) ผู้สื่อสารจะผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยในขณะที่มีการสื่อสารข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะต้องรอให้ผู้ส่งข้อมูลส่งเสร็จก่อนจึงจะสามารถส่งข้อมูลกลับได้ จึงมักมีคำพูดท้ายข้อมูลว่าจบการส่งข้อมูล นิยมใช้เป็นการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม เช่น วิทยุสื่อสาร วอ. ของ ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในปัจจุบันไม่นิยมใช้การสื่อสารประเภทนี้เนื่องจากยุ่งยากและมีเทคโนโลยีอื่นที่สะดวกกว่า
การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) พัฒนาจากสองทิศทางสลับกัน ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งข้อมูลให้เสร็จก่อน เป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากผู้สื่อสารสามารถตรวจสอบผลลัพธ์จากการสื่อสารข้อมูลได้ทันที ตัวอย่าง การสนทนาโดยตรง สนทนาผ่านโทรศัพท์ แชทผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณ สัญญาณแอนะล๊อค Analog Signal ลักษณะสัญญาณเป็นรูปคลื่น แทนสัญลักษณ์ด้วยรูปกราฟคลื่นไซน์ ซึ่งมีความความถี่เท่ากับจำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ในหนึ่งวินาที เช่น คลื่นความถี่ 104.5 เมกะเฮิร์ต หมายถึง ค่าของสัญญาณเสียงที่ถูกแปลงเป็นสัญญาณแอนาล๊อค 104.5 ล้านรอบใน 1 วินาที ข้อเสีย คือ สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่าย ถ้าส่งข้อมูลไปไกล ๆ สัญญาณจะอ่อนลงและมีสัญญาณรบกวน เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ และสัญญาณเสียงที่ส่งจากสถานีวิทยุ
สัญญาณดิจิทัล สัญญาณดิจิทัล (Digital signal) เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องในรูปแบบกราฟสี่เหลี่ยม สัญญานมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปะติดปะต่อ การส่งข้อมูลจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลหรือ 0 และ 1 ก่อนแล้วจึงแปลงให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณอีกทีหนึ่ง สัญญาณดิจิทัลคุณภาพและความแม่นยำมากกว่าสัญญาณแอนาล๊อค การส่งสัญญาณทางไกลจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณรีพีทเตอร์ เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวน