รายงาน เรื่อง ความหลากหลายของพืช เสนอ ครู ภัทรศยา เย็นเมือง โดย ด.ญ.บุตรดี จำปางาม ด.ญ.แจ่มนภา ชุมศรี ด.ช.ชวลิต บุญดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา วิทยาศาสตร์
คำนำ รายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาต่อไปและค้นหาความรู้จากรายงานเล่มนี้ได้
สารบัญ เรื่อง หน้า ความหลากหลายของพืช 1 -พืชไม่มีท่อลำเลียง 1 เรื่อง หน้า ความหลากหลายของพืช 1 -พืชไม่มีท่อลำเลียง 1 - พืชที่มีท่อลำเลียง 7 - ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อลำเลียง 8
พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ความหลากหลายของพืช พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ลักษณะทั่วไปของพืชไม่มีระบบท่อลำเลียง 1. มีขนาดเล็ก มักเจริญเติบโตใกล้แหล่งน้ำ 2. ไม่มีเนื้อเยื่อโดยเฉพาะสำหรับลำเลียงสาร 3. ไม่มีราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริง
ตัวอย่างของพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง 1.มอส ลักษณะทั่วไปของมอส 1.เป็นพืชขนาดเล็กขึ้นเรียงกันหนาแน่นคล้ายพรมสีเขียว พบตามพื้นดิน อิฐ 2.มีอวัยวะคล้ายรากเรียกว่ารากเทียม หน้าที่ใช้ยึดดิน ดูดน้ำ มีส่วนคล้ายใบเล็ก มีสีเขียวไม่มีเส้นใยสังเคราะห์แสงได้ 3. มีการสืบพันธ์แบบสลับ ประโยชน์ของมอส ช่วยเก็บความชื้น 2. ปกคลุมผิวดิน 3. ป้องกันการสึกกร่อนของผิวดิน 4. ทำให้หินผุแตกสลายเป็นดิน 5. ใช้เป็นเชื้อเพลิง
2.ลิเวอร์เวอร์ต ลักษณะทั่วไปของลิเวอร์เวอร์ต 1 ลักษณะเป็นแผ่นแบนบาง ๆ สีเขียวขนาดเล็กขึ้นตามหินหรือดินชื้น ๆ 2. มี rhizoid อยู่ทางด้านล่างทำหน้าที่ ยึดเกาะและดูดน้ำ 3. ไม่มีท่อลำเลียง
พืชที่มีท่อลำเลียง พืชมีระบบท่อลำเลียงจัดอยู่ในดิวิชั่นทราคีโอไฟตาเนื้อเยื้อทำหน้าที่ลำเลียง ของเหลวเรียกว่า เนื้อเยื่อวาสคิวลาร์ Vascular tissue: เนื้อเยื่วาสคิวลาร์เป็นเนื้อเยื่อพิเศษทอดยาวอยู่ภายในพืช ที่มีท่อลำเลียง จะลำเลียงสารเป็นของ เหลวขึ้นสู่ลำต้น ในระยะที่ลำต้นยัง ไม่เจริญเต็มที่จะมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า วาสคิวลาร์บันเดิล เมื่อลำต้นเจริญ เต็มที่กลุ่มเซลล์นี้จะเปลี่ยนเป็นเนื้อไม้แข็งอยู่กลางลำต้น ในรากที่ยัง เนื้อเยื่อจะเรียง ตัวแตกต่างกันเนื้อเยื้อวาสคิวลาร์ประกอบด้วย2ส่วนคือไซเลมและโฟลเอม ระหว่าง ไซเลมและโฟลเอมมีเยื่อแคมเบี่ยมกั้นกลาง
ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อลำเลียง ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อลำเลียง Xylem:ไซเลม เนื้อเยื่อไซเลมทำหน้าที่ ลำเลียงน้ำขึ้น ลำต้นไซเลมประกอบ ด้วยเวสเซลซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต เวสเซลล์จะเป็นส่วน กลางของลำต้น และเป็นแกนของต้นไม้ Phloem: โฟลเอม เป็นเนื้อเยื่อทำหน้า ที่ลำเลียงอาหารที่ใบสร้างขึ้นไปยังส่วนต่างๆของลำต้น เนื้อเยื่อโฟลเอมประกอบด้วยซีฟทิวบ์ลักษณะเป็นท่อยาว ผนังที่กั้นระหว่างเซลล์ซีฟทิวบ์มีรูทำให้มีลักษณะคล้ายตะแกรงเรียกว่าซีฟเพลท สารละลายจะผ่านจากเซลล์หนึ่ง ไยังอีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านทางรูนี้ ด้านข้างซีฟทิวบ์ มีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า คอมแพเนียลเซลล์และกลุ่มเซลล์อื่นๆช่วยทำหน้าที่ลำเลียง อาหาร
เวสเซล(Vessels) เป็นท่อยาวอยู่ในเนื้อเยื่อไซเลม มีหน้าที่ลำเลียงน้ำ ผนังเซลล์หนา แข็งแรง เพราะมีลิกนินฉาบอยณู่ที่ผนังเซลล์ เซลล์จะมีผนังเซลล์และโปรโตปลาสซึมที่ไม่มีชีวิตแล้ว ซีฟทิวบ์(Sieve tubes) เป็นเซลล์ยาวอยู่ในกลุ่มเซลล์ของโฟลเอม ไม่มี นิวเคลียส และโปรโตปลาสซึม แต่ส่วของผนังเซลล์ยังแนบชิดกัน ผนังที่กั้นระหว่างเซลล์ซีฟทิวบ์ที่ต่อกันเป็นท่อตามยาวมีลักษณเป็นรูเรียก ซีฟเพลท สารอาการต่างๆ ผ่านรูนี้ แคมเบียม(Cambium) เป็นชั้นเซลล์ที่มีลักษณะบางกั้นระหว่างไซเลมและ โฟลเอม โดยมีโฟลเอมอยู่ด้านนอและโฟลเอมอยู่ด้านใน เซลล์ชั้นแคมเบียมแบ่งเซลล์ทำให้จำนวนเซลล์ไซเลมและโฟลเอมเพิ่มมากขึ้น บริเวณที่เซลล์แบ่งตัวเรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญ
กลุ่มพวกเฟิน เฟินและญาติของเฟินรวมกันเป็นกลุ่ม division ในอาณาจักรพืชทีเรียกว่า Pteridophyta พืชกลุ่มนี้ เป็นพืชไม่มีดอก และการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมีวิธีการที่เห็นไม่ชัดเจน ลักษณะการขยายพันธุ์แบบนี้มีในพืชชนิดอื่นอีก เช่น สาหร่าย มอส และลิเวอร์เวิร์ท จึงเรียกพืชในกลุ่มที่มีการขยายพันธุ์แบบเห็นไม่ชัดนี้ว่า Cryptogams หมายความว่า "hidden marriage" เฟินและญาติของเฟิน มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสาหร่ายและมอสอยู่หลายประการ แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างออกไปมากที่สุดก็คือ มีระบบท่อลำเลียง ที่ใช้ลำเลียง น้ำ สารอาหาร และโฮโมนอยู่ภายใน