344-492 โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนบทความวิจัย
โครงสร้างของบทความวิจัย บทความทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อบทความ (Titlepage) บทคัดย่อ (Abstract) บทนํา (Introduction) ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เนื้อหา วิธีการ (methods) ผลลัพธ์ (results) บทวิจารณ์ (discussion) บทสรุป (Conclusions) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เอกสารอ้างอิง (References)
ตัวอย่างบทความ http://www.ecti-thailand.org/paper/views/7
วิธีการตั้งชื่อบทความ ไม่จําเป็นต้องเป็นชื่อเดียวกับโครงงาน ดึงดูด (Attractive) อธิบาย (Descriptive) สั้น กระชับ(Short) สอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ (Consistentwiththetext) เข้าใจง่าย (Easytounderstand) สืบค้นในฐานข้อมูล เช่น ห้องสมุดดิจิตอล ได้ง่าย (Easytoretrievefroma database)
การเขียนบทนํา บทนํา เป็นการเกริ่นบอกกล่าวให้รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร การขึ้นบทนํามีอยู่ ๒ แบบ คือ การกล่าวทั่วไปก่อนที่จะวกเข้าเรื่องที่จะเขียน การกล่าว เจาะจงลงไปตรงกับหัวเรื่องที่จะเขียนเลยทีเดียว การเขียนบทนํา ต้องให้นาอ่านชวนติดตาม เพราะผู้อ่านนิยมอ่านย่อหน้าแรกก่อน
บทคัดย่อ ให้สาระ ภาพรวมของบทความ และควรจะมีความเข้าใจง่ายในตัวบทคัดย่อเอง ช่วยทําให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ว่า จะอ่านต่อไปหรือไม่โดย บทคัดย่อ ควรมีเนื้อหาดังนี้ สิ่งที่ผู้เขียนศึกษา ระบุปัญหาที่เป็นที่มาของการทําโครงงาน วิธีการที่ทําการศึกษา สิ่งที่ได้ บทสรุป
การเขียนบทนํา (ต่อ) โดยทั่วไป การเขียนบทนําควรจะมีโครงสร้างดังนี้ ระบุวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้ อธิบายสาเหตุของงานในบทความ ความสัมพันธ์ของบทความนี้ที่อาจเป็นประโยชน์กับงานอื่นๆ ในอนาคต ย่อหน้าสุดท้ายของบทนําอาจบอกเนื้อหาต่อมาของบทความวาประกอบด้วยอะไรบ้าง
การเขียนบทนํา (ต่อ) ตัวอย่างย่อหน้าสุดท้ายในบทนํา เนื้อหาของบทความในส่วนที่ 2 จะกล่าวถึงที่มาและแรงจูงใจของปัญหา ส่วนที่ 3 อธิบายถึง งานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและพัฒนาระบบ จะแสดงใน ส่วนที่ 4ส่วนที่ 5 และ 6 จะกล่าวถึงการทดสอบใช้งานและบทสรุป ตามลําดับ
การเขียนทฤษฏีและงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่ใช่เป็นส่วนของโครงงานที่ผู้เขียนคิด หรือพัฒนาขึ้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา เนื้อหาความรู้ที่ต้องมีการอ้างอิง ตัวเลขหรือข้อความสถิติ ข้อความเป็นแนวความคิด ผลการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ รวมตาราง แผนภูมิและรูปภาพ วิธีการอ้างอิงผลงานผู้อื่น คัดลอก ถอดความ สรุป
หลักการเขียนข้อความที่อ้างอิง ระบุชื่อหรือไม่ระบุชื่อเจ้าของผลงาน ถอดความ สรุป หรือคัดลอก การใส่เครื่องหมายอัญประกาศหรือไม่ใส่
การเขียนส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สําคัญและเป็นส่วนที่ยาวที่สุด รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมด ย่อหน้าแต่ ละย่อหน้าในเนื้อเรื่องจะต้องสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน มีลําดับขั้นตอนไม่วกวนไปมา ก่อนที่จะเขียนบทความผู้เขียนจึงต้องหาข้อมูล หาความรู้ที่จะนํามาเขียนเสียก่อน การหาข้อมูลนั้นอาจได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามผู้รู้ การเดินทางท่องเที่ยว การ อ่านหนังสื่อพิมพ์ หรือหนังสื่อต่างๆ ในการเขียนเนื้อเรื่องควรคํานึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ ๑. ใช่ถ้อยคําที่ถูกต้องตามความหมาย ใช้ตัวสะกดถูกต้องตามพจนานุกรม ๒. ใช้สํานวนโวหารให้เหมาะกับเรื่อง เช่น ใช่ถ้อยคําที่เป็นทางการ ใช้ศัพท์เฉพาะในการ เขียนบทความทางวิชาการ ๓. มีข้อมูล เหตุผล สถิติและการอ้างอิงประกอบเรื่อง เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ
การเขียนบทสรุป เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องการบอกให้ผู้อื่นทราบว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว ผู้เขียนควรมีกลวิธี ที่จะทําให้ผู้อ่าน พอใจ ประทับใจ ส่วนสรุปนี้เป็นส่วนที่ฝาก ความคิดและปัญหาไว้กับผู้อ่านหลังจากที่อ่านแล้ว การเขียนสรุปหรือคําลงท้ายมี หลายแบบดังนี้ ๑. สรุปด้วยคําถามที่ชวนให้ผู้อื่นคิดหาคําตอบ ๒. สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน ๓. สรุปด้วยใจความสําคัญ
การระบุแหล่งอ้างอิง ระบบนามปี ระบบตัวเลข ระบบเชิงอรรถ
ตัวอย่างรูปแบบการเขียนบทความจากงานประชุมวิชาการ http://www.nccit.net/download.html http://ncit2012.mut.ac.th/?page_id=20