วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมและการแก้ปัญหา
Advertisements

การวิเคราะห์และใช้รหัส ICD ให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด
สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 16 กุมภาพันธ์ 2550
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
Graduate School Khon Kaen University
การทำงานเชิงรุกและการส่งต่อ
รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 10 (จังหวัด)
เอกสารเคมี Chemistry Literature
แนวโน้มผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ปี
รายงานอุบัติเหตุขนส่ง ปี 2552 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่
รายงานบาดเจ็บอุบัติเหตุจราจร ปี 2551
รายงานการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่ง โรงพยาบาลหาดใหญ่ ปี 2551
รายงานอุบัติเหตุขนส่ง ปี 2553
แนวคิดใหม่ ๆ ในการทำให้ รถจักรยานยนต์ปลอดอุบัติเหตุ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ที่สงขลา มีอุบัติเหตุขนส่ง สูงกว่า
รายงานเรื่อง เด็กปลอด
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรรคุณค่าวิชาการ สู่สังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Hatyai GIS-based Accident Data Recording & Analysis
( สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ )
การเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา
แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ
การวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA: Public Sector Management Quality Award)
การทำรายงานสรุปคุณภาพน้ำประจำปี
การติดตาม และประเมินโครงการ.
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
การดำเนินงานอาชีวเวชศาสตร์: แพทย์ที่ผ่านการอบรม
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. และ ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2557
แนวทางการดำเนินงานในการสำรวจพื้นที่ล่อแหลม
ทะเบียนรับแจ้งข่าวการระบาด
ประชุมwar room ครั้งที่ 3/2554
การดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ฝ สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน / ผู้ประกอบการ
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม.
การประยุกต์ใช้ GIS ของกทม.
การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่
การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ และการพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ
พื้นที่โครงการ 11 พื้นที่
คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการ ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
หลักการนำเสนอ ข้อมูลสถิติ
การประชุมชี้แจงรายละเอียด
ไข้เลือดออก.
รายงานสถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2552
ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินการ มาตรการประหยัดพลังงาน
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
โรคทางระบาดวิทยาที่มีอัตราป่วยสูง 10 ลำดับแรกของจังหวัดเลย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 29 เมษายน 2555.
ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของส่วนราชการ
สิ่งที่ต้องทำต่อ 1.นำเสนอผลสำเร็จของนโยบาย ปี นำเสนอนโยบายปี 55 และตัวชี้วัด สำคัญ ตามใบงานที่ 7 8และ 9 ประธาน : นพ.สสจ. วันที่ 13 ก.ย.54 เวลา 13.00น.
สรุปสถิติ ค่ากลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เรียงข้อมูล ตำแหน่งกลาง มัธยฐาน
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รายงานสถานการณ์
แนวคิดและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ขั้นตอนการจัดนักศึกษาเข้าสังกัดสาขาวิชา
สรุปอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2549
ที่ดิน 200 ไร่ จังหวัดอุดรธานี ของคุณเปรมศักดิ์ ภู่ม่วง
ความคิดเห็นที่มีต่อการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของ บุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยี ฐานเทคโนโลยี บรรยวัสถ์ สินทรัพย์
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
การตรวจราชการและนิเทศงานฯ
การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ ปี 2556 จังหวัดภูเก็ต
ศูนย์อำนวยการจราจร และลดอุบัติเหตุทางถนน ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์
ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พ.ศ. 2547-2549

ความเป็นมา ฐานข้อมูลอุบัติเหตุจราจรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้ เป็นวิทยานิพนธ์คณะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (การขนส่ง) ของนางสาวชนิดา ฆังคะจิตร เมื่อปี พ.ศ. 2545 และได้รับการพัฒนาระบบจัดการข้อมูล จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล ชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ ได้รับอนุญาตใช้ฐานข้อมูลนี้ เพื่อบันทึกและติดตามความรุนแรงจากอุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน ตั้งแต่ปี 2547 ฐานข้อมูลนี้ได้กำหนดรหัสกำกับจุดตัดของถนนและช่วงถนนทั้งหมด 456 จุด เฉพาะเส้นทางสายหลักในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และเส้นทางหลวงที่อยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

แหล่งข้อมูลและการจัดการ ข้อมูล : รับข้อมูลจากศูนย์วิทยุกู้ภัย มูลนิธิมิตรภาพสามัคคีท่งเซีย-เซี่ยงตึ๊ง จำเพาะรายที่ศูนย์วิทยุกู้ภัย ได้รับแจ้งและช่วยผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร รายละเอียดข้อมูล : ประกอบด้วย เลขรหัสอุบัติเหตุ วันที่ วันประจำสัปดาห์ เวลา ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ยานพาหนะ จุดที่เกิดเหตุ บาดเจ็บสาหัสหรือเล็กน้อย หรือเสียชีวิต โปรแกรม : MapInfo การบันทึกข้อมูล : ชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ บันทึกข้อมูล : นางสาวปฐมพร ซื่อธานุวงศ์ ให้ข้อคิดเห็น : นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแหล่งความชุกของอุบัติเหตุบนโครงข่ายถนน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามแนวโน้มการเคลื่อนย้ายแหล่งความชุกของอุบัติเหตุแหล่งใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยรวม เช่น วันของสัปดาห์ เวลา และพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ ต่อสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มอ.(สวรส.) เพื่อการวิจัยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลในด้าน รายงานจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามปี เดือน วันของสัปดาห์ และช่วงเวลา จำนวนและประเภทของยานพาหนะ ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุด้วยจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุของช่วงถนนหรือจุดตัดบนโครงข่ายถนน ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุด้วยการจัดลำดับจำนวนอุบัติเหตุ และค่าดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุ วิเคราะห์แหล่งที่มีความรุนแรงเพื่อเป็นกรณีศึกษา 2 แหล่ง หมายเหตุ : การวิเคราะห์ผลไม่นำปริมาณการจราจรมาร่วมพิจารณา โปรแกรมสามารถวิเคราะห์เรื่องอื่น ๆ เช่น การใช้อุปกรณ์นิรภัย ปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ อายุผู้ขับขี่ ฯลฯ แต่เนื่องจากไม่มีการบันทึกข้อมูลส่วนนี้ จึงไม่สามารถวิเคราะห์ผล

* ในบางช่วงจะมีการให้ข้อคิดเห็นเพื่อให้ผุ้อ่านพิจารณาเพิ่มเติม และหรือเพื่อคิดใช้สำหรับลงลึกการทำวิจัย *

ขั้นตอนในการเสนอข้อมูลใน power point นี้ ข้อมูลภาพรวมเพื่อแสดงการกระจายของอุบัติเหตุ จำแนกตามปี เดือน วันของสัปดาห์ และเวลา ข้อมูลของตัวอย่างแหล่งความชุกสูงและต่อเนื่อง ในเมืองหาดใหญ่(รวมทั้งข้อบกพร่อง) ภาคผนวก - วิเคราะห์แหล่งความชุก[สำหรับผู้สนใจที่รู้จักพื้นที่] ก. ลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ ข. คำนวณค่าดัชนีความรุนแรง

เฉลี่ยจำนวนอุบัติเหตุต่อเดือน จำนวนครั้ง

ข้อคิดเห็น – 1 (อุบัติเหตุต่อปี) จำนวนอุบัติเหตุที่ต่ำในปี 2547 อาจเพราะการบันทึกข้อมูล ณ ที่เกิดเหตุยังไม่สมบูรณ์ (ชี้แจง : เพราะจำนวนอุบัติเหตุในแต่ละปีแตกต่างกัน และเพื่อสามารถเปรียบเทียบระหว่างปีหรือเดือน ฯลฯ จึงปรับหน่วยเป็นร้อยละ(%) ของค่าเฉลี่ยต่อเดือนหรือต่อสัปดาห์หรือต่อชั่วโมงของปี)

ความชุกจำแนกตามเดือน % ค่าเฉลี่ย

ข้อคิดเห็น – 2 (อุบัติเหตุต่อเดือน) 2. จะสังเกตว่า จำนวนอุบัติเหตุในช่วงต้นของปี 2547 มีน้อย เพราะวิธีเฉลี่ย แล้วเลยเพิ่มมากเมื่อปลายปี 3. สำหรับปี 48, 49 แทบทุกเดือนจะมีปริมาณอุบัติเหตุ เท่า ๆกัน (คือประมาณ 90-110%)

อุบัติเหตุจำแนกตามวันของสัปดาห์ % ค่าเฉลี่ย

ข้อคิดเห็น – 3 (อุบัติเหตุต่อวันของสัปดาห์) 4. จำนวนอุบัติเหตุสูงตั้งแต่วันพฤหัสฯ ถึงวันอาทิตย์ไม่ว่าปีใด (สังเกต: เฉลี่ย พุธ = 90% สูงสุดท้ายสัปดาห์ = 110%) คำถามวิจัย : มีสาเหตุอื่นไหม นอกจาก “เที่ยว” และ “ดื่ม” ที่ทำให้อุบัติเหตุเพิ่มจาก 75-90%(วันจันทร์ถึงพุธ) ไปเป็น 100-125% วันท้ายสัปดาห์

อุบัติเหตุจำแนกตามช่วงเวลาของวัน % ค่าเฉลี่ย ช่วงเวลา(นาฬิกา)เกิดเหตุ 5 = 04.00-04.59 น.

ข้อคิดเห็น – 4 (อุบัติเหตุต่อชั่วโมง) 5. อุบัติเหตุจะมีมากตั้งแต่ เวลา 19.00 – 03.00 น. 6. สังเกตว่ามี 1 ชั่วโมง(24.00 หรือ 1.00 น.) ที่จำนวนลดลง–ทำไม?– น่าจะมาจากการบันทึก/รวบรวมข้อมูล คำถามวิจัย : เช่นเดียวกับข้อ 4 หรือเปล่า เตือน : เราไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบพาหนะที่ร่วมอุบัติเหตุในต่างช่วงเวลา แต่ก็อาจออกมาในลักษณะภาพถัดไป

สัดส่วนพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ ปี 2547 จยย. = 702, กระบะ =200, เก๋ง =133, อื่นๆ = 51 ปี 2548 จยย. = 879, กระบะ =252, เก๋ง =163, อื่นๆ = 78 ปี 2549 จยย. = 1132, กระบะ =256, เก๋ง =209, อื่นๆ = 94 หมายเหตุ : ข้อมูลที่มียังไม่สามารถคำนวณ % ของการบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต จากประเภทยานพาหนะ

ในภาพถัด ๆไปจะแสดง 2 แหล่งตัวอย่าง (ที่หาดใหญ่) เพื่อศึกษาลงลึก ในภาพถัด ๆไปจะแสดง 2 แหล่งตัวอย่าง (ที่หาดใหญ่) เพื่อศึกษาลงลึก

วิเคราะห์แหล่งความชุกจากแผนที่โครงข่าย ปี 2547 – 2549 วัตถุประสงค์ : เพื่อติดตามข้อมูลเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและสูงต่อเนื่องตลอด 3 ปี (ปี 2549 จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุเพียง 9 เดือน) แนวทางการศึกษา : จัดลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ กำหนดเกณฑ์ความชุกคือ จุดตัด/ช่วงถนนที่มีอุบัติเหตุ 10 ครั้งขึ้นไป/ปี (ภาคผนวก ก.) คำนวณค่าดัชนีความรุนแรงเกณฑ์ กำหนดค่าความรุนแรง 4 ขึ้นไป (ภาคผนวก ข.) ข้อมูลเพื่อศึกษา - จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ - จำนวนผู้เสียชีวิต - จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส และจำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย - ประเภทพาหนะ พาหนะระหว่างคู่กรณีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยรวม คือวันเกิดเหตุของสัปดาห์ เวลาเกิดเหตุ

แหล่งความชุก : ตัวอย่างการศึกษา 2 แหล่ง แหล่งความชุก : ตัวอย่างการศึกษา 2 แหล่ง แยกถนนเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ ถึงมูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดตัดของถนนสายหลักกับถนนที่เป็นแหล่งสถานบันเทิง (แหล่ง ก) 2. ถนนเพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง ซึ่งเป็นช่วงถนนสายหลัก 4 เลนส์ ความยาวช่วงถนนประมาณ 2,600 เมตร (เครื่องมือวัดระยะทางของฐานข้อมูล) (แหล่ง ข) เหตุผลที่เลือกเป็นแหล่งศึกษา : เป็นทางแยก/ช่วงถนน ที่มีจำนวนครั้งของอุบัติเหตุและค่าความรุนแรงในระดับสูงจากการวิเคราะห์ข้อมูลรายปี ระหว่างปี 2547-2549

แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ ปี 2547-2549 ข้อมูลอุบัติเหตุ 2547 – อุบัติเหตุ 19 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 8 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 16 ราย 2548 - อุบัติเหตุ 13 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 5 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 12 ราย 2549 - อุบัติเหตุ 16 ครั้ง, เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บสาหัส 2 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 22 ราย

แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี 2547-2549 แหล่ง ก : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี 2547-2549 จำนวนคน ชาย 45 หญิง 21

แหล่ง ก : จำแนกอุบัติเหตุตามวันของสัปดาห์ (รวม) ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ บริเวณแยกนี้อุบัติเหตุเกิดชุกในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และจันทร์ = 79% (วันจันทร์ เริ่มจากหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์คือเวลา 00.01 – 23.59 น.)

ข้อคิดเห็น - 5 คำถามวิจัย : - ทำไมความชุกจึงเพิ่ม 5 เท่า 7. สำหรับทางแยกนี้–วันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์, จันทร์(เริ่ม0.00 น.) มีความชุก 5 เท่าของวันพุธ ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลของอุบัติเหตุรวม(ต่อปี) ในรายงานที่ได้เสนอมา คำถามวิจัย : - ทำไมความชุกจึงเพิ่ม 5 เท่า - ข้อมูลของการกระจายอุบัติเหตุตามช่วงเวลาจะช่วยหรือไม่(ภาพหน้า)

แหล่ง ก : จำแนกอุบัติเหตุตามช่วงเวลา ปี 2547-2549 จำนวนครั้ง เวลา 1=00.00-00.59 น. อุบัติเหตุเกิดชุกช่วงระหว่างเวลา 21.00-02.59 น. = 67%

ข้อคิดเห็น - 6 คำถามวิจัย : สถานบันเทิงอยู่ที่ไหน? 8. จะเห็นว่าอุบัติเหตุเพิ่ม 4–6 เท่าในช่วงเวลา 22.00–03.00 9. ที่ไปโป่งอีกทีตี 5 และไม่มีอุบัติเหตุตี 4 นั้น อาจมาจากวิธีบันทึก/วิเคราะห์ข้อมูล คำถามวิจัย : สถานบันเทิงอยู่ที่ไหน? สภาพของผู้ขับขี่ก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างไร?

แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะ ปี 2547-2549 แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะ ปี 2547-2549 จำนวน อุบัติเหตุเกิดกับผู้ใช้รถ จยย. = 73%

แหล่ง ก. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย ซึ่งคล้ายกับข้อมูลของอุบัติเหตุทุกระดับของความรุนแรง

แหล่ง ก : สัดส่วนของพาหนะเฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ

แหล่ง ก : สรุปวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส แยกถนนเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ ถึงมูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ เป็นจุดตัดที่มีสัญญาณไฟจราจร และสัญญาณไฟทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ผู้เสียชีวิต เป็นชาย 1 ราย เวลา 0.56 จากรถจยย. ชนเสาไฟฟ้า บาดเจ็บสาหัส : ก. ผู้ที่บาดเจ็บสาหัส เป็นชาย 14 ราย หญิง 1 ราย ข. รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะของผู้บาดเจ็บสาหัส 14 ใน 15 ครั้ง ค. ช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุรุนแรงระหว่าง 00.00-0.59 น. 5 ใน 15 ครั้ง

แหล่ง ก : จำแนกตามวันของสัปดาห์เฉพาะรายที่เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงกระจายอยู่ที่วันจันทร์ พฤหัสฯ ศุกร์ และเสาร์ (วันจันทร์ เริ่มจากหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์คือเวลา 00.01 – 23.59 น.)

แหล่ง ก : จำแนกตามเวลาเกิดอุบัติเหตุเฉพาะรายที่เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ หน่วยนับ = ทุก 2 ชม.

แหล่ง ข.

แหล่ง ข : จำนวนอุบัติเหตุ ปี 2547-2549 ข้อมูลอุบัติเหตุ 2547 – อุบัติเหตุ 23 ครั้ง, เสียชีวิต 1 ราย, บาดเจ็บสาหัส 6 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 19 ราย 2548 - อุบัติเหตุ 16 ครั้ง, เสียชีวิต 0 ราย, บาดเจ็บสาหัส 5 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 19 ราย 2549 - อุบัติเหตุ 25 ครั้ง, เสียชีวิต 3 ราย, บาดเจ็บสาหัส 2 ราย, บาดเจ็บเล็กน้อย 26 ราย

แหล่ง ข : สรุปวิเคราะห์อุบัติเหตุ แหล่งนี้เป็นช่วงถนนที่มีระยะทางประมาณ 2,600 เมตร ซึ่งค่อนข้างยาวเมื่อเปรียบกับช่วงถนนอื่นในแผนที่โครงข่าย เป็นเส้นทางสู่เส้นทางหลวง ระหว่างเส้นทางมีจัดตัดเชื่อมต่อชุมชนโดยรอบ เช่น บ้านควน บ้านท่าทอน บางแฟบ บ้านหน้าควนลัง ผู้เสียชีวิตเป็นชายทั้ง 4 ราย ดังนี้ - เก๋ง ชน จยย เวลา 19.50 น. บริเวณมัสยิด ควนลัง - กระบะ ชน จยย เวลา 21.02 บริเวณโรงเรียนนานาชาติ - จยย ชน ประตูบ้าน เวลา 0.34 น. เพชรเกษม ซอย 41 - กระบะ ชน คนเดินเท้า เวลา 21.38 น. เพชรเกษม ซอย 41 บริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ปากซอยเพชรเกษม 27 ตลาดเกษตร-เพชรเกษม ซอย 41 โรงเรียนบริหารธุรกิจนานาชาติ-มัสยิดควนลัง

แหล่ง ข : จำนวนอุบัติเหตุ แยกตามเพศ และความรุนแรง ปี 2547-2549 จำนวนคน ชาย 57 หญิง 25

แหล่ง ข : จำแนกอุบัติเหตุตามวันของสัปดาห์ ปี 2547-2549 จำนวนครั้งของอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงคือ วันเสาร์และอาทิตย์ = 52%

แหล่ง ข : จำแนกอุบัติเหตุตามช่วงเวลา ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ เวลา 1=00.00-00.59 น. อุบัติเหตุเกิดชุกช่วงระหว่างเวลา 00.00-01.59 น. = 20%

คำถามวิจัย : ทำไมการกระจายจึงแตกต่างจาก “แหล่ง ก” ข้อคิดเห็น - 7 10. ลักษณะอุบัติเหตุตามเวลาของวัน จะแตกต่างจาก “แหล่ง ก” สังเกตว่า “แหล่ง ข” กลางวันก็มีจำนวนอุบัติเหตุสูง ส่วนกลางคืนก็มีมากกว่าเพียง 2–3 เท่า เท่านั้น และหนักเพียง 2 วันคือ วันเสาร์/อาทิตย์(หลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์ก็ไม่สูง) คำถามวิจัย : ทำไมการกระจายจึงแตกต่างจาก “แหล่ง ก”

แหล่ง ข : จำนวนพาหนะและคนเดินเท้า ปี 2547-2549 จำนวนพาหนะ/คนเดินเท้า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับผู้ใช้รถ จยย. = 60%

แหล่ง ข. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย แหล่ง ข. แสดงข้อมูลโดยศึกษาแต่กลุ่มที่บาดเจ็บสาหัส/ตาย

แหล่ง ข : พาหนะคู่กรณีเฉพาะรายที่เสียชีวิตและเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ อุบัติเหตุที่รุนแรงเกิดกับผู้ใช้รถจยย. 14 ครั้งจากการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 15 ครั้ง

แหล่ง ข : วันของสัปดาห์เฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ วันของสัปดาห์ที่มีอุบัติเหตุรุนแรงกระจายอยู่ในวันพฤหัสฯ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

แหล่ง ข : เวลาเกิดอุบัติเหตุเฉพาะรายที่เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ปี 2547-2549 จำนวนครั้งอุบัติเหตุ หน่วยนับ = ทุก 2 ชม.

ข้อเสนอแนะจากข้อมูล การศึกษาเพื่อลดความรุนแรงและอัตราอุบัติเหตุ : กำหนดเกณฑ์ประเมินพื้นที่อันตราย ว่าจะใช้หน่วยนับชนิดใด หรือจะรวมส่วนใด เช่น ความถี่ของอุบัติเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิต, จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส หรือพื้นที่ใกล้สถานบันเทิง ฯลฯ ศึกษาปัจจัยเกี่ยวข้องต่อการเกิดอุบัติเหตุ : - คน : พฤติกรรมการขับขี่, ความรู้ความเข้าใจต่อกฎหมายและวินัย จราจร, การใช้สารเสพติด, อายุ ฯลฯ - ยานพาหนะ : ความเหมาะสมต่อการใช้งาน, การบำรุงรักษา ฯลฯ - ถนน : จุดบังสายตา, ระบบไฟแสงสว่าง, ป้ายสัญญาณจราจร, การจัดระบบจราจร ฯลฯ มาตรการแก้ไข/ควบคุมความถี่และความรุนแรง ทัศนะของชุมชน

ข้อคำนึงต่อภาพรวมของข้อมูล จำนวนอุบัติเหตุนี้คือ ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวแทนเพื่อหาแหล่งความชุกของอุบัติเหตุ ฐานข้อมูลได้จัดทำเมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งไม่ครอบคลุมถนนบางสาย ที่รองรับการขยายตัวของเมือง/การสัญจรที่เคลื่อนตัวและอาจมีอุบัติเหตุมาก แต่เนื่องจากไม่อยู่ในระบบประมวลฐานข้อมูล จึงไม่ได้นำมาจัดลำดับความชุก เช่น แยกท่าเคียน, ถนนพลพิชัย-สราญราษฎร์, สาครมงคล เป็นต้น การนำเสนอวิเคราะห์/เปรียบเทียบ เพื่อเห็นจุดอันตรายซ้ำซาก และการกระจายข้อมูลที่ต่างในแต่ละปี การวิเคราะห์แหล่งความชุก ไม่ได้นำปริมาณรถที่สัญจรมาพิจารณาการจัดลำดับ

ภาคผนวก ก. : วิเคราะห์แหล่งความชุกโดยลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ ปี 2547-2549 แหล่งความชุกจากลำดับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุ (10 ครั้งขึ้นปี) ปี 2547 8 แหล่ง ปี 2548 16 แหล่ง ปี 2549 23 แหล่ง แหล่งที่เกิดอุบัติเหตุสูง และสูงทั้ง 3 ปี (จำนวนครั้งอุบัติเหตุตามลำดับปี) เพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง (23, 16, 40) มูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ถึง ถึงเพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ (19, 13, 18) ศรีภูวนารถใน ถึง ราษฎร์อุทิศ 4 (19, 23, 15) แยกราษฎร์อุทิศ 21 ถึง รัตนอุทิศ 5 (19, 35, 16)

ภาคผนวก ข. : วิเคราะห์แหล่งความชุกโดยลำดับค่าดัชนีความรุนแรง ปี 2547-2549 แหล่งความชุกจากค่าดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุ (ค่าความรุนแรง 4) ปี 2547 12 แหล่ง ปี 2548 23 แหล่ง ปี 2549 29 แหล่ง แหล่งที่เกิดอุบัติเหตุสูง และสูงทั้ง 3 ปี (ค่าความรุนแรงตามลำดับปี) เพชรเกษม 29 ถึง เพชรเกษมแยกควนลัง (11.1, 7.7, 19.4) มูลนิธิเทิดกิจมิตรภาพหาดใหญ่ ถึง เพชรเกษม-ราษฎร์อุทิศ (8.9, 6.1, 8.7) ราษฎร์อุทิศ 21 ถึง รัตนอุทิศ 5 (8.7, 15.9, 7.3) ศรีภูวนารถใน ถึง ราษฎร์อุทิศ 4 (8.3, 9.8, 6.6) เชิงสะพานรัชมัคลาภิเษก ถึง สัจจกุล (5.2, 7.9, 5.4)

ภาคผนวก ข. : การคำนวณค่าดัชนีความรุนแรง การคำนวณค่าดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุ * โดยสมมติตัวเลขค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผู้เสียชีวิต = 4 ต่อคน จำนวนเกิดอุบัติเหตุ = 3 ต่อครั้ง ผู้บาดเจ็บสาหัส = 2 ต่อคน ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย = 1 ต่อคน ค่าความรุนแรง = [3(จำนวนอุบัติเหตุ)+4(จำนวนผู้เสียชีวิต)+2(จำนวนผู้บาดเจ็บ สาหัส)+1(จำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย)]/(ผลรวมค่าน้ำหนักแต่ละประเภท) เกณฑ์ค่าความรุนแรง = 4 ขึ้นไป เป็นจุดที่ต้องได้รับการแก้ไข * อ้างอิงจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพัฒนาฐานข้อมูลอุบัติเหตุจราจร : กรณีศึกษา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยนางสาวชนิดา ฆังคะจิตร หน้า 49-50.