เข้าสู่การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยความยินดียิ่ง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แนวทางการดำเนินงาน ศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษา
Advertisements

สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 16 กุมภาพันธ์ 2550
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ AEC มุมมองภาครัฐ ( )
การพัฒนาครูพลศึกษาในประเทศไทย
ผ่านรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
เทคนิคการบริหารงานด้านการเงินและบัญชี
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง โครงการสุขศึกษา
พันจ่านักเรียน รุ่นที่ ๓/๕๖ พื้นที่ พุทธมณฑล
ภาพรวมแผนผังเชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)
การพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. กระทรวงศึกษาธิการกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
คำอธิบายแนวทางการให้คะแนน เอกสาร/หลักฐานการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การวิเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอกระบบโรงเรียน จัดทำโดย นายพิสณุ ฟองศรี หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ โครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ Prior Learning Recognition (PLR)
ยินดีต้อนรับ ท่านอธิบดีกรมอนามัย ดร
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การเตรียมความพร้อมกรมอนามัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ. ศ
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
โครงการเปลี่ยนแปลงด้านขั้นตอน / วิธีปฏิบัติงาน (นักพัฒนามาตรฐาน)
การประชุมชี้แจงสาระสำคัญของประกาศ คพร.
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
การกำหนดเกณฑ์ ประเมินคุณภาพภายใน
การเตรียมความพร้อมของสาขาบริการสุขภาพ
การปรับปรุงอัตรากรมแพทย์ทหารเรือ
การสัมมนาโครงการสร้างอนาคต แพทย์ทหารเรือ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ขั้นตอนที่ ๑ Stake Holder Analysis : การวิเคราะห์ความต้องการของ ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทั้งหมด ขั้นตอนที่
ประชุมสร้างความเข้าใจ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ โครงสร้าง และแผนปฏิบัติการ
สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
กลุ่มที่ 5 : บุคคลที่มีการเรียนรู้ผิดปกติ
โครงการส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา
นางสาวสุนันท์ อังเกิดโชค หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แผนปฏิบัติราชการ พ.ศ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC )
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
ระดับท้องถิ่น/พื้นที่
สรุปการประชุม เขต 10.
แนวทางการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
AEC WATCH จับตาเปิดเสรีภาคบริการ สาขาการศึกษา
วัตถุประสงค์ และผลผลิตหลักโครงการ
รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ และ รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม วัน...ที่ ... มกราคม 2557 เวลา ……. น. ณ ……………………………………………
บุหรี่และสุรา ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่าง ครัวเรือนที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน วิชัย โชควิวัฒน สุพล ลิมวัฒนานนท์ กนิษฐา.
ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข
Strategy Map สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ.2553
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
ภายใต้โครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
กรอบยุทธศาสตร์กระทรวงในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พ. ศ ของ วท
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2550 – 2552) องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
การจัดการด้านสุขภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่เมืองไทยแข็งแรง รัฐบาลได้ประกาศให้ “ เมืองไทยแข็งแรง ” โดยกำหนด เป้าหมายให้คนไทยแข็งแรงถ้วน หน้า ในปี
สรุปบทความเรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
4. ด้านการสื่อสาร 5. ด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะ
การนำเสนอผลงานวิจัย โดย : นายเอกพงษ์ วรผล.
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards)
นางสาวเบญริสา ทองจำรูญ วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัลสนิทวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เข้าสู่การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยความยินดียิ่ง กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ด้วยความยินดียิ่ง

“ กรมพลศึกษา... เป็นองค์กรนำด้านการพลศึกษา สร้างความสุขเพื่อมวลชน ” วิสัยทัศน์ “ กรมพลศึกษา... เป็นองค์กรนำด้านการพลศึกษา สร้างความสุขเพื่อมวลชน ”

นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง “กรมพลศึกษาต้องเตรียมความพร้อม ขององค์กร และพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ด้วยการ เร่งรัดพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา และบุคลากรทางการกีฬาและนันทนาการ ให้เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมและพัฒนา กีฬาขั้นพื้นฐาน และกีฬาเพื่อมวลชน ” นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา

มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา “ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถ และคุณสมบัติที่ควรมีในการประกอบวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 สมรรถนะ ”

1. สมรรถนะทั่วไป (Generic Competencies) “ คุณสมบัติทั่วไปของบุคคลที่ควรมีในการเข้าสู่วิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรม และแรงจูงใจ”

2. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรมและแรงจูงใจ ”

3. สมรรถนะตามหน้าที่ (Functional Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงาน หรือแต่ละระดับความรับผิดชอบของบุคคลในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประกอบด้วย ความรู้ และทักษะ ”

การจัดทำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ตัดสินกีฬา เป็นภารกิจโดยตรงของกรมพลศึกษา ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมาย ให้ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของบุคลากร ด้านพลศึกษา สุขภาพ การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา

วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและเพิ่มพูนสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2554 - 2558) ของกรมพลศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาพลศึกษา สุขภาพ กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีเป้าประสงค์ในการมีบุคลากรด้านการกีฬา ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเพียงพอ

วัตถุประสงค์ 2. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2558 และก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรสาขาอาชีพต่างๆ อย่างเสรี ตามกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ MRAs และความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา หรือ MNP

AEC: เกิดเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ความตกลงว่าด้วยการค้าและบริการ (AFAS) ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (MNT) ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัติ นักวิชาชีพ (MRAs)

ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ Mutual Recognition Arrangement:MRAs เป็นข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องมาตรฐานนักวิชาชีพของประชาคมอาเซียนในการให้การยอมรับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนด ใบอนุญาต ใบคำร้อง ที่ได้รับในประเทศสมาชิก โดยสอดคล้องกับกฎระเบียบภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง จะช่วยอำนวยความสะดวก การเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ ในภูมิภาค ได้อย่างเสรี

การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาวิศวกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2548 สภาวิศวกร กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ สาขาสถาปัตยกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2550 สภาสถาปนิก กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 แพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาทันตแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 ทันตแพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ

การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาพยาบาล ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2549 สภาการพยาบาล กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักบัญชี ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2551 สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักสำรวจ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2550 สภาวิชาชีพนักสำรวจ กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาท่องเที่ยว ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2555 กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ

ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา Movement of Natural Person Agreement: MNP จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ประสงค์จะให้บริการในประเทศสมาชิกในสาขาเกี่ยวกับการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองชั่วคราว การพำนักชั่วคราวและการอนุญาตทำงานของบุคคลธรรมดาชั่วคราว

ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคลากร 25 สาขาอาชีพ วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ วิจัยและพัฒนา ให้เช่า โฆษณา วิจัยตลาดและสำรวจ ความเห็น บริหารจัดการ เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เกี่ยวเนื่องกับประมง เกี่ยวเนื่องกับป่าไม้ เกี่ยวเนื่องกับเหมืองแร่ ที่ปรึกษา ซ่อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ การแปล จัดประชุม โทรคมนาคม ผลิตสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ก่อสร้าง การศึกษา สิ่งแวดล้อม การเงิน สุขภาพ โรงแรม กีฬา การขนส่ง

ทุกขภาวะของคนไทย 1. กระทรวงสาธารณสุข สำรวจปี พ.ศ.2555 พบว่า คนไทยรูปร่างท้วมถึงอ้วน มีมากกว่า 17 ล้านคน นับเป็นอันดับ 5 ของ เอเชียแปซิฟิก ที่สำคัญ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อ้วนขึ้นโดยเฉลี่ย 4 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตจากโรคอ้วน ประมาณปีละ 20,000 คน

ทุกขภาวะของคนไทย 2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ระบุ คนไทยอ้วนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นจำนวนถึง 1 ใน 5 ของจำนวนคนไทยทั้งหมด ภาครัฐสูญเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาพยาบาล ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท

ทุกขภาวะของคนไทย 3. มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมอนามัย วิจัยปี พ.ศ.2555 พบว่าเด็กไทยเป็นโรคอ้วนอย่างรวดเร็วในอัตราเร่ง สูงที่สุดในโลก โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 และวัยเริ่มทำงาน อายุ 20–29 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วน 21.7%

ทุกขภาวะของคนไทย 4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 แถลงข้อมูลเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 12 นำสู่โรคเรื้อรัง อีกหลายประเภท ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต และกระทบต่อพัฒนาการ ทางสติปัญญา

จากทุกขภาวะที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อความสามารถ ด้านการแข่งขันกีฬา พิจารณาจากจำนวนเหรียญรางวัล รวมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (เหรียญทอง,เหรียญเงิน, เหรียญทองแดง) ของประเทศไทยมีสัดส่วนลดลง

ทุกขภาวะของคนไทย ประเทศไทยเคยได้รับเหรียญรางวัลรวมสูงสุด ร้อยละ 9.13 (39 เหรียญจาก 427 เหรียญ ) เมื่อเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2513 เหลือเพียงร้อยละ 3.29 (52 เหรียญจาก 1,577 เหรียญ) คราวเอเชียนเกมส์ล่าสุดครั้งที่ 16 พ.ศ.2553

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 1. สัดส่วนเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.83 (17 เหรียญ จาก 600 เหรียญ) คราวการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 20 พ.ศ.2515 สู่ร้อยละ 6.25 (58 เหรียญ จาก 927 เหรียญ) เป็นลำดับ 4 ถัดจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน จากการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 27 พ.ศ. 2543

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 2. ตรงกันข้ามทุกขภาวะของประชาชนออสเตรเลีย กลับเพิ่มขึ้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย สำรวจพบ วัยผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ชายร้อยละ 68 ผู้หญิงร้อยละ 55 เด็กร้อยละ 17 มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สวนทางกับความเป็นเลิศทางกีฬาที่เพิ่มขึ้น

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 3. ส่งผลให้ปีพ.ศ. 2553 รัฐบาลออสเตรเลีย ทบทวนยุทธศาสตร์กีฬาของประเทศ จาก “บนลงล่าง” เน้นความเป็นเลิศ มุ่งจำนวนเหรียญรางวัล เป็น “กีฬาจากรากหญ้า” สร้างโอกาสการเล่นกีฬา อย่างกว้างขวาง มองการกีฬาอย่างเป็นองค์รวม

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 4. วิธีการดำเนินงาน “กีฬาจากรากหญ้า”สร้างโอกาสให้ เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง ประการหนึ่ง คือ การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูพลศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ทางกีฬาตั้งแต่รากฐาน โดยเริ่มจากเยาวชนในโรงเรียน

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 1. เป็นประเทศลำดับต้นที่ประกาศใช้ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ อย่างเป็นทางการ ด้วยพื้นฐานความคิด “ผู้ฝึกสอนกีฬาคุณภาพ การกีฬาคุณภาพ”

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ ของสมาคมกีฬาและพลศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.2549 มุ่งหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพของหลักสูตร การฝึกอบรม นำเสนอรูปแบบการฝึกสอนที่ดีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬา เสนอแนวทางการมุ่งสู่กีฬาอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการกีฬาของประชาชนทั่วไป

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 3. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ รวม 40 เกณฑ์มาตรฐานย่อย ได้แก่ ปรัชญาและจริยธรรม ความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บ สภาพร่างกาย ความเจริญเติบโตและการพัฒนาการ การสอน และการสื่อสาร ทักษะและกลยุทธ์ทางการกีฬา องค์กรและการบริหาร และการประเมินผล

ความสอดคล้องจากประสบการณ์ของ 2 ประเทศ มหาอำนาจกีฬา คือ “การยกระดับความสามารถของ บุคลากรด้านการกีฬา ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ บุคลากรด้านกีฬา”

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 1. เริ่มดำเนินการปีงบประมาณ 2554 จำนวน 4 มาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล, ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล, ผู้นำนันทนาการ และนักบริหารจัดการการกีฬา

มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และมาตรฐานวิชาชีพผู้ตัดสินกีฬา เพิ่มเติมอีก 8 ชนิดกีฬา รวม 16 มาตรฐาน ได้แก่ มวยไทย เซปักตะกร้อ ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล และ วู้ดบอล

กระบวนการจัดทำ 1. ยกร่างมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการจัดประชุม ระดมสมองและความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้บริหารองค์กรกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่อมวลชน โดยใช้หลักการความน่าเชื่อถือทางวิชาการ (Academic Credibility) ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศิลปากร

กระบวนการจัดทำ 2. นำร่างมาตรฐานวิชาชีพมาจัดการประชุมวิพากษ์ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมอย่างเปิดกว้าง (Open Participation) ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม กว่า 400 คน จากองค์กรกีฬา สมาคมกีฬา สถาบันการศึกษา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา สื่อมวลชน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น ไปปรับปรุงฉบับร่าง ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการ ได้รับ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างโอกาสที่เปิดกว้าง มากขึ้นในการประกอบอาชีพ

ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อนักกีฬา เป็นเครื่องประกันคุณภาพ ความรู้ ความสามารถของผู้ฝึกสอนกีฬา ตลอดจนผู้ตัดสินกีฬาที่ทำหน้าที่ ในการแข่งขัน ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อวงการกีฬา สร้างความมั่นใจให้ประชาชน ในมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้ ของวงการกีฬา ส่งผลกระทบ ต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการกีฬา คุณภาพนักกีฬา เกิดความเข้มแข็งของการกีฬาทั้งระบบ

ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประชาชน เกิดความเชื่อมั่นและมีแรงจูงใจ ในการเล่นกีฬา ประชาชน มีร่างกายแข็งแรง ทุกขภาวะ ด้านสุขภาพลดน้อยลง

ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทั้งด้านการกีฬาและด้านอื่นๆ ที่ล้วนต้องอาศัยความเข้มแข็ง ของประชาชนเป็นพื้นฐาน

แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 1 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับ การกีฬ่าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพ ไปใช้ ตลอดจนจัดทำโครงการนำร่องประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา เพื่อขึ้นทะเบียน ทั้งของกรมพลศึกษาและสมาคมกีฬา

แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ขั้นตอนที่ 2 กรมพลศึกษานำข้อสรุปจากขั้นตอนที่ 1 จัดทำระเบียบหรือข้อบังคับกรมพลศึกษา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา เพื่อเป็นพื้นฐานการยกระดับสู่ พระราชบัญญัติมาตรฐานวิชาชีพ บุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา

แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 2 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับ คุรุสภา และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อ 1. ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา

แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 2. ขอความร่วมมือให้ครูพลศึกษา และนักวิชาการ นันทนาการประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ารับการประเมินสมรรถนะจากกรมพลศึกษา

แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 3. ร่วมกันกำหนดแนวทางการนำผลการประเมิน สมรรถนะจากกรมพลศึกษา ไปพิจารณาดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละหน่วยงาน

ความร่วมมือผลักดันมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา

“มาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการกีฬา... ก้าวสู่ AEC” การเสวนาหัวข้อ “มาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการกีฬา... ก้าวสู่ AEC”

นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ. รองเลขาธิการ นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ รองเลขาธิการ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บุคลากรดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2547 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2553

ดร. ชาญวิทย์ ผลชีวิน. รองอธิบดีกรมพลศึกษา ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองอธิบดีกรมพลศึกษา หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ.2547-2550 หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย พ.ศ.2534-2543 นักกีฬาฟุตบอล สโมสรกีฬาราชประชา พ.ศ.2520-2523

คุณมนตรี ไชยพันธุ์. รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย คุณมนตรี ไชยพันธุ์ รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา พ.ศ.2539-2541 ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมกีฬา พ.ศ.2541-2542 ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน พ.ศ.2542-2543

เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ. เลขาธิการ เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ เลขาธิการ สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย รองประธานสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย ผู้ควบคุมการแข่งขันวอลเลย์บอล ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 26 (แอตแลนตา) และครั้งที่ 30 (ลอนดอน)

เรือเอกสมรักษ์ คำสิงห์. นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น เรือเอกสมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น เหรียญทองโอลิมปิกรุ่นเฟเธอร์เวท กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 26 (แอตแลนตา) นักกีฬามวยไทย (พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ) ผู้บรรยายการแข่งขันมวยสากล ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 30 (ลอนดอน) ช่อง NBT

คุณพิศณุ นิลกลัด. ผู้ดำเนินรายการ ข่าวนอกลู่ คุณพิศณุ นิลกลัด ผู้ดำเนินรายการ ข่าวนอกลู่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผู้ดำเนินรายการ สะเก็ดข่าว, กอล์ฟกูรู,คอข่าว, ฟ้ามีตา ผู้บรรยายการแข่งขันกีฬา คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์