Self Help Group หทัยรัฐณ์ วารินทร์ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ หทัยรัฐณ์ วารินทร์ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ ระวิวรรณ เติมวาณิช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ มาลินี ชื่นชอบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ มยุรี ตานินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศุภกนิตย์ พลไพรินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของบุคคลที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน มารวมกันด้วยความสมัครใจ และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยกันแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกัน กลุ่มเป็นของสมาชิก กิจกรรมต่างๆดำเนินโดยสมาชิก เพื่อสมาชิก แนวคิดพื้นฐานของ self help group คือเชื่อว่าบุคคลจะได้รับความช่วยเหลืออย่างดี จากบุคคลที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน สมาชิกจะร่วมกันอภิปรายถึงความรู้สึก ให้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากประสบการณ์ตรง และได้แสวงหานำมาช่วยเหลือสมาชิกในการปรับตัวต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
5 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับSelf Help Group -การสนับสนุนทางสังคม(Social Support) : สมาชิกจะได้รับความอบอุ่น มีมิตรภาพที่ดี เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน -เรียนรู้จากประสบการณ์(Experiential knowledge): สมาชิกจะได้รับข้อมูล มุมมองต่างๆจากสมาชิกในกลุ่มในการนำมาใช้ในการดำรงชีวิต /การจัดการปัญหา -ทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคม(Social learning theory): นำประสบการณ์ที่ผ่านมา มาเรียนรู้และกลายเป็น role model
-ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม ( Social comparison theory) :บุคคลที่มีลักษณะการเจ็บป่วยเหมือนกันก็จะมีความสนใจคล้ายๆกัน ต้องมีการเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นเพื่อจะได้มีแรงจูงใจในการที่จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีให้ดีขึ้น -ทฤษฎีการช่วยเหลือ (Helper theory): การช่วยเหลือคนอื่น จะเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง
ลักษณะของ Self Help Group -สมาชิกมาจากบุคคลที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ข้อมูลและให้กำลังใจ -มารวมกลุ่มโดยสมัครใจ -ไม่หวังผลกำไร ทำงานเพื่อช่วยเหลือสมาชิก -ทำงานแบบเผชิญหน้า -เน้นที่สมาชิกได้มีส่วนร่วมและดำเนินการโดยสมาชิก -ไม่แข่งขันแต่จะร่วมมือกัน -เกิดพลังอำนาจ Empowerment
กลไกการทำงานของกลุ่ม -สมาชิกรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน -สมาชิกยอมรับคำแนะนำเพราะเข้าใจกัน -สมาชิกได้ระบายความทุกข์กับคนที่รู้ใจกัน -สมาชิกรู้สึกมีคุณค่าที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น -ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนคนอื่น
ประโยชน์จากการจัดกลุ่มช่วยเหลือตนเอง -เป็นการรวมพลังกลุ่มของผู้มีปัญหาเดียวกันที่มีความทุกข์ ความไม่สบายใจ ไม่มีทางออก การรวมตัวกันจะทำให้รับรู้ว่ามีเพื่อนซึ่งประสบชะตากรรมเดียวกัน ได้รับความเข้าใจกันและกัน ได้รับการสนับสนุนซึ่งกันและกัน -เห็นรูปแบบตัวอย่าง Role Model ของสมาชิกในการปฏิบัติตัวที่ดีในการแก้ปัญหา ได้แนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ -บุคคลมีโอกาสได้ระบายความรู้สึก ความเครียด ความขับข้องใจ เพราะกลุ่มมีบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ เป็นกันเอง มีการแลกเปลี่ยนความรู้
-สามารถเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับตนเอง สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีค่าเมื่อได้มีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอื่น -สมาชิกยอมรับปัญหาการเจ็บป่วยของตนเอง ยอมรับและให้ความร่วมมือในการรักษา เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมมากขึ้น -สร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ -กลุ่มมีศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร เป็นแหล่งข้อมูล แหล่งรวมจิตใจ แก้ปัญหาร่วมกัน
สวัสดี