ส่วนอำนวยความเป็นธรรม สำนักการสอบสวนและนิติการ การปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ของพนักงานฝ่ายปกครอง ส่วนอำนวยความเป็นธรรม สำนักการสอบสวนและนิติการ
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ป.วิ.อาญา ม.150 วรรค 3 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2542 ข้อบังคับ มท. ว่าด้วยระเบียบการปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ.2543 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของแพทย์ และของพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 พ.ศ.2543 นส. ที่ มท 0305.6/ว 2335 ลว. 17 ก.ย. 2544
การปฏิบัติ 1. คำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ (เข้าเวร 24 ชั่วโมง) เวรสำรอง กรณีมีเหตุการตายพร้อมกัน คำสั่งเวรจะออกเดือนละครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง
ศึกษาเกี่ยวกับนิติเวชวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติ 2. ศึกษาเกี่ยวกับนิติเวชวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ 3. เตรียมอุปกรณ์ กล้องถ่ายรูป ผ้าปิดจมูกป้องกันเชื้อโรค เข็มทิศ สายวัด อุปกรณ์อื่น
บันทึกออกไปชันสูตร (ชศ.3) การปฏิบัติ 4. การบันทึก เมื่อรับแจ้งเหตุ บันทึก ชศ.1 รายงานเบื้องต้น (ชศ.2) บันทึกออกไปชันสูตร (ชศ.3)
ที่เกิดเหตุ บันทึกภาพผู้ตาย ลงรายการ (ชศ.4) การปฏิบัติ ที่เกิดเหตุ บันทึกภาพผู้ตาย ลงรายการ (ชศ.4) ตรวจสถานที่ สภาพแวดล้อม อื่น ๆ สภาพศพ ทำแผนที่พอสังเขป (ชศ.5)
ที่เกิดเหตุ (ต่อ) การปฏิบัติ บันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ (ชศ.6) แสดงเหตุที่ตายเกิดจากอะไร ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน/เมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้ทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ บันทึกร่วมกับ พงส. หรือ บันทึกความเห็นแย้ง (ชศ.7)
การปฏิบัติ 5. การรายงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่รายงานผลการชันสูตรพลิกศพ ส่งสำเนา ชศ.1 ชศ.2 ชศ.6 และสำเนารายงานชันสูตรพลิกศพของพนักงานสอบสวน ตามลำดับขั้นจนถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย สำหรับจังหวัด ต้องรายงานสถิติการชันสูตร รอบ 3 เดือน ตาม นส. ที่ มท 0305.6/ว 2335 ลว. 17 ก.ย. 2544
การปฏิบัติ 6. งบประมาณ ปค. (สน.สก.) จะโอนให้โดยคิดจากสถิติการตาย 2 ปี ย้อนหลัง และโอนให้จังหวัด ปีละ 2 งวด ไม่พอให้ขอไปยัง ปค. (สน.สก.)
ข้อควรระมัดระวังในการชันสูตรพลิกศพ การชันสูตรพลิกศพผิดตัว การดูสภาพศพ การลงชื่อในรายงานการชันสูตรฯ ตามที่ปฏิบัติหน้าที่จริง การป้องกันการติดเชื้อโรค การระมัดระวังตนเองในการชันสูตรฯ ในเรือนจำ การถ่ายภาพศพ สถานที่เกิดเหตุ การเก็บรักษา การขออนุมัติใช้รถยนต์ของทางราชการ
ข้อควรระมัดระวังในการชันสูตรพลิกศพ การบันทึกเหตุการณ์เบื้องต้น (ช.ศ.2) การเคลื่อนย้ายศพก่อนการชันสูตรพลิกศพ การนัดหมายเวลาชันสูตรพลิกศพต้องตรงเวลา การแต่งตั้งเวรชันสูตรฯ สำรอง กรณีแพทย์ผู้ร่วมชันสูตรมิใช่แพทย์นิติเวชศาสตร์ ต้องแจ้งเหตุผล ความจำเป็น
ส่วนอำนวยความเป็นธรรม สำนักการสอบสวนและนิติการ ขอขอบคุณ ส่วนอำนวยความเป็นธรรม สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ธวัช เจริญวัย โทร. 0-2356-9557 ,0-1926-2436
ป.วิ อาญา มาตรา 150 วรรค 3 ฯลฯ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ฯ Back
ระยะที่ 1 ต.ค. – ธ.ค. รายงานภายใน 5 ม.ค. ระยะที่ 1 ต.ค. – ธ.ค. รายงานภายใน 5 ม.ค. ระยะที่ 2 ม.ค. – มี.ค. รายงานภายใน 5 เม.ย. ระยะที่ 3 เม.ย. – มิ.ย. รายงานภายใน 5 ก.ค. ระยะที่ 4 ก.ค. – ก.ย. รายงานภายใน 5 ต.ค. back