การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
หลักคิด หลักการ และการปฏิบัติงาน ให้ประสบผลสำเร็จ
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การบริหารจัดการเพื่อ พัฒนาผลการปฏิบัติงาน
ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุน
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยง ตามหลักธรรมาภิบาล
หลักการสำคัญ ในการปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “กิจการสาธารณะ (Public Affairs)” และพื้นฐานของรัฐประศาสนศาสตร์ก็คืองานบริหารงานภาครัฐใดๆ ที่ต้องคำนึงถึง.
เรื่องสืบเนื่อง การวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วน ราชการ
33701 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ความเสี่ยง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตาม ตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ วันที่ 29 มกราคม 2551.
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนการพัฒนาและการปฏิบัติการ ของโครงการโดยเจ้าหน้าที่โครงการมีส่วนร่วม ปี พ.ศ.2552.
นางสาวรัชดา สุทธิวรวุฒิกุล
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
สรุปโครงสร้างของ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์
แผนที่ยุทธศาสตร์สำนักพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานบุคคล
คำอธิบายแนวทางการให้คะแนน เอกสาร/หลักฐานการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
หลักการบริหารภาครัฐยุคใหม่
การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ Results Based Management (RBM)
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมในการทำงานราชการยุคใหม่
การประชุมชี้แจง เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี กรมการพัฒนาชุมชน ผ่านระบบ Web Conference วันจันทร์ ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใส ในกระบวนงานกระบวนการพัฒนาและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเยาวชน (การเสริมสร้างความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชน) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก.
Good Corporate Governance
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
ยินดีต้อนรับผู้เข้าสัมมนาทุกท่าน
การบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง ความเสี่ยง (RISK)
CS 6: การวัดความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
ผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Measurement)
การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารราชการ
โดย สมภพ อมาตยกุล 21 กันยายน 2548
แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด2 9คำถาม.
คน Man ผู้บริหาร บุคลากรของทุกระดับ.
K M กจ. ประจำเดือนมีนาคม 2551
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549.
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “รู้ทันนวัตกรรมคอร์รัปชัน”””
นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organizational Governance: OG)
“การถ่ายทอดตัวชี้วัด จากระดับองค์กรลงสู่ระดับบุคคล”
PMQA พัชรศรี ศรีเมือง กลุ่มพัฒนาระบบบริหารกระทรวงยุติธรรม 14 ก.ย. 53
โครงการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ
รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ และ รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม วัน...ที่ ... มกราคม 2557 เวลา ……. น. ณ ……………………………………………
นโยบายสาธารณะกับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
การบริหารและกระบวนการวางแผน
การบริหารงานบุคลากร ภาครัฐแนวใหม่
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และ ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล.
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
โดย นายคันฉัตร ตันเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
หมวด 6 การจัดการกระบวนการ Process Management
เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง
ธรรมาภิบาลกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง สมานฉันท์ จัดทำโดย นายยศพล ปรางค์ภูผา
จัดทำโดย ชื่อนายฤทธิ์รงค์ ลิ้มม่วงนิล ช่างยนต์ ปวช.1 เลขที่19
Planing : ระบบการวางแผนงบประมาณ
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมอนามัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance โดย รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มศักยภาพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 มิถุนายน 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือธรรมาภิบาล Good Governance การปกครองหรือบริหารงานที่เป็นธรรม วัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม องค์กร อย่างมีความสงบสุข สามารถสานประโยชน์และคลี่คลายข้อขัดแย้ง ได้อย่างสันติวิธี พัฒนาองค์กร ให้เติบโตมีคุณภาพอย่างยั่งยืน

ทำไมต้องมีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาล เป็นวิถีทางของการใช้อำนาจในการใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารองค์กร โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ การบริหารอย่างมีความรับผิดชอบ (ภาระรับผิดชอบ) มีกฎหมาย กฎระเบียบในการปฏิบัติงาน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีข้อมูลข่าวสาร

การบริหารจัดการภาครัฐ ในประเทศไทย ปัญหาประสิทธิภาพและคุณภาพ การบริหารของหน่วยงานภาครัฐ การบกพร่อง การทำผิด ทุจริตและการขาดจริยธรรมของบุคลากร ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารและกระบวนการทำงานของภาครัฐ สภาพการบริหารจัดการในหน่วยงานภาครัฐ โครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐยังขาดความยืนหยุ่น ข้าราชการไม่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และวิธีการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

ปัญหาของการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ขาดกลไกและเกณฑ์ในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง บุคลากรขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของระบบราชการที่เปลี่ยนไป ระบบการตัดสินใจการบริหารของภาครัฐ ขาดความโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม และตรวจสอบได้ เกิดปัญหาทุจริต คอรัปชั่น ประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง ขาดระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ประกอบการปฏิบัติงาน

การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 พรบ. ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 มาตรา 3/1 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย

ขอบเขต ความหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นแนวปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการในการทำภารกิจใดๆ ต้องมีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้ เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ประชาชนได้รับความสะดวกและตอบสนองความต้องการ มีผลการปฏิบัติงานสม่ำเสมอ

การก่อให้เกิดและเสริมสร้างธรรมาภิบาล

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม คือ การตรากฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุปคือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฏหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 3. หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคม องค์กรเป็นที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นต้องตั้งจุดหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารราชการตามแนวทางกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยการใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุนแรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 5. หลักความโปร่งใส (Transparency) กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฏหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภาระกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่น (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาคเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 8. หลักนิติธรรม (Rule of Law) การใช้อำนาจของกฏหมาย กฏระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9. หลักความเสมอภาค (Equity) การได้รับการปฏิบัติและโดยไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชาย/หญิง ถิ่นกำเนิได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันด เชื้อชาติ ภาษา เพศ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดย ฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์

องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ

เกณฑ์การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)

2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)

4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)

5. หลักความโปร่งใส (Transparency)

6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)

7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)

8. หลักนิติธรรม (Rule of Law)

9. หลักความเสมอภาค (Equity)

ตัวอย่าง (ดังเอกสารแนบ) แนวทางการดำเนินการและมาตรการ/โครงการ ตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ดังเอกสารแนบ)

ขอบคุณค่ะ