ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย 30 สิงหาคม 2549 ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดสินเชื่อผู้บริโภค
ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ – ที่อยู่อาศัยปี 48 หลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปริมาณที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนลดลงถึง 54.9% ในปี 2541 และ 56.7% ในปี 2542 หลังจากนั้น ตลาดเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง และมีอัตราการเติบโตสูงสุดถึง 50.8% ในปี 2546, 23.1% ในปี 2547 และเติบโตเพียง 4.4% ในปี 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุที่สำคัญมาจาก แนวโน้มการขึ้นของอัตราดอกเบี้ย, ราคาน้ำมัน, และอัตราเงินเฟ้อ กำลังซื้อและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคลดลง การเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาที่อยู่อาศัย การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ – ที่อยู่อาศัยปี 48 ในปี 2548 มีจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 72,072 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.4% บ้านจัดสรร 35,935 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 49.9% อัตราการเติบโต –11.82% จากปี 2547 ปลูกสร้างเอง 25,244 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 35.0% อัตราการเติบโต 27.12% จากปี 2547 คอนโดมิเนียม 10,893 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 15.11% อัตราการเติบโต 29.08% จากปี 2547 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 48 ในปี 2549 (ไตรมาส 2): Market size = 1,276,539 ล้านบาท อัตราการเติบโต = 5.28% จากปลายปี 2548 ธนาคารภาครัฐ (ธอส. และ ธ. ออมสิน) มีส่วนแบ่งการตลาด 48.70% อัตราการเติบโต 6.11% จากปลายปีก่อน กลุ่มลูกค้า: ผู้มีรายได้น้อยที่มียอดเงินกู้น้อยกว่า 5 แสนบาท (ต่อราย) ธนาคารพาณิชย์ มีส่วนแบ่งการตลาด 51.20% อัตราการเติบโต 4.68% จากปลายปีก่อน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 49 (ไตรมาส 2) ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, วรสารอาคารสงเคราะห์ และ งบการเงินของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง