ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
“แนวทางในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ”
Advertisements

บรรยากาศ.
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
ภาวะโลกร้อน นายอัศวิน สมบูรณชนะชัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร ปี2.
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
10วิธีลดภาวะโลกร้อน จัดทำโดย
Global Warming.
ดาวอังคาร (Mars).
ภาวะโลกร้อน [ Global Warming ]
ผลกระทบจากวิกฤตการโลกร้อน
Global warming สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
อิทธิพลของสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อ แมลงศัตรูพืช
โครงงานสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณป่าชายเลนบ้านอำเภอ
ภาวะโลกร้อน ด.ช เกียรติณรงค์ นันทปัญญา ม.2/2 เลขที่ 2
ภาวะโลกร้อน จัดทำโดย 1. ด.ช. ศักดิ์ดา โนนน้อย เลขที่ ด.ช. ณัฐชนน วงศ์สุริยา เลขที่ ด.ญ. มินตรา เสือภู่ เลขที่ ด.ญ. วราภรณ์ คอบุญทรง เลขที่
6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การ คาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตาม สถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย.
หากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนในวันนี้ ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร 1. ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น.
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน(Global Warming)
บทที่ 3 ทรัพยากรดิน.
ความสำคัญของพืชและอนาจักรพืช
คลื่นพายุซัดชายฝั่ง กลุ่มที่6.
สิ่งแวดล้อมรอบตัว.
ความสำคัญของพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน
Green Village บ้านคลองกั่ว หมู่ 7 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา.
ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่.
เทคโนโลยีพลังงาน Solar storm (Communication)
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
วิกฤตการณ์เกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้
ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม
เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2
สถานการณ์ แนวโน้มและผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาวะโลกร้อน ป้องกัน แก้ปัญหา ภาวะโลกร้อน ผลกระทบ ผู้จัดทำ สาเหตุ
บทที่10 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ตราด.
ภาวะโลกร้อน โดย น.ส.สมลักษณ์ แจ่มโฉม รหัส กลุ่ม 10.
ดอนหอยหลอด (Don Hoi Lot).
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ปัญหาสิ่งแวดล้อม.
นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย
Welcome to. โลกร้อน คืออะไร ? ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราใน ปัจจุบัน สังเกตได้จาก.
สำรวจสภาพปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
Natural Resources Benjavun Ratanasthien Department of Geological Sciences, Faculty of Sciences, Chiang Mai University.
ดาวศุกร์ (Venus).
แผนงานป้องกันและลดผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลง สภาวะภูมิอากาศ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรอุทยาน แห่งชาติทางทะเล ( กิจกรรมจัดการแนวปะการังและชายหาด )
โลกร้อน!!ครับ ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์
สิ่งแวดล้อมกับภาวะโลกร้อน จัดทำโดย นาย นารากร สลักจอง ปวช.1 กลุ่ม 2.
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมกับภาวะโลกร้อน
คลิกที่ตัวผมได้เลย!! ณ ดวงดาวแห่งหนึ่ง....
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปของการการจัดสวน
ผู้นำเสนอข่าว นายขจรยศ ชัย สุรจินดา. 3 วันที่แล้ว โครงการสิ่งแวดล้อมของ สหประชาชาติ ( ยูเนป ) ออกรายงานฉบับ ใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำแข็งและหิมะ ของโลก.
ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
เรื่อง ปรากฏการณ์โลกร้อน จัดทำโดย นายยศพล ปรางค์ภูผา ช่างยนต์ กลุ่ม 3 เลขที่ 17 เสนอ อาจาน สมคิด มีมะ จำ.
ภาวะโลกร้อน กับการดำเนินชีวิต จัดทำโดย นายก้องเกียรติ์ ดีเลิศ.
จัดทำโดย นายธนิต เหลืองดี ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน เป็นสิ่งที่คนในสังคมโลก ยังให้ความสนใจไม่มากนักและที่สำคัญ คือ ยังมีคนจำนวนมาก.
สภาวะโลกร้อน ร้อน จัดทำโดย นายอรรถพล เพ็งพันธ์. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมา จากการปล่อยก๊าซพิษต่าง.
ภาวะโลกร้อน.
ครูธีระพล เข่งวา โรงเรียนวังไกล กังวล ครูผู้สอน... นายธีระพล เข่งวา เรื่อง : สถานการณ์ด้าน สิ่งแวดล้อม และ ทรัพยากรธรรมชาติ ในภูมิภาคต่างๆของ โลก ( ๑ )
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของ โลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ.
สิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ.
ภาวะโลกร้อน.
ภาวะโลกร้อน กับการดำเนินชีวิต
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ.
ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคน ต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่าน หิน น้ำมัน.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching จัดทำโดย นายชัชวาล เตียประภางกูร 54402602

หัวข้อที่นำเสนอ 1. ปะการัง 2. ความสำคัญของแนวปะการัง 3. สาเหตุทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 4. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง 5. ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect 6. อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน 7. แนวทางการแก้ไข

ปะการัง ( Coral ) ปะการัง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่าง เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง และปะการังยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล

ปะการัง ( Coral ) ต่อ ปะการังมีสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัยอยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายซูแซนเทลลีให้พลังงานที่เป็นผลจากการสังเคราะห์แสงแก่ปะการังที่ใช้เป็นที่อาศัยอีกทั้งให้สีสันที่หลากหลายกับปะการังด้วยดังนั้นหากปะการังเหล่านี้ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีแล้วปะการังจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และปะการังก็จะมีแต่สีขาว ซึ่งเป็นสีของโครงร่างหินปูนที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเท่านั้นสีสันของโลกใต้น้ำบริเวณแนว ปะการังก็คงไม่งดงามเหมือนที่เห็นเช่นปัจจุบัน

ความสำคัญของแนวปะการัง 1. เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด 2. ความสวยงามของปะการัง รูปร่างต่าง ๆ ใช้ในการประดับสถานที่และที่อยู่อาศัย 3. โครงสร้างหินปูนของปะการังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ 4. หินปูนจากปะการังและสาหร่ายบางชนิดใช้เป็นองค์ประกอบของยาบางชนิด 5. ปลาในแนวปะการัง ซึ่งเป็นปลาสวยงาม ใช้ประดับในตู้ปลาและกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ 6. ทัศนียภาพความสวยงาม จากตัวแนวปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยอยู่ เช่น ฝูงปลาสวยงาม เป็นต้น นับเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวที่สำคัญ 7. แนวปะการังจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของชายหาดเนื่องจากคลื่นและพายุ 8. คุณค่าในด้านการศึกษาและการอนุรักษ์ สภาพไว้เพื่อการทดลอง

สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว สาเหตุเกิดหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ปรากฏการณ์ แอลนิลโญ่ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง รังสีจากดวงอาทิตย์ การถูกแดด-ลมฝนกระทำ ตะกอนและความขุ่นของน้ำทะเล ความเค็ม สภาพและธาตุอาหารในน้ำ ทะเล สารเคมี หรือสารชีวภาพที่มนุษย์ใช้ในชีวิตปะจำวัน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้น ประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส หรือผลจากความเข้มข้นของแสง หรือสอง ปัจจัยนี้ร่วมกัน ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลี ที่อาศัยอยู่ในปะการังทนอยู่ ไม่ได้และหนีออกจากปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ไม่มีสีสัน คล้ายหินปูน หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ปะการังจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้ ดังนั้นหากในช่วง 2-3 สัปดาห์ อากาศมีอุณหภูมิลดลง หรือมีฝนตกลงมาเล็กน้อย จะช่วยให้อุณหภูมิน้ำ ลดลง ปะการังจะกลับมามีชีวิตและมีสีสันอีกครั้ง

สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว (ต่อ) ปะการังที่ปราศจากสาหร่ายเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสได้รับพลังงานเสริมที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหากสถานการณ์ดำรงเช่นนี้ต่อไปปะการังก็จะตายในที่สุดเมื่อสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งเป็นสีสันของปะการัง ออกจากตัวปะการังไปแล้วปะการังก็จะกลับคืนมาเป็นสีขาวซึ่งคือสีของปะการังเองดังนั้นปรากฏการณ์ที่ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกจากปะการังจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) สำหรับในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังในการฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง ภาวะโลกร้อน (global warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก ปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะ ปัจจัยที่เกิดจาก ภาวะ เรือนกระจก (green house effect) ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ ได้หันไปพึ่งพาการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่าน หิน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานในกระบวนการการเผาผลาญเชื้อเพลิง ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นจำนวนมาก ก๊าซนี้เมื่อถูกปล่อย ออกไปแล้วจะถูกสะสมอยู่ที่ชั้นบรรยากาศ และคอยกันความร้อนต่างๆ ที่ ถูกปล่อยออกจากพื้นผิวโลกไม่ให้ความร้อนสามารถระบายออกสู่นอกชั้น บรรยากาศได้จึงเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกและ เรียกภาวะที่เกิดขึ้นว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ตามมา ผลของภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องนี้สามารถส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ90 เซนติเมตรในหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ระดับที่เพิ่มขึ้นของน้ำทะเลนี้ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพหลายประการ การเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวก็เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน การที่ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำ ดังนี้อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นเพียง 2-3 องศาเซลเซียส สามารถส่งผลต่อการตายของปะการังได้ นอกจากนั้นยังมีผลต่อการสะสมหินปูนของปะการังลดลงเนื่องจากในสภาวะปกติ ทะเลสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ประมาณหนึ่งในสามของปริมาณทั้งหมดที่สะสม เมื่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยน้ำทะเลจึงเพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วนและส่งผลต่อการลดลงของสารคาร์บอเนตไอออนที่เป็นส่วน ประกอบสำคัญในการสร้างโครงร่างหินปูนของปะการัง รวมถึงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด อีกประการหนึ่งการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำทะเลที่ลึกมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์ส่องลงไปถึงปะการังได้น้อยลงและทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งใช้แสงในการสังเคราะห์แสงได้รับแสงลดน้อยลง เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีแสงหรือมีแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีดำรง ชีวิตอยู่ได้ปะการังที่พึ่งพาอาศัยสาหร่ายซูแซนเทลลีก็ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยแนวปะการังนั้น ๆ ในการดำรงชีวิต ภาวะโลกร้อนสามารถส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำทะเล (ocean circulation) ลดลงหรือหยุด ปกติน้ำทะเลจะไม่เกิดเป็นชั้นน้ำที่อุ่นหรือเย็นแบ่งแยกกันถ้าน้ำบริเวณนั้นมีการหมุนเวียนแต่เมื่อใดก็ตามที่การหมุนเวียนของน้ำหยุด จะทำให้น้ำแบ่งชั้นสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้นเช่นปะการังก็จะได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพน้ำบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกินไปคงอยู่เป็นเวลานาน

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง (ต่อ) สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ 60 - 80%

ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect http://www.weatherquestions.com/What_is_the_greenhouse_effect.htm

กระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น http://emmarrggh.diaryis.com

วิกฤตปะการังฟอกขาวในไทย แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกตามเกาะต่าง ๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน มีแนวโน้มการเกิดฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่นของเกาะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลน้ำจากทะเลลึกที่เข้ามาช่วยบรรเทาผลของอุณหภูมิน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบว่า ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora ) เป็นชนิดที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการฟอกขาวได้ดี

อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่บนโลกมานานกว่า 200 ล้านปี ปัจจุบันแนวปะการังได้ลดลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปะการังถูกทำลายและลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องมาจากกิจกรรมที่เป็นผลจากการกระทำ ของมนุษย์ เช่นการทำประมงที่มากเกินไป การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของปะการังจะตายภายใน 40 ปีข้างหน้าหากพวกเรา ไม่ช่วยกันป้องกันหรืออนุรักษ์ปะการัง การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถสร้างความเข้าใจให้ประชาชนร่วมกันปกป้องรักษาปะการังได้ผลกระทบที่ตามมาเหล่านี้ สุดท้ายอาจสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์เราผู้เริ่มต้นของปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง เมื่อปะการังได้รับผลกระทบสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หลากหลายที่อาศัยแนวปะการังเป็น ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งหาอาหารหรือเป็นแหล่งหลบภัย ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมทั้งสัตว์เศรษฐกิจอีกมากมายที่มนุษย์เราใช้ประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังก็จะลดน้อยลง อีกทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายก็จะสูญหายไปด้วย หากมนุษย์เราไม่คำนึงกันตั้งแต่บัดนี้ วันที่เราไม่อยากเห็นก็อาจปรากฏได้เร็วมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พื้นที่ที่มีปะการังฟอกขาวในแนวปะการังเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่าน Yellow spots indicate major bleaching events. จุดสีเหลืองบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญการฟอกสี http://www.marinebiology.org/coralbleaching.htm

อุณหภูมิน้ำทะเล ปี 2553 http://mrvop.wordpress.com

กราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ต กราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกรคม 2552 – กันยายน 2553 กรอบสีแดงเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุดวิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็นตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php

บริเวณที่เกิดปะการังฟอกขาวในไทย http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php

แนวทางการแก้ไข 1. ลดการใช้สารเคมีที่มี ปฏิกิริยาเรือนกระจกและเพิ่มเติมการปลูกป่า สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดิน 2. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจ ท่องเที่ยว 3.ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วย การกำหนดพื้นที่รูปแบบกิจกรรม 4.ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ 5.มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล 6.กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง 7.ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการัง 8.จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของแนวปะการังฟอกขาว ผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วยการกำหนดพื้นที่ รูปแบบกิจกรรม และข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งนี้ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานฯ สามารถนำรูปแบบวิธีการดำเนินงานของโครงการกรีนฟินส์ไปใช้ 3.ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ มิให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการังโดยตรง เพื่อลดปัญหาการแพร่ของเชื้อโรคหรือปริมาณสารอาหารในแนวปะการัง 4.มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล เช่น ควบคุมการเปิดหน้าดิน และกำหนดมาตรการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินบนเกาะที่มีแนวปะการัง 5.กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง โดยเฉพาะการลักลอบจับปลาสวยงาม และปลากินพืชในแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยต้องมีการตรวจตราป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด 6.ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บางบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ 7.นำแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติ ที่เคยมีการทำไว้แล้วมาใช้อย่างจริงจัง 8.จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง

ขอบคุณครับ