นางศุจินันท์ ฉลาด โรงเรียนโชคชัยสามัคคี นครราชสีมา นาฏศิลป์ไทย มัธยมศึกษาปีที่ ๑ นางศุจินันท์ ฉลาด โรงเรียนโชคชัยสามัคคี นครราชสีมา
นาฏศิลป์ไทย หมายถึง ศิลปะการละครและการฟ้อนรำที่ มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดความหมาย และอารมณ์ และมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย ๑.จากการละเล่นของชาวบ้าน ๒.จากการแสดงที่เป็นแบบแผน ๓.จากการรับอารยธรรมอินเดีย ๔.จากการเลียนแบบธรรมชาติ
เพลงเกี่ยวข้าว(ภาคกลาง) ๑. การละเล่นของชาวบ้าน หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจในแต่ละวัน ชาวบ้านก็หาเวลาว่างมาร่วมกันร้องรำทำเพลง อาจเป็น กุศโลบายเพื่อให้ลืมความเหน็ดเหนื่อยในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีการร้องรำกันเป็นคู่ชายหญิง ทำให้เกิดเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านขึ้น เพลงเกี่ยวข้าว(ภาคกลาง) เพลงโคราช (ภาคอีสาน) ลิเกฮูลู(ภาคใต้) เพลงขอทาน(ภาคเหนือ)
การแสดงที่เป็นแบบแผน นาฏศิลป์ไทยที่เป็นมาตรฐานจะได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยในวังหลวงที่ฝึกให้แก่ผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวังเป็นผู้แสดงโขน ละคร ทำให้ศิลปะการฟ้อนรำได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันเรื่อยมาและนำมาสู่ระบบการศึกษาบรรจุอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน ทำให้นาฏศิลป์ไทยที่มีแบบแผนมาตรฐานได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดแก่เยาวชนมาจนทุกวันนี้
การรับอารยธรรมของอินเดีย อินเดียเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะการละครและไทยก็ได้รับตำรานาฏยศาสตร์(ตำราการฟ้อนรำ)ที่พวกพราหมณ์นำเข้ามาสอนในประเทศไทย เข้าใจว่าตำรานี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ เช่น ชื่อท่ารำที่แปลจากตำราอินเดียโดยตรง ศิวะนาฏราช ในการเรียนนาฏศิลป์ไทยผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าพิธีไหว้ครูโขน-ละครก่อน ซึ่งได้แก่พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิฆเณศวร พระพิราบ และพระภรตฤาษี อันเป็นครูทางนาฏศิลป์และเป็นเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
การเลียนแบบธรรมชาติ กิริยาท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์จะบ่งบอกความหมายและสื่อความหมาย ในการฟ้อนรำก็จะใช้ท่ารำสื่อความหมายกับผู้ชมเช่นกันเพราะลีลาท่ารำก็ใช้ท่าทางธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์ท่ารำและเลือกใช้ได้เหมาะสมบ่งบอกความหมายได้ถูกต้อง