นักคณิตศาสตร์ประยุกต์ ปาริชาติ งอกผล
ก่อนอื่น..มาทำความรู้จักกับคำว่า ‘คณิตศาสตร์ประยุกต์’ กันก่อนดีกว่า ! ก่อนอื่น..มาทำความรู้จักกับคำว่า ‘คณิตศาสตร์ประยุกต์’ กันก่อนดีกว่า ! คณิตศาสตร์ประยุกต์ (applied mathematics) แตกต่างจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์(pure mathematics) ตรงที่จะเริ่มต้นพิจารณาปัญหาในชีวิตจริงก่อน ไม่ว่าปัญหานั้นจะอยู่ในเรื่องของวิชา หรือ สาขาใดๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ฯลฯ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคณิตศาสตร์เอง แล้วจากนั้น จะนำความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจำเป็นจะต้องสร้างใหม่ขึ้นมา เพื่อจะใช้แก้ปัญหาเหล่านั้น
นักคณิตศาสตร์ประยุกต์ คือ... “นักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานหรือเอาทฤษฎีที่พิสูจน์แล้ว มาประยุกต์เป็นของตนเอง.”
ศรีนิวาสะ ไอเยนการ์ รามานุจัน เกิดวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.1887 ที่เมือง อีโรด, บริติชอินเดีย เชื้อชาติ อินเดีย รามานุจันเป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย ซึ่งได้สร้างงานวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทต่างๆ ทางทฤษฎีจำนวน อนุกรมอนันต์ และเศษส่วนต่อเนื่อง โดยที่ไม่เคยรับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ อย่างเป็นทางการเลย ก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวถึงอัจฉริยภาพของรามานุจันว่าเทียบเท่ากับนักคณิตศาสตร์ระดับตำนาน เช่น ออยเลอร์ เกาส์ นิวตัน และอาร์คิมีดีส
เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เซอร์ ไอแซก นิวตัน อาร์คิมิดีสแห่งซีรากูซา
ประวัติ รามานุจันได้รู้จักกับคณิตศาสตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ปี จากทักษะโดยธรรมชาติด้านคณิตศาสตร์ รามานุจันจึงได้รับหนังสือตรีโกณมิติของ เอส. แอล. โลนีย์ และเขาศึกษาจนเชี่ยวชาญเมื่ออายุเพียง 12 ปี กระทั่งสามารถค้นพบทฤษฎีบทของตัวเอง ผลจากความสามารถอันโดดเด่นด้านคณิตศาสตร์ทำให้เขาได้รับทุนการศึกษา รามานุจันทำวิจัยเรื่องจำนวนแบร์นูลลีและค่าคงตัวออยเลอร์-แมสเชโรนีด้วยตนเองเมื่ออายุ 17 และได้รับทุนเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยของรัฐในเมืองคัมบาโคนัม แต่ต่อมาเขาสูญเสียทุนนี้ไปเพราะผลการเรียนด้านอื่นนอกเหนือจากคณิตศาสตร์นั้นแย่มาก
รามานุจัน
เขาทำงานวิจัยของตนเองที่วิทยาลัยอื่น พร้อมกับทำงานเป็นเสมียนที่สำนักงานบัญชีแห่งหนึ่งในเมืองมัทราสเพื่อหาเลี้ยงตัว ในปี ค.ศ. 1912-1913 เขาส่งตัวอย่างทฤษฎีบทจำนวนหนึ่งไปให้นักคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 3 คนแต่มีเพียงก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้ ที่มองเห็นอัจฉริยภาพในงานของเขา และต่อมาได้เชิญให้รามานุจันไปร่วมงานกับเขาที่เคมบริดจ์ รามานุจันได้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนและสมาชิกวิทยาลัย ทรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต่อมาล้มป่วยและเดินทางกลับไปอินเดีย เขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1920 ขณะมีอายุเพียง 32 ปี
ข้อความคาดการณ์ของรามานุจัน ผลงาน ค่าคงตัวของลันเดา-รามานุจัน Mock theta functions ข้อความคาดการณ์ของรามานุจัน Ramanujan prime Ramanujan–Soldner constant Ramanujan theta function Ramanujan's sum Rogers–Ramanujan identities
สวัสดีค่ะ