คุณธรรม 10 ประการ
1. ทาน “ เขาอยากดี เท่าไหร่ ให้เขาเถิด ไม่ต้องเกิด แข่งดี มีแต่เสีย คือ การให้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้บ้านให้รถ ให้อะไรแพง ๆ สำคัญ คือให้ด้วยใจ ไม่ต้องคิดตอบแทน ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า “ เขาอยากดี เท่าไหร่ ให้เขาเถิด ไม่ต้องเกิด แข่งดี มีแต่เสีย ริษยา คือทุรกรรม ทำให้เพลีย ทิ้งลูกเมีย พลอยลำบาก มันมากความ” “ เขาอยากเด่น เท่าไร ให้เขาเถิด จะไม่เกิด กรรมกะลี ที่ซ้ำสาม มุทิตา สาธุกรรม ทำให้งาม สมานความ รักใคร เป็นไมตรี “
2. ศีล ศีลแปลว่า ปรกติ เพียงแค่เรารักษาศีลได้แสดงว่าเราเป็นคนดี คนปรกติ ศีล 5 รักษาได้ไหมครับ
3. บริจาคะ คือการบริจาค บริจาคเขน ขา ตา แก่โรงพยาบาล บริจาคร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่แก่นักเรียนแพทย์ นั้นก็คือ การเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
4. อชัชวะ แปลว่า ความซื่อตรง มั่นคง และการซื่อสัตย์ ไม่ลอกข้อสอบ ไม่ลอกการบ้านเพื่อนในตอนเช้า เด็กบางคนมาเรียนเช้าแต่เข้ามาลอกการบ้านเพื่อน ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ไม้คดเอาไว้ทำขอ เหล็กงอเอาไว้ทำเคียว แต่ถ้าคนคดอย่างเดียว ก็ทำอะไรไม่ได้เลย
5. มัธวะ คือความอ่อนน้อม สุภาพอ่อนโยน พูดถึงความอ่อนน้อมสุภาพอ่อนโยน เราต้องยกให้ในหลวงพระองค์ท่านเลย ท่านทรงมีความอ่อนโยนต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด
6. วิริยะ คือ ความเพียร ในหลวงของพวกเราพระองค์ท่านทรงทรงมีความเพียรความพยายามในการคิด โครงการพระราชดำริ ดังนั้นน้อง ๆ จะต้องเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนให้จบ
7. อโกธะ คือความไม่โกรธ ทำทุก อย่างด้วยเหตุ ด้วยผลรู้จักให้อภัย ไม่แบ่ง ฝักฝ่าย แม้นสังคมจะแตกแยกแต่ เราไม่จำเป็นต้องแตกแยก ตามสังคม เราต้องยึดหลักไม่ โกรธ ให้อภัยซึ่งกันแลกกัน
8. อหิงสา แปลว่าการไม่เบียดเบียน พระองค์ท่านในหลวงของเราทรงไม่เบียดเบียนแถมให้โอกาสคน จากชาวเขาที่เคยปลูกกัญชา กลับกลายมาเป็นไร่ชาอู่หลง ประชาชนพสกนิกรไม่มีพื้นที่ทำมาหากินก็หาพื้นที่ให้ ไม่มีน้ำท่านก็ทรงหาน้ำให้ ไม่มีความรู้ก็ทรงหาความรู้ให้
9. ขันติ คือความอดทนอดกลั้น ในหลวงของเรานี่ท่านทรงมีความอดทนอดกลั้นมาก ยกตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจพอเพียง ท่านทรงคิด โครงการนี้มากว่า 30 ปี แต่คนทำตามไหมตอนแรก ๆ ไม่เลย แต่พระองค์ท่านทรงตรัสกับข้าราชบริพาลว่า “ เราจะต้องทำให้เค้าดูก่อน ถ้าเขาเห็น แล้วว่าดี แล้วเขาจะทำตามเราเอง “
คือความเที่ยงธรรม ความไม่ผิด มีความยุติธรรม รู้จักคิด 10. อวิโรธนะ คือความเที่ยงธรรม ความไม่ผิด มีความยุติธรรม รู้จักคิด วิเคราะห์ตามเหตุและผล