กลุ่มงานดุลยภาพการเงิน การออม และการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออม ของประเทศไทย กลุ่มงานดุลยภาพการเงิน การออม และการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ความเป็นมา GAP I S การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด นั้น การรักษาระดับของดุลยภาพช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน ถือเป็นสิ่งสำคัญ
ความเป็นมา - GAP S I ประเทศที่กำลังมีความเจริญเติบโต ความต้องการลงทุนย่อมมีอยู่ในปริมาณสูงตามไปด้วย หากปริมาณความต้องการลงทุนสูงกว่าเงินออมที่มีอยู่ภายในประเทศ ช่องว่างการออมและการลงทุนก็จะติดลบ เสียดุลภาพไป
ความเป็นมา GAP I S เพื่อให้ดุลยภาพของการออมและการลงทุนกลับเข้าสู่ความสมดุล จะต้องมีการเพิ่มปริมาณการออมให้มากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรได้ร่วมกันคิดว่าทำอย่างไรจึงจะให้ปริมาณการออม ในประเทศมีอัตราการเติบโตที่สูงสอดคล้องและเหมาะสมกับการเติบโตของความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ความเป็นมา F F F S F F ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณเงินออมนั้น เป็นผลลัพท์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในระบบซึ่งตอบสะนองต่อการเปลี่ยนแปลงหรือความเป็นไปของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ
ความเป็นมา ศึกษา Gov. F ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะได้มีการศึกษาถึงพฤติกรรมการออมของประเทศไทย เพื่อที่จะให้หน่วยงานของรัฐสามารถวางแนวนโยบายในการสงเสริมและกระตุ้นการออมภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แนวนโยบายหรือมาตรการในการส่งเสริม S ของประเทศให้ทันต่อปริมาณ I ที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม การออมในเบื้องลึก เพื่อทำให้สามารถกำหนดนโยบายที่สามารถกระตุ้นการออมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ขอบเขตการศึกษา ข้อมูล Time Series Data จาก BOT และ NESDB 4 ประเภทของการออม ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคสถาบันการเงิน ภาคต่างประเทศ การศึกษานี้จะอาศัยข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ประเภทอนุกรมเวลา (Time Series Date) ที่เก็บรวบรวมได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งขอบเขตการศึกษาได้แบ่งประเภทของการออมในประเทศ ที่สามารถทำการวิเคราะห์ออกเป็น 4 กลุ่ม
วิธีการศึกษา การวิเคราะห์เชิงพรรณา (Descriptive Analysis) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์เชิงเหตุและผลในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม การออมจากการเคลื่อนไหวค่าตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ที่จะใช้ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านการออมกับตัวแปรทางเศรษฐกิจอื่น ด้วยวิธี Ordinary least squares (OLS) estimates การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลรายไตรมาสหลังช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน โดยตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการออมของการออมแต่ละประเภทของประเทศ จะต่างกันไปตามลักษณะและความเหมาะสมของประเภทของการออมนั้น ๆ
ตัวแปรที่ใช้ประกอบในแบบจำลองการศึกษา 4 ประเภทของการออม GDP R (อัตราดอกเบี้ย) I (อัตราเงินเฟ้อ) W/GDP (สัดส่วนความมั่งคั่งของภาคการออมต่อGDP)) ExR (อัตราแลกเปลี่ยน) Top 5 GDP (GDP เฉลี่ยของ 5 ประเทศที่สำคัญทางเศรษฐกิจ) Top 5 R (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยขอ 5 ประเทศที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ) ตัวแปรตาม 1.สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP (household saving as the ratio to GDP) ตัวเลขการออมภาคครัวเรือน ได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 27 2. สัดส่วนการออมภาคธุรกิจต่อ GDP (Businees saving as the ratio to GDP) ตัวเลขการออมภาคธุรกิจ ได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 18-25 3. สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP (saving of financial sector as the ratio to GDP) ตัวเลขการออมภาคสถาบันการเงิน ได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 18-25 4. สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP (foreign saving as the ratio to GDP) ตัวเลขการออมภาคต่างประเทศ ได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 18-25 ตัวแปรอิสระ 1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross domestic product: GDP) ตัวเลขได้มาจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2. อัตราการเจริญเติบโตของ GDP (growth of GDP) ตัวเลขได้มาจาก การคำนวณ 3. อัตราดอกเบี้ย (interest rate) เงินฝาก 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ ตัวเลขได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 30 4. อัตราเงินเฟ้อ (inflaion rate) ตัวเลขได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 79 5. สัดส่วนความมั่งคั่งของภาคครัวเรือนและธุรกิจต่อ GDP (wealth of people as the ratio to GDP) หมายถึง สภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียก ตัวเลขได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 5 บรรทัดที่ 4 + 9 6. สัดส่วนความมั่งคั่งของภาคสถาบันการเงินต่อ GDP (wealth of financial as the ratio to GDP) หมายถึง สภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียก ตัวเลขได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 5 บรรทัดที่ 3 + 5 และบรรทัดที่ 8 + 10 7. สัดส่วนการออมจากต่างประเทศต่อ GDP (foreign saving as the ratio to GDP) ตัวเลขได้มาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 55 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (exchange rate) ตัวเลขได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางที่ 91 8. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ 5 ประเทศ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทย ซึ่ง ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น (Top 5 Gross Domestic Product : GDP) ตัวเลขได้มาจาก หนังสือ International Financial Statistics by IMF 9. อัตราดอกเบี้ยของ 5 ประเทศ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น ( Top 5 Interest Rate) ตัวเลขได้มาจาก หนังสือ International Financial Statistics by IMF
ผลการศึกษา การออมภาคครัวเรือน (HS/GDP)t = 0.678315+0.00935(G_GDP)t-0.009974Rt-1-0.028507It-5 -1.351971(W/GDP)t+0.604706(FS/GDP)t-4 R2 = 0.620144 F-statistic = 4.24 Prob(F-statistic) = 0.016514 Durbin-Watson stat = 2.301276 การออมภาคครัวเรือน (Household saving) ประกอบด้วย ครัวเรือน ทุกประเภททั้งครัวเรือนที่หัวหน้าครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการ และสถาบันที่ไม่แสวงหากำไร เช่น สภากาชาด มูลนิธิ สมาคม สโมสร เป็นต้น การออมภาคครัวเรือน = f (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP สัดส่วนเงินออมต่างประเทศต่อ GDP) 1) ตัวแปร GDP แสดง อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น รายได้โดยรวมของครัวเรือนก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย จากสมมติฐานรายได้สมบูรณ์ของเคนส์ ที่กล่าวว่า ภายใต้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ประชาชนหรือครัวเรือนที่มีรายได้สูงขึ้นจะมีความโน้มเอียงในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในทางกลับกันครัวเรือนจึงมีความโน้มเอียงที่จะออมเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากพิจารณาในแง่ของสัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP จึงควรเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้นตามไปด้วย นั่นคือ (GDP) และ สัดส่วนระหว่างการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในไตรมาสหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสเดียวกันเพิ่มขึ้น 0.00935 หน่วย 2) อัตราดอกเบี้ยไม่สามารถอธิบายผลกระทบที่มีต่อการออมภาคครัวเรือนได้ชัดเจนนัก สังเกตจากค่าทางสถิติที่ได้ ให้ผลในระดับความน่าเชื่อมั่นต่ำดังนั้นจึงไม่มีนัยสำคัญเท่าที่ควร อีกทั้งผลที่ได้พบว่าอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงข้ามกับการออมของภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Dethihithikool (1986)[1] และ Sussangkarn (1989)[2] อธิบายว่า อัตราดอกเบี้ยก่อให้เกิดผลทางลบต่อการออมภาคครัวเรือนได้ เมื่อ Wealth effect มากกว่า Substitution effect เนื่องจากครัวเรือนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นหรือรู้สึกว่าร่ำรวยขึ้น ทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายสูงขึ้น การออมของภาคครัวเรือนจึงลดน้อยลง สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP จึงน่าจะลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสนี้ ลดลง 0.009974 หน่วย 3) อัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นบวก แสดงถึงการที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น และสะท้อนถึงค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการออมภาคครัวเรือนในทิศทางลบ เราสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจะมีผลให้รายจ่ายในการบริโภคที่เป็นตัวเงินของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแม้ว่าระดับการบริโภคที่แท้จริงอาจลดลงก็ตาม ทำให้แนวโน้มของส่วนเหลือจากค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดน้อยลง ดังนั้นสัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP จึงลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราเงินเฟ้อใน 5 ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสปัจจุบัน ลดลง 0.028507 หน่วย 4) สภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ของหน่วยเศรษฐกิจ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียก หากครัวเรือนมีสินทรัพย์ในส่วนนี้ในปริมาณสูง เงินส่วนที่เหลือซึ่งจะถูกใช้เป็นเงินออมระยะยาวย่อมลดน้อยลงด้วยตามสัดส่วน ดังนั้น ความมั่งคั่งของครัวเรือนจึงควรส่งผลกระทบต่อปริมาณเงินออมในทางลบ นั่นคือ สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP และ สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงข้ามกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ในไตรมาสหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสเดียวกัน ลดลง 1.351971 หน่วย 5) จากสมการที่วิเคราะห์ได้พบว่า สัดส่วนปริมาณเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากในขณะที่ประเทศที่มีระดับการออมของภาคครัวเรือนระยะยาวที่สูงขึ้น นักลงทุนชาวต่างชาติจะมองว่ามีแนวโน้มของการเจริญทางเศรษฐกิจที่ดี จึงให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนมากขึ้น ระดับปริมาณเงินออมจากต่างประเทศและการออมภาคครัวเรือนจึงเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP ใน 4 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสนี้ จะเพิ่มขึ้น 0.604706 หน่วย [1] Praveena Dethihithikool, “A Study of Aggregate Saving Rate of Five Selected Developing Asian Countries : 1960-1981” (Master of Economics, English Language Program Thammassat University,1986) [2] Chalongphob Sussangkarn, “Literature Review of Household Consumption and Saving in Thailand Development Research Institute Foundation, Seminar on Literature Review Promotion of Analysis and Consideration of Population Consquences of Development Planning and Policy in Thailand, Paper presented at Pattaya, 8-9 July 1989.
ผลการศึกษา การออมภาคธุรกิจ (BS/GDP)t = -0.925262+0.009708(G_GDP)t-1+0.001609Rt-4+0.07688It-1 +2.062435(W/GDP)t-3-0.83516(FS/GDP)t-2 R2 = 0.828745 F-statistic = 13.54988 Prob(F-statistic) = 0.00006 Durbin-Watson stat = 2.154171 การออมภาคธุรกิจ (Business saving) ประกอบด้วยธุรกิจที่มีเจ้าของ และ/หรือควบคุมโดยนิติบุคคลหรือกึ่งนิติบุคคล ซึ่งปกติทำกิจการที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน เช่น บริษัทก่อสร้าง บริษัทอุตสาหกรรม บริษัทค้าส่งค้าปลีกต่างๆ เป็นต้น การออมภาคธุรกิจ = f (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP สัดส่วนเงินออมต่างประเทศต่อ GDP) 1) เมื่อประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น (GDP เพิ่มขึ้น) ภาคธุรกิจย่อมมีโอกาสในการแสวงหาผลกำไรได้มากขึ้น สัดส่วนของเงินออมที่ภาคธุรกิจพึงมีจึงน่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้น GDP และ สัดส่วนระหว่างการออมภาคธุรกิจต่อ GDP จึงควรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อ GDP ในไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคธุรกิจต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.00971 หน่วย 2) ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนเพิ่ม จะเป็นแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจนำส่วนที่เหลือจากกำไรหรือเงินออมของตนมาฝากไว้กับสถาบันการเงินมากขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนจากการฝากเงินที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่ม สัดส่วนการออมของภาคธุรกิจต่อ GDP จึงเพิ่ม โดยอัตราดอกเบี้ยมีทิศทางของความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการออมภาคธุรกิจ พบว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยใน 4 ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้สัดส่วนการออมภาคธุรกิจต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.001609 หน่วย 3) ในด้านของอัตราเงินเฟ้อนั้น เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเกิดการลงทุนสูงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น สัดส่วนเงินออมจึงเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลต่อสัดส่วนการออมภาคธุรกิจในทิศทางเดียวกัน จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.07688 หน่วย 4) ความมั่งคั่งของธุรกิจ ซึ่งในที่นี้แสดงสภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียกของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ของภาคธุรกิจ และสัดส่วนการออมภาคธุรกิจต่อ GDP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุริกิจในภาพรวมหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากธุกิจเติบโตสูงขึ้นมีรายได้มากขึ้นจนมีทั้งปริมาณเงินออมและเงินสดหมุนเวียนในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ใน 3 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 2.062435 หน่วย 5) จากสมการที่วิเคราะห์ได้พบว่า สัดส่วนปริมาณเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการออมภาคธุรกิจต่อ GDP ในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่อต่างชาติถอนเงินออมออกไป เป็นเครื่องบ่งชี้ให้นักลงทุน ไม่มั่นใจในการลงทุนมากยิ่งขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดการหดตัวของการลงทุนได้ในที่สุด ส่วนต่างของเงินที่จะต้องนำไปลงทุน ก็จะกลายมาเป็นเงินออมของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นระดับปริมาณเงินออมจากต่างประเทศและการออมภาคธุรกิจจึงเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP ใน 2 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ จะลดลง 0.83516 หน่วย
ผลการศึกษา การออมภาคสถาบันการเงิน (FINS/GDP)t = 0.847763+0.011516(G_GDP)t-4-0.056061Rt-4+0.156653It-4 +2.476735(W/GDP)t-2-0.016929EXRt-3 R2 = 0.589435 F-statistic = 4.019876 Prob(F-statistic) = 0.017991 Durbin-Watson stat = 1.880837 การออมภาคสถาบันการเงิน (Saving of financial sector) ประกอบด้วย กิจการซึ่งทำหน้าที่ เกี่ยวกับธุรกิจด้านการเงินด้วยการก่อหนี้และจัดหาสินทรัพย์ทางการเงิน การออมภาคสถาบันการเงิน = f (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์พาณิชย์ อัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP อัตราแลกเปลี่ยน) 1) เมื่อประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น สถาบันการเงินจึงมีแนวโน้มที่จะขยายสินเชื่อเพื่อการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สถาบันการเงินจึงต้องมีการกันเงินสดสำรองไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรา 14 ว่าด้วยการเงินคงเหลือที่แต่ละธนาคารต้องสำรองไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีปกติร้อยละ5 ของหนี้สินที่ต้องจ่ายเมื่อเรียกร้อง นั่นคือ (GDP) และ สัดส่วนระหว่างการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP จึงควรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อ GDP ในไตรมาสที่ 3 เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.011516 หน่วย 2) ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นต้นทุนหนึ่งของสถาบันการเงินลดลง ดังนั้นโอกาศที่สถาบันการเงินจะมีกำไรมากขึ้นจึงสูงขึ้น จึงทำให้สัดส่วนเงินออมสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น โดยทิศทางของความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการออมภาคสถาบันการเงิน พบว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยใน 4 ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ ลดลง 0.056061 หน่วย 3) จากที่กล่าวมาแล้วในส่วนของการออมภาคครัวเรือนที่ เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการออมภาคครัวเรือนในทิศทางลบ ครัวเรือนจะมีแนวโน้มที่จะถือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียกไว้จับจ่ายใช้สอยมากกว่าที่จะเก็บเป็นเงินออมในระยะยาว ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องมีการสำรองเงินไว้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณเงินฝากเผื่อเรียกดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออัตราเงินเฟ้อจะส่งผลต่อสัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราเงินเฟ้อใน 4ไตรมาส ที่แล้ว เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.156653 หน่วย 4) ความมั่งคั่งของสถาบันการเงิน ซึ่งในที่นี้แสดงสภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียกของสถาบันการเงิน หากสถาบันการเงินมีสินทรัพย์ในส่วนนี้ในปริมาณสูง สถาบันการเงินจะต้องมีการสำรองเงินไว้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณเงินฝากเผื่อเรียกจำนวนนี้ นั่นคือ สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ของสถาบันการเงิน และสัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ใน 2 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 2.476735 หน่วย 5) ความมั่งคั่งของสถาบันการเงิน ซึ่งในที่นี้แสดงสภาพคล่องของการถือสินทรัพย์ อันได้แก่ เงินสดและเงินฝากเผื่อเรียกของสถาบันการเงิน จากผลการวิเคราะห์พบว่า สัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ของสถาบันการเงิน และสัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของสถาบันการเงินในภาพรวมหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเติบโตสูงขึ้นมีรายได้มากขึ้นจนมีทั้งปริมาณเงินออมและเงินสดหมุนเวียนในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อสัดส่วนความมั่งคั่งต่อ GDP ใน 2 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 2.476735 หน่วย 6) เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนลดลง เงินบาทแข็งค่าขึ้น เงินลงทุนจากต่างประเทศจะเข้ามามากขึ้นและเพื่อให้เป็นหลักประกันทางด้านการประกันความเสี่ยง ตามกฏของธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินจะต้องสำรองเงินสดไว้มากขึ้น ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนและการออมภาคสถาบันการเงินจึงเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราแลกเปลี่ยน ใน 3 ไตรมาสที่แล้ว เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย สัดส่วนการออมภาคสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสนี้ จะลดลง 0.016929 หน่วย
ผลการศึกษา การออมภาคต่างประเทศ (FS/GDP)t = 0.051543+0.001412G_GDP)t-2-0.007492Rt-0.002151EXRt -0.000407Top5GDPt-4+1.245162Top5Rt-1 R2 = 0.893056 F-statistic = 23.38181 Prob(F-statistic) = 0.000002 Durbin-Watson stat = 2.12197 การออมภาคต่างประเทศ (Foreign saving) ประกอบด้วย เอกชน นิติบุคคลที่อยู่นอกประเทศไทย รัฐบาลของประเทศอื่นรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ การออมภาคต่างประเทศ = f (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตของ GDP 5 ประเทศ อัตราดอกเบี้ย 5 ประเทศ[1]) [1] ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น (Top 5 Gross Domestic Product : GDP) 1) ตัวแปร GDP แสดงถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของประเทศ เราคาดว่า เมื่อประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยพิจารณาจากระดับของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนภายประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น ตัวแปร GDP จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อ GDP ใน 2 ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 0.001412 หน่วย 2) ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลง เป็นปัจจัยชักจูงให้เกิดการลงทุนภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะเป็นสิ่งบ่งชี้ได้ว่าประเทศมีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดี ชาวต่างชาติจึงสนใจที่จะมาลงทุน การออมของต่างประเทศจึงเพิ่มมากขึ้นพร้อมๆกับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง เพราะฉะนั้น อัตราดอกเบี้ย และ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน และเราพบว่า จากผลการวิเคราะห์ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ในไตรมาสนี้ ลดลง 0.007492 หน่วย 3) เราคาดว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะมีผลที่ผกผันต่อการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเมื่อประเทศมีค่าเงินที่แข็งขึ้น (อัตราแลกเปลี่ยนลดต่ำลง) จะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนภายประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ไปในทิศทางตรงกันข้าม จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในไตรมาสหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ในไตรมาสเดียวกันนี้ ลดลง 0.002151 หน่วย 4) เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น ลดลง หรือประเทศมีความร่ำรวยน้อยลง ประชาชนกินดีอยู่ดีลดลง นักลงทุนต่างชาติจะลดการลงทุนภายในประเทศของตน และมองหาประเทศที่จะนำเงินไปลงทุน และถ้าพิจารณาเศรษฐกิจ ของประเทศแถบเอเซียแล้ว จะเห็นว่า เหมาะสมที่นักลงทุนจะทำการลงทุน นักลงทุนต่างชาติจึงคิดที่จะลงทุนในประเทศในแถบนี้ เพราะนั้น เงินออมจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ 5 ประเทศและ สัดส่วนเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP จึงมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ 5 ประเทศ ใน 4 ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ในไตรมาสเดียวกันนี้ ลดลง 0.000407 หน่วย 5) ในส่วน ตัวแปรทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น ถ้าพิจารณาในแง่ของส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย และ 5ประเทศ จะพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของประเทศไทยยังคงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ 5 ประเทศ เพราะฉะนั้น เงินออมจากต่างประเทศจึงไหลเข้ามาในประเทศไทยจึงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยของ 5 ประเทศ และ สัดส่วนเงินออมจากต่างประเทศต่อ GDP จึงมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน จากผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยของ 5 ประเทศ ใน ไตรมาสที่แล้วเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลทำให้ สัดส่วนการออมภาคต่างประเทศต่อ GDP ในไตรมาสเดียวกันนี้ ลดลง 1.245162 หน่วย
สรุปและข้อเสนอแนะ สรุป GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ สภาพคล่อง เงินออมจากต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน GDP ต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ HS -1.351971 BS 2.06244 FINS 2.476735 FS -1.245162 HS 0.00935 -0.009974 -0.028507 -1.351971 0.604706 BS 0.00971 0.00161 0.07688 2.06244 -0.8352 FINS 0.011516 -0.056061 0.156653 2.476735 -0.016929 FS 0.00935 -0.007492 -0.002151 -0.000407 -1.245162 การวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของประเทศไทยนั้น ได้แบ่งประเภทของการออมของประเทศไทยที่จะทำการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) การออมภาคครัวเรือน (Household saving) (2) การออมภาคธุรกิจ (Business saving) (3) การออมภาคต่างประเทศ (Foreign saving) (4) การออมภาคสถาบันการเงิน (Saving of financial sector)
F Wealth สรุปและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ การควบคุมปริมาณเงินออมที่ไหลเข้าจาก ต่างประเทศค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมให้หน่วยเศรษฐกิจที่เป็นภาคธุรกิจและสถาบันการเงินมีสถาพคล่องมากขึ้น ในขณะที่ต้องหาแนวนโยบายในการจูงใจให้ภาคครัวเรือนนำส่วนเกินในสภาพคล่องของตนมาเก็บเป็นเงินออมในระยะยาวให้ได้ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย F จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการออมภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นการออมภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคสถาบันการเงิน คือ ปัจจัยด้านสภาพคล่องของหน่วยเศรษฐกิจนั้นๆ นั่นเอง ดังนั้น ในการดำเนินนโยบาย ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นหรือส่งเสริมการออมในประเทศให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงควรให้ความสำคัญกับตัวแปรที่จะช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมให้หน่วยเศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณเงินออมจากต่างประเทศ คือ ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ ดังนั้น การควบคุมปริมาณเงินออมที่ไหลเข้าภายในประเทศจึงค่อนข้างเป็นได้ยาก รัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณเงินออมภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อที่จะได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนในการพัฒนาประเทศที่มีเสถียรภาพและยั่งยืนต่อไป ผลการศึกษานี้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของงานวิจัยในโครงการภาพรวมการออมและการลงทุน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยนโยบายและพัฒนาบุคลากรระหว่างกระทรวงการคลังและมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนมีนาคม 2547 นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง การออม การลงทุน และการประเมินระบบความปลอดภัยทางสังคม ในงานการสัมมนาทางวิชาการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ด้วย Wealth
สรุปและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ การกระตุ้นหรือส่งเสริมการออมให้มากขึ้นโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของตลาดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมนักในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน รัฐบาลควรมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการออมของประชาชนและหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ด้วยการเร่งรัดมาตรการส่งเสริมให้คนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ การขยายตลาดใหม่ๆ ในตลาดโลก และการส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการออมภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นการออมภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคสถาบันการเงิน คือ ปัจจัยด้านสภาพคล่องของหน่วยเศรษฐกิจนั้นๆ นั่นเอง ดังนั้น ในการดำเนินนโยบาย ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นหรือส่งเสริมการออมในประเทศให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงควรให้ความสำคัญกับตัวแปรที่จะช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมให้หน่วยเศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณเงินออมจากต่างประเทศ คือ ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ ดังนั้น การควบคุมปริมาณเงินออมที่ไหลเข้าภายในประเทศจึงค่อนข้างเป็นได้ยาก รัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณเงินออมภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อที่จะได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนในการพัฒนาประเทศที่มีเสถียรภาพและยั่งยืนต่อไป ผลการศึกษานี้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของงานวิจัยในโครงการภาพรวมการออมและการลงทุน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยนโยบายและพัฒนาบุคลากรระหว่างกระทรวงการคลังและมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนมีนาคม 2547 นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง การออม การลงทุน และการประเมินระบบความปลอดภัยทางสังคม ในงานการสัมมนาทางวิชาการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
The End