หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent
หลักการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอท จะคายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ไอปรอท ซึ่งจะทำให้อะตอม ของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (exited state) เป็นผลให้อะตอมปรอทคายพลังงานออกมา เพื่อลดระดับพลังงานในตัวเองในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมองไม่เห็น เมื่อรังสีชนิดนี้ไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์ สารเหล่านี้จะเปล่งแสงได้ โดยให้แสงสีต่างๆตามชนิดของสารวาวแสงที่ฉาบไว้ภายในหลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้ แสงสีชมพู แคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล นอกจากนี้ยังอาจผสมสารวาวแสงเหล่านี้ เพื่อให้ได้แสงสีผสมที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย
ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1. ตัวหลอด ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอน เล็กน้อย ผิวด้านในของหลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสีใด
2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ความต้านทานของหลอดสูง
3. สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ทำด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้
4. แบลลัสต์ เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากแบลลัสต์นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้กระแส ไฟฟ้าที่จะเข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง
การใช้งานให้ถูกวิธี 1. ใช้หลอดไฟวัตต์ต่ำ 2. อย่าทาสีผนังเป็นสีเข้ม ควรใช้สีอ่อนๆ เพื่อช่วยให้ความสว่างมากขึ้น 3. หลอดไฟที่ขาด ควรใส่ไว้กับขั้วหลอดจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่ 4. อย่าปล่อยให้หลอดไฟกะพริบ หรือหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ 5. เลิกใช้หลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
วิธีการดูแลรักษา 1. หลอดที่เก็บไว้ไม่กระทบกระทั่งกันจนเกิดการชำรุดเสียหาย 2. เปลี่ยนใช้หลอดผอมแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ 3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี 4. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์คู่กับหลอดผอม 5. เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์ เหมาะสมกับการใช้งาน
จบการนำเสนอครับ.. สมาชิกกลุ่ม นายอภิสิทธิ์ กิ่งก้าน นายอภิสิทธิ์ กิ่งก้าน นายเกรียงไกร คำประเสริฐ
โจทย์ปัญหา เรื่อง หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent 1.เหตุใดหลอดฟลูออเรสเซนต์จึงสามารถเปล่งแสงได้ ก. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับไส้หลอด ข. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ค. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับไอปรอท ง. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับก๊าซอาร์กอน
2.ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ทำให้เกิดแสงสีอะไร ก. แสงสีเขียว ข. แสงสีชมพู ค. แสงสีน้ำเงิน ง. จะมีข้อถูกก็หาไม่
3.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ก. ตัวหลอด ข. ไส้หลอด ค. สตาร์ตเตอร์ ง. เครื่องปั่นไฟ
4.ส่วนประกอบข้อใดทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ก. ตัวหลอด ข. ไส้หลอด ค. สตาร์ตเตอร์ ง. แบลลัสต์
5.ข้อใดไม่ใช่วิธีการดูแลรักษาหลอดฟลูออเรสเซนต์ ก. หลอดที่เก็บไว้ไม่กระทบกระทั่งกันจนเกิดการชำรุดเสียหาย ข. เปลี่ยนใช้หลอดผอมแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ ค. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ง. เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์สูงๆ