จดหมายข่าว Newsletter THAI CONSULTANT AND PUBLIC RELATION CO.,LTD ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 วันที่ 14 เดือน มีนาคม 2557 สวัสดีค่ะ..คุณผู้อ่านทุกๆท่าน ในเดือนมีนานี้เราจะมาเล่าถึงความจริง 5 ประการของอุตสาหกรรมเครื่องบินว่ามีความปลอดภัยแค่ไหนยังไงกันนะคะ ประการแรกเราจะมาพูดถึง มาตรฐานความปลอดภัยของการผลิตเครื่องบินซึ่งพบว่า บริษัทที่ผลิตเครื่องบินจะต้องผลิตเครื่องบินที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่องค์การการบินระหว่างประเทศได้กำหนดไว้ และเครื่องบินในปัจจุบันยังมีความทันสมัยอย่างมากทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางการบินได้ไม่เกิน 1ใน1พันล้านของชั่วโมงบินของเครื่องบินลำนั้น ส่วนเครื่องบินทั่วไปจะมีโอกาสเสี่ยงประมาณ 1ใน10 ล้านของชั่วโมงบิน นอกจากนั้นความผิดพลาดใดๆบนเครื่องบินจะต้องไม่นำไปสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรง ถ้าเครื่องบินใดที่ไม่สามารถปฎิบัติได้ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวก็จะไม่ได้การรับอนุมัติให้สามารถนำออกไปใช้งานได้จริงจ๊ะ ตรวจสอบกันเข้มข้นจริงๆ เลยเนอะ ประการที่ 2 เราจะพบว่า อุบัติเหตุทางเครื่องบิน เกิดขึ้นน้อยกว่า อุบัติเหตุทางรถยนต์ อย่างเทียบกันไม่ติด ยกตัวอย่าง เช่น ในรอบ 10 ปี (มกราคม 1995 - ธันวาคม 2004 - ฝรั่งเศส) มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบิน จำนวน 5,612 ราย ใน 376 เที่ยวบิน ซึ่งก็คนเสียชีวิตตกปีหนึ่งประมาณ 560 ราย ใน 38 เที่ยว ในขณะที่มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึง 5,000 ราย ในแต่ละปี เป็นต้น แน่นอนว่า ในแต่ละวันมีคนใช้รถยนต์มากกว่าเครื่องบิน แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงมีอยู่ว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงที่เสียชีวิตในระหว่างขับรถไปสนามบิน มากกว่า นั่งโดยสารเครื่องบิน เสียอีกจ๊ะ จดหมายข่าวจากฝ่ายกฎหมายและวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 http://www.tpconsult.co.th
จดหมายข่าว Newsletter THAI CONSULTANT AND PUBLIC RELATION CO.,LTD ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 วันที่ 14 เดือน มีนาคม 2557 ประการที่ 3 สื่อ เป็นตัวสนับสนุนให้เกิด โรคกลัวการบิน เห็นได้ชัดว่า สื่อมวลชนมักนำเสนอข่าวอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่เกิดขึ้น และมักจะนำเสนอข่าวเครื่องบินตกซ้ำไปซ้ำมา ไม่ต่ำกว่า 150 200 ครั้ง และชอบที่จะนำเสนอในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์มากกว่าความตายปกติทั่วไป ดังนั้นบรรดาผู้โดยสารที่กลัวการบินก็จะเกิดอคติเกี่ยวกับการบินไปในทางลบมากขึ้นไปอีกจ๊ะ ดังนั้นพี่ผึ้งว่า เรื่องนี้ต้องฟังหูไว้หูนะจ๊ะ เด็กๆ ประการที่ 4 คือ ความปลอดภัยของแต่ละสายการบินไม่เท่ากัน แน่นอนว่า ความเป็นไปได้ของคุณที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอันที่อาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงต่อชีวิต ขึ้นอยู่กับสายการบินที่ขึ้นเลือกใช้บริการด้วยจ๊ะ จดหมายข่าวจากฝ่ายกฎหมายและวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 http://www.tpconsult.co.th
สำหรับข้อควรปฏิบัติบนเครื่องบิน คือ จดหมายข่าว Newsletter THAI CONSULTANT AND PUBLIC RELATION CO.,LTD ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 วันที่ 14 เดือน มีนาคม 2557 จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า ยิ่งนั่งใกล้กับหางเครื่องบิน ก็จะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่านั่งในส่วนหน้าถึง 20% ส่วนจุดที่เสี่ยงตายมากที่สุดคือส่วนของชั้น First Class และ Business Class นั่นเองครับ สำหรับข้อควรปฏิบัติบนเครื่องบิน คือ ต้องตั้งใจฟังคำสั่งของเจ้าหน้าที่ประจำบนเครื่องขณะสาธิตอุปกรณ์การช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน ถ้าเจ้าหน้าที่บอกให้คุณทำอะไร คุณควรปฏิบัติทันที เมื่อมีข้อสงสัยแล้วค่อยซักถามในภายหลัง คาดเข็มขัดตลอดเวลาที่คุณนั่งอยู่บนเก้าอี้ระหว่างการเดินทาง จะเป็นการป้องกันและเพิ่มความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถทำให้คุณไม่ได้รับบาดเจ็บเมื่อเครื่องบินตกหลุมอากาศ และหากเครื่องบินเกิดเสียหลัก ในเครื่องบินจะเกิดแรงกระชากอย่างรุนแรง เข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งเดียวที่จะรั้งเราเอาไว้ และหากเกิดกรณีนั้นจริงให้ “ก้มหัวลงให้ต่ำที่สุด หรือจับข้อเท้าไว้ แล้วรอจนเครื่องจอดสนิท ถึงจะทำการอพยพ” ปิดโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ถึงแม้เครื่องจอดอยู่ สัญญาณจากโทรศัพท์มือถืออาจทำให้นักบินได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดได้ และอีกสิ่งที่เราควรปฏิบัติคือ การสังเกตผังต่างๆ ของเครื่องบิน ว่าเครื่องบินลำนี้มีทางออกกี่ทาง ตรงไหนบ้าง ทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหน และอาจจะช่วยสังเกตความผิดปกติบนเครื่องบินด้วย หากพบเห็นรอยแตก ได้กลิ่นไหม้ มีเสียงแปลกๆ เห็นควันไฟ ให้รีบแจ้งลูกเรือเพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานต้อนรับอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งที่จะช่วยชีวิตผู้โดยสารมากกว่าการเลือกที่นั่งว่าตรงไหนปลอดภัยที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าล้อหลังไม่กาง เอาท้ายลง ด้านหลังก็เสี่ยง, ถ้าเกิดน้ำมันรั่วที่ปีก ตรงกลางเสี่ยง, ถ้าเกิดชนกระแทกด้านหน้า ด้านหน้าเสี่ยง เพราะฉะนั้น การเตรียมตัวเอง มีสติ ไม่ประมาท ช่างสังเกต และระแวดระวัง เป็นวิธีที่ทำให้เราปลอดภัยที่สุด หากต้องเดินทางโดยเครื่องบินนั่นเอง ขอบคุณที่มาและภาพประกอบ : manager.co.th จดหมายข่าวจากฝ่ายกฎหมายและวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 http://www.tpconsult.co.th