รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วิชา ภาวะผู้นำ PLA 3308 รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
เนื้อหา ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ -ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ เช่นคุณลักษณะ พฤติกรรม และวิสัยทัศน์ -แนวคิดและลักษณะของผู้นำที่ท้าทายในปัจจุบัน -ผู้นำในรูปแบบต่างๆ -ภาวะผู้นำกับหลักธรรมภิบาล
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ นักคิดนักวิชาการในกลุ่มประเทศโลกตะวันตกได้นำเสนอ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำไว้ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของผู้นำ 2.กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ 3.กลุ่มทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ 4.กลุ่มทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มทฤษฎีลักษณะเด่นของผู้นำ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 1.กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของผู้นำ ระยะแรกของการศึกษาภาวะผู้นำเริ่มในปี ค.ศ. 1930-1940 แนวคิดมาจากทฤษฏีมหาบุรุษ (Great man theory of leaderships) ของกรีกและโรมันโบราณ มีความเชื่อว่า ภาวะผู้นำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือโดยกำเนิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่สามารถพัฒนาขึ้นได้ลักษณะผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะประกอบด้วย ความเฉลียวฉลาด มีบุคลิกภาพซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้นำ และต้องเป็นผู้ที่มีพลังอำนาจที่เหนือธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อนักจิตวิทยาของกองทัพบกสหรัฐได้ทำการค้นคว้าหาวิธีการคัดเลือกนายทหาร ซึ่งมีการเริ่มพยายามระบุลักษณะที่สำคัญๆ เช่น - คุณลักษณะทางกายภาพ (ความสูง รูปร่าง หน้าตา) - คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ (ลักษณะข่ม หรือ เป็นผู้มี ความคิดริเริ่ม) - ทักษะและความสามารถ (สติปัญญา) - ลักษณะเด่นทางสังคม ( เข้าสังคมเก่ง มีฐานะทางสังคม)
กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ จะเน้นศึกษาไปทางพฤติกรรมของผู้นำซึ่งจะไม่เน้นถึงลักษณะทางกายภาพ แต่จะสนใจว่า “ผู้นำทำอะไร มากกว่าลักษณะเด่น”
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เคอร์ท เลวิท (Kurt Lewin) แห่งมหาวิทยาลัย ไอโอวา (University of Iowa) ได้แบ่งพฤติกรรมของผู้นำออกเป็น 3 สไตล์ คือ 1.ผู้นำแบบอัตถนิยมหรืออัตตา (Autocratic Leaders) 2.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leaders) 3.ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม (Laissez- Faire Leaders)
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 1.ผู้นำแบบอัตถนิยมหรืออัตตา (Autocratic Leaders) จะตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แน่นอนขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเอง คิดถึงผลงานไม่คิดถึงคน บางครั้งทำให้เกิดศัตรูได้ ผู้นำลักษณะนี้จะใช้ได้ดีในช่วงภาวะวิกฤตเท่านั้น ผลของการมีผู้นำลักษณะนี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 2.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leaders) ใช้การตัดสินใจของกลุ่มหรือให้ผู้ตามมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นส่วนรวม ทำงานเป็นทีม มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง ทำให้เพิ่มผลผลิตและความพึงพอใจในการทำงาน บางครั้งการอิงกลุ่มทำให้ใช้เวลานานในการตัดสินใจ ระยะเวลาที่เร่งด่วนผู้นำลักษณะนี้ไม่เกิดผลดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 3.ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม (Laissez- Faire Leaders) จะให้อิสระกับผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา จะไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีระเบียบ จะทำให้เกิดความคับข้องใจหรือความไม่พอใจของผู้ร่วมงานได้ และได้ผลผลิตต่ำ การทำงานของผู้นำลักษณะนี้เป็นการกระจายงานไปที่กลุ่ม ถ้ากลุ่มมีความรับผิดชอบและมีแรงจูงใจในการทำงานสูง สามารถควบคุมกลุ่มได้ดี มีผลงานและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เรนสิส ลิเคอร์ท (Rensis Likert) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน มีการร่วมกันทดลองที่มีชื่อเสียงว่า (Likert’s Michigan Studies) เป็นการรวมความคิดรวมยอดเรื่อง ภาวะผู้นำ แรงจูงใจ การติดต่อสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ และการใช้อิทธิพล การตัดสินใจ การตั้งเป้าหมาย การควบคุมคุณภาพ และสมรรถนะของเป้าหมาย โดยแบ่งลักษณะผู้นำเป็น 4 แบบ คือ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 1. แบบใช้อำนาจ ผู้บริหารใช้อำนาจเผด็จการสูง ไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชาเล็กน้อย บังคับบัญชาแบบขู่เข็ญมากกว่าการชมเชย การติดต่อสื่อสารเป็นแบบทางเดียวจากบนลงล่าง การตัดสินใจอยู่ในระดับเบื้องบนมาก 2. แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา ปกครองแบบพ่อปกครองลูก ให้ความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา จูงใจโดยการให้รางวัล แต่บางครั้งขู่ลงโทษ ยอมให้การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนได้บ้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชาบ้าง และบางครั้งยอมให้การตัดสินใจแต่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของผู้บังคับบัญชา
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 3. แบบปรึกษาหารือ ผู้บริหารจะให้ความไว้วางใจและการตัดสินใจแต่ไม่ทั้งหมด จะใช้ความคิดและความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจจะลงโทษนานๆ ครั้งและใช้การบริหารแบบที่มีส่วนรวม มีการติดต่อสื่อสารแบบ2ทางจากระดับล่างขึ้นบนและจากระดับบนลงล่าง การวางนโยบายและการตัดสินใจมาจากระดับบน ขณะเดียวกันก็ให้ยอมการตัดสินใจบางอย่างอยู่ในระดับล่างผู้บริหารเป็นที่ปรึกษาในทุกด้าน
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4. แบบมีส่วนรวมอย่างแท้จริง ผู้บริหารจะให้ความไว้วางใจและเชื่อถือผู้ใต้บังคับบัญชา ยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ มีการให้รางวัลตอบแทนเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่กลุ่ม มีการบริหารแบบ มีส่วนร่วม ตั้งจุดประสงค์ร่วมกัน มีการประเมินความก้าวหน้า มีการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทางทั้งจากระดับบนลงล่างในระดับเดียวกัน หรือในกลุ่มผู้ร่วมงานสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารได้ทั้งในกลุ่มบริหารและกลุ่มผู้ร่วมงาน
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เบลค และมูตัน (Blake and Mouton) ได้เป็นผู้คิดตาข่ายการจัดการ (Managerial Grid) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ แต่ได้แยกแยะรายละเอียด ภาวะผู้นำที่ดีมีปัจจัย 2 อย่าง คือ 1. คน(People) 2. ผลผลิต(Product)
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การศึกษาภาวะผู้นำตามแนวตาข่ายการจัดการ 1. แบบ 1,1 การจัดการแบบปล่อยตามสบาย (Impoverished Management) การจัดแบบนี้ ผู้นำไม่สนใจทั้งการผลิตและผู้ปฏิบัติงาน (คนผลิต) ต่ำ และไม่ค่อยสนใจความต้องการและเป้าหมายขององค์การ ละทิ้งงาน ใช้เวลาในแต่ละวันเพียงทำหน้าที่เป็นผู้นำข้อมูล หรือนโยบายต่าง ๆ จากผู้บริหารในระดับสูง ผ่านทางผู้นำไปสู่ผู้ปฏิบัติงานเท่านั้นเอง การจัดการแบบนี้อาจจะทำให้องค์การเสื่อมถอยลงได้
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 2. แบบ 9,9 การจัดการแบบเน้นการทำงานเป็นทีม (Team Management) เป็นการจัดการที่ผู้นำให้ความสำคัญและเอาใจใส่ทั้งการผลิตและผู้ปฏิบัติงานสูงทั้งสองอย่าง ผู้นำแบบนี้จะพยายามทำให้เป้าหมายขององค์การประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็สนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงานได้ด้วย การจัดการแบบนี้ถือเป็นการจัดการที่ดีที่สุด
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 3. แบบ 1,9 การจัดการที่เน้นการสมาคม (Country Club Management) คือการบริหารที่ให้ความสนใจการผลิตน้อย แต่สนใจผู้ผลิตมาก มุ่งสร้างความพึงพอใจด้วยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศแห่งความเป็นเพื่อนในการทำงาน แต่ไม่ค่อยสนใจ หรือพยายามที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4. แบบ 9,1 การจัดการแบบเน้นอำนาจและการเชื่อฟัง (Authority-Obedience)การจัดการแบบนี้จะให้ความสนใจการผลิตสูง สนใจผู้ปฏิบัติงานน้อย มุ่งใช้อำนาจให้ผู้ปฏิบัติงานเชื่อฟังและปฏิบัติตามความต้องการของผู้นำ สรุปว่าเป็นการบริหารที่ค่อนข้างจะเผด็จการ และเอาใจใส่แต่การผลิตหรืองานเป็นสำคัญ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 5. แบบ 5,5 การจัดการแบบพบกันครึ่งทางระหว่างการผลิตและคนผลิต (Organization Man Management) เป็นการจัดการที่ให้ความสนใจต่อการผลิตปานกลาง และพยายามสร้างความสมดุลในการสนใจผู้ปฏิบัติงานด้วย โดยการธำรงรักษาขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจ แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญของผู้ปฏิบัติงานสูงกว่าการผลิต สรุปว่าการจัดการแบบนี้ ผู้นำจะไม่ค่อยวางเป้าหมายของงานสูงไป และค่อนข้างไม่เผด็จการ รวมทั้งยังรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานด้วย
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ Douglas A. McGregor “ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ” มองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ทฤษฎี X ถือว่า - คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน - ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า - เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ - ไม่ฉลาด 2. ทฤษฎี Y : เห็นว่า - คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน - การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทาง และควบคุมตนเองได้ - ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำ ให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ - คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป - คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ - ในปัจจุบันศักยภาพของคนยังไม่ได้รับการนำไปใช้
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ Douglas A. McGregor “ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ” ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุม การทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาส ให้มีส่วนร่วม
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ Abraham H. Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 1.ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง ความต้องการในระดับนี้จะเป็นความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ Abraham H. Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 4. ความต้องการการยกย่อง หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
กลุ่มทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เรดดิน (Reddin) ได้เสนอแนวคิดทฤษฎี 3-D Management Style เพิ่มมิติประสิทธิผล เข้ากับมิติพฤติกรรมด้านงาน และมิติพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ เรดดินกล่าวว่าแบบภาวะผู้นำ ในแบบต่างๆ อาจมีประสิทธิผลหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะพื้นฐาน ภาวะผู้นำ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ 1.แบบหนีงาน (Deserter) คือ ผู้นำที่เอาแต่ผลของงานอย่างเดียว ผู้หนีงาน ผู้นำแบบปลีกตัว มุ่งความสัมพันธ์น้อย มุ่งงานน้อย แบบข้าราชการ (Bureaucrat) คือ ทำงานแบบเครื่องจักรไม่มีความคิดสร้างสรรค์ให้งานเสร็จไปวันๆ 2.แบบอัตตนิยม (Autocrat) คือ ผู้นำที่เอาแต่ผลของงานอย่างเดียว ผู้เผด็จการ ผู้นำแบบอุทิศตน มุ่งควมสัมพนธ์น้อย มุ่งงานมาก แบบเผค็จการที่มีใจเมตตา (Benevolent Autocrat) คือ มีความเมตตากรุณาผู้ร่วมงานมากขึ้น 3.แบบนักบุญ (Missionary) คือ ผู้นำเห็นแก่สัมพันธภาพเสียสละทำคนเดียวจึงได้คุณภาพงานต่ำ แบบนักบุญ แบบเน้นความสัมพันธ์ มุ่งความสัมพันธ์มาก แบบนักพัฒนา (Developer) คือ ต้องรู้จักพัฒนาผู้ตามให้มีความรับผิดชอบงานมากขึ้น 4.แบบประนีประนอม (Compromiser) คือผู้นำ จะประนีประนอมทุกๆเรื่อง แบบประนีประนอม แบบประสาน แบบนักบริหาร (Executive) คือ ต้องมีผลงานดีเลิศและสัมพันธภาพก็ดีด้วย
กลุ่มทฤษฎีผู้นำตามการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เป็นทฤษฎีของการศึกษาภาวะผู้นำแนวใหม่ ของภาวะผู้นำโดยมีแบสและอโวลิโอ (Bass & Avolio) เป็นสองท่านแรก ที่ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยแสดงให้เห็น เป็นทฤษฎีของการศึกษาภาวะผู้นำแนวใหม่ เนื่องจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ไปสู่ความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมีการกระจายอำนาจ หรือเสริมสร้างพลังจูงใจ และเป็นผู้มีคุณธรรม (Moral agents) และกระตุ้นผู้ตามให้มีความเป็นผู้นำ
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ทฤษฏีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปรงในทัศนะของแบสและอโวลิโอ (Bass &Avoli) โดยการศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลพัฒนาและฝึกอบรมจากทุกระดับในองค์การและในสังคม ทั้งกับผู้นำทุกระดับในสังคม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ 1.การมีอิทธิพลเชิงอุคมคติ 2.กาสรสร้างแรงบันดาลใจ 3.การกระตุ้นทางปัญญา 4.การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 1.การมีอิทธิพลเชิงอุคมคติ ผู้นำแสดงพฤติกรรมตามบทบาท ทำให้ผู้ตามมีความชื่นชม มีความภูมิใจ จงรักภักดี และเชื่อถือในตัวผู้นำว่าผู้นำได้วางแผน กำหนดแนวทางให้ผู้ตามแสดงตามโดยการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision )รวมกัน โดยผู้นำซึ่งเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์(Vision) และรู้ถึงพันธกิจ(Mission) ขององค์การ สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจในภารกิจโดยรวม เป็นผู้นำในลักษณะที่มีพฤติกรรม เจตคติ และค่านิยมของความเป็นผู้นำ แสดงให้ผู้ตามเห็นว่าสามารถปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ในสิ่งที่ผู้ตามรู้สึกว่าเป็นไปได้ สร้างวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ในอนาคต
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 2.การสร้างแรงบันดาลใจ เป็นกระบวนการที่ผู้นำทำให้ผู้ตามเกิดอารมณ์กระตุ้น จูงใจให้ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน แต่อุทิศตนเพื่อทีมงาน เห็นคุณค่าของผลการปฏิบัติงาน เป็นผลทำให้ผู้ เกิดความพยายามในการปฏิบัติงานเป็นพิเศษ เช่น ผู้นำใช้คำพูดหรือสัญลักษณ์สร้างจินตนาการ ภาวะผู้นำการสร้างแรงบันดาลใจจะปรากฏและสร้างความคาดหวังในความสำเร็จให้ผู้ตาม
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 3.การกระตุ้นทางปัญญา เป็นกระบวนการที่ผู้นำกระตุ้นผู้ตามให้เห็นวิธีการ หรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาโดยการกระทำให้ผู้ตามมีความพอใจและมีความตั้งใจ การกระตุ้นเชาว์ปัญญา โดยให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หลักการ แนวคิด ทฤษฏีต่างๆ รวมทั้งกิจกรรม กลวิธี โครงการข้อเสนอแนะ โดยเสนความคิดอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา มีการสนับสนุนและคัดค้านโต้แย้ง
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เป็นกระบวนการที่ผู้นำประพฤติทำตนเป็นผู้มุ่งเน้นการพัฒนา วินิจฉัยและยกระดับความต้องการของผู้ตาม มีการติดต่อกับผู้ตามเป็นรายบุคคล และติดต่อสื่อสารแบบสองทาง การเอาใจใส่ความต้องการตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ตาม กระจายอำนาจความรับผิดชอบส่งเสริมให้ผู้ตามเกิดจินตภาพด้วยตนเอง มีความมั่นคง สามารถบูรณาการความต้องการ
หลักธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นหลักการสากลที่ได้ถูกอ้างถึงครั้งแรกถึงในรายงานของธนาคารโลก (World Bank) เมื่อปี ค.ศ. 1989 ได้อธิบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่ดีหรือธรรมาภิบาล ว่าเป็น “ลักษณะและวิถีทางของการใช้อำนาจในการใช้ทรัพยากร ทางเศรษฐกิจและทางสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ การบริหาร จัดการภาครัฐ ภาระรับผิดชอบ กรอบตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาความโปร่งใสและข้อมูลข่าวสาร”
หลักธรรมาภิบาล ต่อมากองทุน การเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ทำการศึกษาและวิเคราะห์และบังคับให้ประเทศต่างๆ ก่อนที่จะให้กู้เงิน เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศ คือ การที่ประเทศนั้น มี Good Governance
หลักธรรมาภิบาล (1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านี้ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล (2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
หลักธรรมาภิบาล (3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ (4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
หลักธรรมาภิบาล (5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน (6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน