ประวัติการศึกษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิชา TP 502 ปรัชญาการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1/2559
คำอธิบายรายวิชา ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา การศึกษากับศาสนา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประวัติและปรัชญาการศึกษาไทย เปรียบเทียบปรัชญาการศึกษา ตะวันออกและตะวันตก กลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วิเคราะห์และ ประยุกต์จากกรณีศึกษาของไทย
ทักทาย แนะนำตัว แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานทางการศึกษา
ทบทวนความรู้ การศึกษาคืออะไร? ประวัติ/วิวัฒนาการการศึกษาไทยเป็นอย่างไร? (อภิปราย)
การแบ่งยุคการศึกษาไทย (1) • สมัยก่อนกรุงสุโขทัย • สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1792 -1981 • สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310 • สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 • สมัยกรุงรัตนโกสินตอนต้น พ.ศ. 2325-2411 • สมัยปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475 • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว • สมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 –ปัจจุบัน
การแบ่งยุคการศึกษาไทย (2) 1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ.1781 - พ.ศ. 2411) 1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921) 1.2 การศึกษาในสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310) 1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411) 2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475) 2.1 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2.2 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2.3 การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 3. การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 ปัจจุบัน)
การแบ่งยุคการศึกษาไทย (3) แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยโบราณ การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยปฏิรูป ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย: ก้าวแรก(พ.ศ. 2435-2475) ยุคขยายงานของการศึกษาไทย : ก้าวที่สอง(พ.ศ. 2475-2503) ยุคแสวงหา: เป็นการแสวงหาแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษาพ.ศ.2503-2520 ยุคพัฒนา: การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พ.ศ. 2520-2541) ยุคแห่งความหวัง: การปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน)
แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยปฏิรูป
ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย: ก้าวแรก(พ.ศ. 2435-2475) การจัดการศึกษาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนคือ “โรงเรียน” กระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่จัดการศึกษา มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับราษฎรทุกคนทุกพื้นที่ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อรับราชการและการประกอบอาชีพตามที่ตนถนั จัดการศึกษาให้เป็นระบบสู่รูปแบบที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ยุคขยายงานของการศึกษาไทย : ก้าวที่สอง(พ.ศ. 2475-2503) * ขยายการศึกษาภาคบังคับออกให้กว้างขวางขึ้น * มีการเร่งรัดปรับปรุงการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน (ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม)
ยุคแสวงหา: เป็นการแสวงหาแนวทางใหม่ ในการจัดการศึกษาพ.ศ.2503-2520 ขยายการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 มุ่งพัฒนาคนได้จัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง และ ขยายการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมด้านจริยธรรม คุณธรรม และมีวินัย จัดตั้งมหาวิทยาลัยและยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย
ยุคพัฒนา: การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พ.ศ. 2520-2541) -นำเอาแนวคิดของนักการศึกษาไทยมาใช้ในการจัดการศึกษาของชาติ - จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ให้เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนบริบทของสังคมไทยที่ เหมาะสม และ - แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 1-6 จัดให้เป็นระบบสากล ขยายโอกาสทาง การศึกษาทุกกลุ่ม - อุดมศึกษาขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อเปิด โอกาสทุกคนทุกอาชีพได้มีความรู้กว้างมากยิ่งขึ้น และ - มีพระราชบัญญัติการศึกษาครั้งแรก ที่สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2540
ยุคแห่งความหวัง: การปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มุ่งปฏิรูป โดย จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา กระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้น ประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตาม ศักยภาพ จัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์
สืบเสาะความรู้ แบ่งกลุ่ม สืบค้น วิเคราะห์ รายงาน