วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ธนาคารออมสิน.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สรุป การเมืองการปกครองท้องถิ่น ไทย POL 341 ผศ. ดร. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ประวตศาสตร์เป็ นวชาทศี่ ึกษาเกยวกบอดตี โดยศึกษาถึง พฤตกิ รรมของมนุษย์ ตามบริบทของช่วงเวลาทเกดขึนซึ่งมผล ต่อมนุษยชาตเิ มอื่ เหตุการณ์น้ันเปลยี่
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การดำเนินงานคุณธรรม และความโปร่งใส
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
กลุ่มเกษตรกร.
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์การเมืองของไทย
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
อำนาจอธิปไตย 1.
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ครั้งที่ ๖๔
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
สมัยหลังการเปลี่ยนแปลง 24 มิย 2475
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คดีฟ้องให้ประกาศใช้ผังเมืองรวม จังหวัดสระบุรี
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
ศาสนาเชน Jainism.
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
การปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบัน
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการการเงินชุมชน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย

โครงสร้าง ประวัติ เนื้อหา

ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย ยรัฐธรรมนูญได้มีการก่อตัวมาอย่างยาวนานและค่อยๆพัฒนามาเป็นลำดับ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้แสดงความเห็นว่า ข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแห่ง กรุงสุโขทัยนั้น ถือได้ว่าเป็นปฐมรัฐธรรมนูญของไทย โดยได้เปรียบเทียบหลักศิลาจารึกกับมหาบัตร (Magna Carta) ของอังกฤษ เมื่อรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเสียงเรียกร้องเกี่ยวกับการปรับแก้ไขรูปแบบ การเมืองการปกครองของประเทศมากขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 พระบรมวงศานุวงศ์ 3พระองค์ และ ข้าราชการผู้ใหญ่อีก 5 นายได้ร่างคำกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในทำนอง ติดเปลี่ยนระบบการปกครองในขณะนั้น พร้อมเร่งรัดให้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเร็ว แต่ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชย์สมบัติ แม้จะไม่ปรากฏว่า ได้มีการจัดทำ รัฐธรรมนูญขึ้นเป็นผลสำเร็จแต่ก็ได้มีการเตรียมการปกครองแบบประชาธิปไตยหลายประการ หากเน้นหนักไปใน ด้านการให้สิทธิเสรีภาพแก่ราษฎร มากกว่าการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองของประเทศ

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นสองฉบับ เพื่อจะได้ทำการศึกษาพิจารณาว่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่เพียงใด

คณะราษฎรที่ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญสำเร็จในปี พ. ศ คณะราษฎรที่ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญสำเร็จในปี พ.ศ. 2475 จะพบว่า มีมูลเหตุที่สำคัญหลายประการก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 1.ในสมัยก่อนปี พ.ศ.2475 - คนไทยได้รับการศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในประเทศทางทวีปยุโรป ที่ได้ใช้รูปแบบการปกครองในระบบประชาธิปไตยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับในการปกครองบ้านเมือง - ในช่วงเวลานั้นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้เสื่อมถอยลง เนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์สามารถได้รับอภิสิทธิ์เหนือสามัญชนธรรมดา และใช้อภิสิทธิ์นี้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จนราษฎรเบื่อหน่ายในระบอบการปกครองเช่นนี้ 2. ข้าราชการในสมัยนั้นกดขี่ข่มเหงประชาราษฎรและเมื่อราษฎรผู้ถูกข่มเหงนำความไปร้องเรียนก็ไม่เป็นผลแต่ประการใด 3.ก่อนปี พ.ศ. 2475 เศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้มีการยุบกรมกองที่ไม่จำเป็น ข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการทหารไม่พอใจจึงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4.เมื่อพ.ศ. 2474 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ได้สอดแทรกหลักการเมืองการปกครองไว้ในการสอนเป็นอันมากโดยเฉพาะตำรากฎหมายปกครองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เน้นถึงโครงสร้างของอำนาจ

การปฏิวัติของคณะราษฎร 2475 คณะราษฎรได้อาศัยวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแปลพระราชทานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะราษฎรได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดสถานที่สำคัญสำคัญในพระนครในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์มาควบคุมตัวไว้หน้าพระที่นั่ง อนันตสมาคมเพื่อเจรจาต่อรองกับรัฐบาล มีการอ่านแถลงการณ์ของคณะราษฎรให้ราษฎรฟังที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คณะราษฎรได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบเหตุการณ์และขออัญเชิญ เสด็จกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป ครั้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทาน พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวคืนมาเพื่อใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญต่อไป จึงถือว่า วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 และเริ่มมีพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 จนถึงเมื่อปี พ.ศ.2560 ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งสิ้น 20 ฉบับ

รายนามสมาชิกคณะราษฎร

พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ

โครงสร้างรัฐธรรมนูญไทย

เนื้อหาของรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ

มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการถ่ายโอนอำนาจระหว่างผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กัคณะราษฎรในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มาโดยคณะราษฎรใช้กำลังบังคับจากพระมหากษัตริย์โดยอ้างการขาดหลักวิชาของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเพื่อให้มีการถ่ายโอนอำนาจและจัดระเบียบการเมืองและการปกครองใหม่จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ คณะราษฎรได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ร่างเตรียมไว้แล้วและได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2475 และวันที่ 27 จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร

รัฐธรรมนูญฉบับ 1 ในมาตรา 39 มาตรา เรื่องรัฐสภาได้ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีรับสภาครั้งแรกอันเป็นสภาเดี่ยว คือ สภาผู้แทนราษฎรและพระราชบัญญัติธรรมนูยการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราง 2475 ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกนี้ถูกยกเลิกไปรวมเวลาในการบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นนัยของการประกาศความชอบธรรมแห่งอำนาจของกลุ่มผู้ปกครองใหม่ว่าเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ เกิดจากการยกร่างของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 มีจำนวนทั้งหมด 9นาย จนร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จในวันที่ 2 ธันวาคม 2475 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้วจึงได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีทั้งสิ้น 68 มาตรา มีหลักการและแนวทางคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับแรกมีรัฐสภาแบบเดี่ยวเช่นเดิม ซึ่งมีสมาชิก 2 ประเภท กำหนดให้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งแต่อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาในการบังคับใช้นานที่สุดกล่าวคือ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน มีการแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 3 ครั้ง จนในที่สุดได้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2489 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ 2489 อันเป็นการยกเลิกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นนัยของความมุ่งมั่นของ ผู้ปกครองในการสร้างความทันสมัยทางการเมืองให้กับระบอบประชาธิปไตย โดยเหตุผลว่า สภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับสภาพบ้านเมืองในปัจจุบัน เห็นควรมีการยกร่างใหม่เพื่อให้ทันสมัย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ดำเนินการตามกระบวนการมาจนเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงทลประปรมาภิไธยประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 นับเป็นรัฐธรรนูญฉบับที่ 3

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ระบบสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และพฤฒสภา โดยพฤฒสภาเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยผ่านผู้แทนตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น 80 คน อยู่ในวาระทั้งสิ้นคราวละ 6 ปี และเมื่อครบ 3 ปี ให้จับสลากออกครึ่งหนึ่ง พฤฒสภานี้ มีอำนาจน้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร ยับยั้ง ร่างพระราชบัญญัติและควบคุมการบริหารงานราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งโดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันทั้งสอสภา และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประะธาน ส่วนคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อง 10 คน และไม่เกิน 18 คน และต้องไม่ข้าราชการประจำ ให้ทั้งประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี การดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้แยกออกจากข้าราชการประจำ โดยกำหนดว่านายกรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ ซึ่งทำให้ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนไม่พอใจและเกิดปฎิกิริยามากมาย ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่ และรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 และคณะรัฐประหารได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้รวมเวลาในการบังคับใช้ฉบับนี้เพียง 1 ปี เดือน เท่านั้น

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นนัยของการ ลบล้างความชอบธรรมททางอำนาจของผู้ปกครองเก่าและสร้างความชอบธรรมใหม่ให้กับคณะปกครอง ที่ใช้กำลังบังคับเข้ามากระทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) 2490 ใช้บังคับรวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 1 ปี 4 เดือน 14 วัน คณะทหารยึดอำนาจการปกครองจาก รัฐบาลพลเรือนภายใต้การนำของพลโทผิน ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยอ้างว่าทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อนจำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และในก่อนหน้านั้น มีกรณีเหตุการณ์สวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ซึ่งมีการกล่าวหาว่านายปรีดีพนมยงค์มีส่วนรู้เห็นด้วย ทำให้นายปรีดี พนมยงค์และพวกต้องหมดความชอบธรรมไปอย่างรวดเร็วรัฐบาลของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาลสวัสดิ์ ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์สนับสนุนอยู่ จึงถูกโค่นล้มไปพร้อมกับบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 วันรุ่งขึ้นหลังจากการรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ชื่อว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เนื่องจากก่อนหน้านี้ พลโทหลวงกาจสงคราม(กาจ เก่งระดมยิง) หนึ่งในคณะรัฐประหาร ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้และนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า รัฐประหารครั้งนี้เป็นการกระทำของฝ่ายทหารบกเพียงฝ่ายเดียว เมื่อรัฐประหารสำเร็จคณะรัฐประหารได้มอบให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 20 มกราคม 2491 แต่ต่อมาคณะรัฐประหารได้บีบบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2491 และให้จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) 2490 มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 98 มาตรา รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนสมาชิกเท่ากันทั้ง 2 สภา สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งโดยไม่ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในแบบรวมเขตเลือกตั้ง คือเอาเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งได้ให้มีผู้แทน 1 คนต่อจำนวนราษฎร 200,000 คน ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรภาพมนูญฉบับก่อนหน้านี้คือบัญญัติ ให้มีคณะอภิรัฐมนตรีคณะหนึ่งจำนวน 5 นาย มีหน้าที่บริหารราชการแทนพระองค์และถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์

"หลวงกาจสงคราม" ผู้เอารัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ไปซ่อนไว้ใต้ "ตุ่ม" ช่วงรัฐประหาร 2490

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นนัยของการปรับรื้อ กรรมวิธีในกระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างของกระบวนการมีส่วนร่วม รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 189 มาตรา มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้นคือ เป็นแบบเสรีนิยม ซึ่งกำหนดหลักประกันเสรีภาพของบุคคลและป้องกันการใช้อำนาจรัฐอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้มาก หลังจากที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาได้ประมาณกว่า 2 ปีครึ่ง ก็เกิดรัฐประหารขึ้นอีกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ. ศ. 2494 ซึ่งเรียกกันว่า เป็นรัฐประหารเงียบ ภายใต้การนำของคณะซึ่งเรียกตนเองว่า “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ซึ่งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2492 และให้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง รวมเวลาการใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 ทั้งหมด 2 ปี 7 เดือน 6 วัน

รัฐธรรมนูญฉบับที่6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 เป็นนัยของการดัดแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นฐานรองรับการสืบทอดอำนาจการปกครองของคณะผู้ปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามาได้มาโดยคณะทหารภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จอมพลป.พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหารยืดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนโดยอ้างภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์และนักการเมืองคอร์รัปชั่นและเพื่อให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์เริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงต้องนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 มาใช้อีกครั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 สภาผู้แทนราษฎรประชุมปรึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป ซึ่งได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2495รัฐธรรมนูญนี้ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด123มาตรามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 อยู่เพียง 41 มาตรา เท่านั้น นอกนั้นอีก 82 มาตรา เป็นบทบัญญัติที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ซึ่งบทบัญญัติใหม่ดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่ก็นำมาจากรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2492

รัฐธรรมนูญฉบับที่6 รัฐธรรมนูญนี้ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวแต่มีสมาชิกสองประเภทซึ่งมีจำนวนเท่ากันสมาชิกประเภทที่หนึ่งราษฎรเลือกตั้งโดยตรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสมาชิกประเภทที่สองพระมหากษัตริย์ ส่วนคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย14คนและไม่เกิน28คนโดยให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองประเภทแต่มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญยังคงให้ใช้รัฐธรรมนูญต่อไปโดยแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชั่วคราวและตั้งสมาชิกประเภทที่สอง ขึ้นใหม่พร้อมทั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทหนึ่ง แต่ในที่สุดคณะรัฐประหารชุดเติมก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประกาศอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และคราวนี้ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญไปด้วย รวมเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 6ปี 7 เดือน กับ 12 วัน

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

รัฐธรรมนูญฉบับที่7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 รัฐธรรมนูญฉบับที่7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 เป็นนัยของการล้าง ความหวังเพื่อเปลี่ยนไปสู่อนาคตที่ดีกว่า โดยมอบอำนาจเด็ดขาดให้คณะผู้ปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามาเป็นผู้หยิบยื่นให้โดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล โดยอ้างความรุนแรงของภัยคุมคามของคอมมิวนิสต์ที่จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยวิธีการปฏิวัติซึ่งรัฐธรรมนูญเก่าไม่เอื้อให้กระทำได้จึงต้องยกเลิกเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนก่อนจึงจะทำจึงจะทำรัฐธรรมนูญใหม่ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช2502เป็นธรรมนูญชั่วคราวซึ่งคณะปฏิวัติภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ร่างขึ้นและประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2502 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่สั้นที่สุดคือมีบทบัญญัติเพียง20มาตรารัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแต่ใช้มาเป็นเวลานานถึง 9 ปี5 เดือน จนถูกยกเลิกเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จและประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2511 รัฐธรรมนูญได้แยกฝ่ายบริหารแลฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกันอย่างเด็ดขาดโดยให้ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจค่อนข้างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจพิเศษตามมาตรา 17 ที่สั่งการหรือดำเนินการใดๆได้ด้วยเหตุผลเพื่อประโยชน์ในการระงับและปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ซึ่งโทษตามความผิดดังกล่าวมักจบลงด้วยการถูกสั่งประหารชีวิต

รัฐธรรมนูญฉบับที่8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญฉบับที่8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 เป็นนัยของการปฏิรูประบอบการปกครองโดยโน้มนาวให้เห็นประโยชน์และความจำเป็นของการแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจ นิติบัญญัติ รัฐสภาในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี เมื่อครบ 3 ปี แล้วให้จับฉลากออกครึ่งหนึ่ง ส่วนสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งโดยตรงตามอัตราส่วนประชากร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอำนาจมาก คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่น้อยกว่า 15 คนและไม่เกิน 30 คนโดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามสนองรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้มาได้เป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน ก็มีอันต้องเลิกใช้เนื่องจากการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514

รัฐธรรมนูญฉบับที่9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 รัฐธรรมนูญฉบับที่9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 เป็นนัยของความระส่ำระส่ายของระบบรัฐสภา คณะทหารใต้การนำของจอมพลถนอม กิตติขจร ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองโดยอ้างภัยคุกคามนอกประเทศและฝ่ายสภาก่อกวนฝ่ายบริหารเป็นการขัดขวางไม่ให้แก้ไขปัญหาของชาติ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า คณะปฏิวัติได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และได้นำรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2515 รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 เป็นการนำเอารัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2502 มาแก้ไขปรับปรุงใหม่โดยมีบทบัญญัติรวมกันทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา และที่สำคัญคือได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้ด้วย รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้มีเวลาในการบังคับใช้อยู่เพียง 1 ปี 9 เดือน ก็ต้องถูกยกเลิกไปเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2517

จอมพลถนอม กิตติขจร

รัฐธรรมนูญฉบับที่10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2017 รัฐธรรมนูญฉบับที่10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2017 เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยคณะกรรมร่างรัฐธรรมนูญและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กระบวนการนี้เริ่มขึ้นเมื่อนาย สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็น นายกรัฐมนตรี หลังจากจอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออก ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 18 คน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระปรมาภิไธย ประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่10 ของประเทศไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาการใช้เพียง 2 ปีก็ยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายในการนำของพล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

รัฐธรรมนูญฉบับที่10 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้าและเป็นแบบเสรีนิยมมากขึ้นในหลายเรื่องด้วยกัน เริ่มต้นในหมวด 1 บท ทั่วไป ได้มีบทบัญญัติห้ามให้การนิรโทษกรรมแก่ผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญ หมวด 2พระมหากษัตริย์ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกว่า ในกรณีสืบสันติวงศ์ได้ นอกจากนั้น ยังได้มีบทบัญญัติเพิ่มหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนไว้มากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านๆมา ก่อนหน้ นอกจากนั้น ยังได้มีบทบัญญัติเพิ่มหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนไว้มากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านๆมา

รัฐธรรมนูญฉบับที่10 เป็นครั้งแรกที่แยกข้าราชการประจำของของรัฐสภาออกจากข้าราชการประจำฝ่ายบริหาร ให้มีผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภาสังกัดฝ่ายรัฐสภา มีบทบัญญัติว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น มีตุลาการรัฐธรรมนูญที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้นโดยกำหนดให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ 3 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญและในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำเอาหลักการออกเสียงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 30 คนนายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีอีกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนรัฐมนตรีทั้งหมดจะต้องเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการประจำมิได้และต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิ้นต่อประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาการใช้เพียง 2 ปีก็ยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายในการนำของพล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

รัฐธรรมนูญฉบับที่11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 รัฐธรรมนูญฉบับที่11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 คณะทหารภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ ยึดอำนาจการปกครองโดย อ้างภัยคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ และความล้มเหลวของระบบรัฐสภา จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่ช่วยปฏิรูปการเมือง หลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เข้ายึดอำนาจและการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ต่อมาได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นและประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยมี พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ นั่นเองเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีคณะหนึ่ง มีหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องใดๆตามที่นายกรัฐมนตรีปรึกษาและทำหน้าที่อื่นตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ไปได้เพียง 1 ปีก็ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิวัติภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่คนเดิม

รัฐธรรมนูญฉบับ12 รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 รัฐธรรมนูญฉบับ12 รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 เป็นนัยของการจัดระเบียบสังคมไทยโดยเร่งรัดและจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการพัฒนา คณะทหารภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ คนเดิม ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจ โดยอ้างความแตกแยกของข้าราชการและความล่าช้าของขั้นตอนการพัฒนาประชาธิปไตย จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่เพื่อเร่งรัดให้เร็วขึ้น การปฏิวัติยึดอำนาจเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ในวันเดียวกันจากนั้น ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 จึงได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 โดยพล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปเป็นผู้ลงนามสนอง พระบรมราชโองการ ธรรมนูญการปกครอง พุทธศักราช 2520 มีผลบังคับใช้เพียง 1 ปี 1 เดือน ก็สิ้นสุดลงเนื่องจากได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชการอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521

สภานโยบายแห่งชาติคุมคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับ12 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐสภาที่มีอำนาจน้อยที่สุด สภานโยบายแห่งชาติคุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่มีสิทธิอภิปรายไม่วางใจหรือตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ไม่มีสิทธิแม้แต่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพราะอำนาจการเสนอกฎหมายเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่า ข้าราชการประจำสามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาในขณะเดียวกันไม่ได้ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีไว้ในมาตรา 27 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้สภานโยบายแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลในคณะปฏิวัติ โดยให้หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นประธานสภา ซึ่งในทางปฏิบัติอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินตกอยู่กับสภานโยบายแห่งชาติ ประธานสภานโยบายแห่งชาติเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อมหากษัตริย์ เพื่อทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้ต้องปรึกษาและขอความเห็นจากสภานโยบายแห่งชาติ

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 เป็นนัยของการเคารพสิทธิและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2521 จึงจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองระยะ ระยะแรกคือระยะที่บทเฉพาะกาลยังมีผลบังคับใช้ คือตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ จนถึงวันที่ 21 เมษายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่ครบ 4 ปีเริ่มแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ระยะที่สองเป็นระยะที่บทเฉพาะกาลเป็นอันยกเลิก คือ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน เป็นต้นมา

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 หลังจากวันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาบทเฉพาะกาลที่ยกเว้นหลักการและสาระสำคัญบางประการของหมวด 6 รัฐสภา หมวด 7 คณะรัฐมนตรี และหมวดที่ 11 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็ถูกยกเลิกไปซึ่งทำให้ตัวบทของรัฐธรรมนูญในหมวดดังกล่าวมีผลใช้บังคับอย่างเต็มที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ใช้บังคับเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานถึง 12 ปี 2 เดือน แต่ไดถูกยกเลิกโดยการรัฐประหารเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 เป็นการปรับรื้อกติกาการปกครองใหม่ให้สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ และมีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ยึดอำนาจโดยอ้างว่าคณะรัฐบาลใช้อำนาจข่มเหงรังแกข้าราชการ คอร์รัปชั่นเป็นเผด็จการรัฐสภา และแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม จึงต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่รองรับการใช้อำนาจของคณะทหารที่เข้ามาปกครองแทนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หลังจากที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศแล้ว ก็ได้นำร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534ธรรมนูญการปกครองประเทศฉบับนี้ได้ให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานรักษาสงบเรียบร้อยแห่งชาติโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 27 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มีระยะเวลาการใช้บังคับถึง 9 เดือน 8 วัน เท่านั้น ก็ถูกยกเลิกไปจากผลการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นนัยของการตอกย้ำ ถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมของการถ่ายโอนอำนาจจากพระมหากษัตริย์ว่าควรจะตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง เป็นผลงานการยกร่างและจัดทำของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอันประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 292 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) และได้นำขึ้นกราบทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น 223 มาตรา ซึ่งภายหลังจากที่ได้ประกาศใช้แล้วได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกรวม 6 ครั้ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีระยะเวลาในการใช้บังคับรวมทั้งสิ้น 5 ปี 9 เดือน ซึ่งถูกยกเลิกโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นนัยของ การใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองและตรวจสอบการการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น การแยกกลไกให้เป็นอิสระแยกจากกันระหว่างกลไกฝ่ายที่ใช้อำนาจ ฝ่ายที่ตรวจสอบอำนาจ และฝ่ายที่กำกับอำนาจและเรียกร้องสิทธิ

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 กระบวนการและขั้นตอนร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นมาหกคณะ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2. คณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประรัฐธรรมนูญ 3. คณะกรรมาธิการวิชาการประชาสัมพันธ์ 4. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ 5. คณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ จดบันทึกการประชุมและกิจการสภา 6. คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในขั้นแปรญัตติ นอกจากนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญยังได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัดขึ้นใน 76 จังหวัดๆ ละ 1 คน ประกอบด้วยกรรมาธิการ 15 คน มี ส.ส.ร. ของแต่ละจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมาธิการโดยตำแหน่ง เรียกว่ากรรมาธิการชุดนี้ว่า “คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์จังหวัด”และจากทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญหกคณะกับคณะกรรมาธิการวิสามัญทั้ง 76 คณะอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องนั่นเองจึงได้เกิดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่พูดได้เต็มปากว่ามีความสมบูรณ์ชอบธรรม และประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด

หมวด 4 หน้าที่ของชาวไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 12 หมวด ที่กำหนดโครงสร้างและหลักการเป็นข้อเดียวโดยไม่แบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ มีหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 3 สิทธิเสรีภาพ หมวด 4 หน้าที่ของชาวไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด 7 คณะรัฐมนตรี หมวด 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด 11 การตรวจเงินแผ่นดิน หมวด 12 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 หมวดที่แยกโครงสร้างและหลักการออกเป็นส่วนๆ ได้แก่ หมวด 6 รัฐสภา หมวด 8 ศาล หมวด 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมวดที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่หมวด 6 รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร ส่วนที่ 3 วุฒิสภา ส่วนที่ 4 คณะกรรมการเลือกตั้ง ส่วนที่ 5 บทที่ใช้แก่ทั้งสภาทั้งสอง ส่วนที่ 6 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2549 อันมี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนรัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา • คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ • สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 / สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ถาวร พ.ศ. 2550 • คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ทำหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินอดีตคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลที่ผ่านมา

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190) วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญนี้สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์และสิ้นสุดลงทุกมาตราเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ร่าง

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้วางแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่18นี้ โดยยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญนี้ 4 ประการ คือ 1. คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน 2. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน 3. การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม 4. ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระตามหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้ • คำปรารภ • หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7) • หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25) • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69) • หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74) • หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87) • หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162) • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165) • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170) • หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196) • หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228) • หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258) • หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278) • หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280) • หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290) • หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291) • บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 จัดร่างโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมจากเดิม 220 คนเป็น 250 คน โดยได้มีการประกาศลง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557–2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดแรก จำนวน 36 คน ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด มีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานแต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯทำให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน

มีชัย ฤชุพันธุ์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่29