รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
ไทยกับการส่งเสริม CLC’s ในประเทศเพื่อนบ้าน
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
พันธกรณีการเจรจาต่อภายใต้ความตกลง TAFTA TNZCEP และ JTEPA:
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ประชาคมอาเซียน.
การจัดทำแผนปฏิบัติการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ กันยายน 2557.
อัตร า บรร จุ ข้าราชการ 44 พนักงาน ราชการ 33 ลูกจ้าง -- รวม 77 อัตราว่าง พนักงานราชการ 3 มาช่วย ราชการ ถูกยืมตัว ลาเรียน ผอ. สำนักงานวิเทศ สัมพันธ์ (1/1)
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน. 2 ผลการดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015 การลดภาษีศุลกากรขาเข้าลดเหลือ 0% เกือบทุกรายการ การอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น - การจัดทำระบบศุลกากรหน้าต่าง.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ความคืบหน้า การจัดทำฐานข้อมูลด้าน ความมั่นคง ระเบียบวาระ ที่ ๓. ๑.
วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ให้บรรลุ เพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ เป้าประสง ค์ หลัก ประสิทธิภ าพ ผลสำเร็จ สูงสุดของ องค์กรซึ่ง ประชาชน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โครงการส่งเสริมการหยุดการ เผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2559 กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และ วิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
บทบาทของอาเซียนต่อประเทศสมาชิก อื่น. ด้านการเมืองการปกครอง ในอดีต - ไกล่เกลี่ยความขัดแข้งระหว่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาร์และซาราวัก.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
คณะกรรมการปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯ
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
ประชาคมอาเซียน ( AEC ) สวัสดีอาเซียน.
การสัมมนาวิชาการ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดหอมแห่งประเทศไทย เรื่อง เห็ดไทย ... กับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต.
FTA.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ครั้งที่ ๖๔
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
“ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน คสจ. และ พชอ.”
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
การจัดการความรู้ Knowledge Management
การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ประชาคมอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 8 ชั่วโมง โดยนายธิปฏพณร์ ยิ้มประเสริฐ Friday, August 23, 2019

ประชาคมอาเซียน การจัดตั้งประชาคมอาเซียน เสาหลักประชาคมอาเซียน บทบาทของไทย ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน Friday, August 23, 2019

การจัดตั้งประชาคมอาเซียน - กำเนิดอย่างเป็นทางการจากการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เมื่อตุลาคม พ.ศ. 2546เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายใน พ.ศ. 2563 - ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อมกราคม 2550 ณ เซบู ฟิลิปปินส์ ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จเร็วขึ้นอีกเป็นภายในปี พ.ศ. 2558 - ปัจจัยที่ผลักดันให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน คือ > สภาพแวดล้อมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมีการ เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อาเซียนต้องเผชิญปัญหาต่างๆ > ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศ อื่นๆ ได้ ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

การจัดตั้งประชาคมอาเซียน แนวทางในการสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 1. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ 2. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้วางใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง 3. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามกับความมั่นคงบนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานจัดทำข้อมูลกลางในเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การประพฤติผิดกำหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ 4. เตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรในสาขาต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น 5. ศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือ และป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ 6. จัดตั้งสำนักงาน ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะ 7. ศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติต่อประชาชนอย่างถูกต้อง ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

การจัดตั้งประชาคมอาเซียน กิจกรรม งานกลุ่ม ครูมอบหมายให้นักเรียน 4-5 คน หรือตามความเหมาะสม สืบค้นเรื่องภูมิหลังการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพิ่มเติมแล้วนำมาเสนอเพื่อนๆ ในชั้นเรียนในชั่วโมงถัดไป กิจกรรมในชั้นเรียน ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายแนวทางในการสร้างความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน เป็นเวลา 30 นาที สรุปผลแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในท้ายคาบที่ 1 ของบทเรียนและ /หรือในคาบถัดไป กลุ่มละ 5 -10 นาที ในประเด็น ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกัน 2. การเสริมสร้างเครือข่ายทางการทหาร 3. การเสริมสร้างขีดความสามารถในการเผชิญภัยคุกคามกับความมั่นคง 4. การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านภาษา 5. การศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายของประเทศสมาชิก 6. การมีส่วนงานเพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะ 7. การศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC เสาหลัก ประชาคมอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน - ASCC Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

เสาหลักประชาคมอาเซียน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้มี 3 เสาหลัก เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 3 เสาหลัก ได้แก่ - ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community - APSC) - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) - ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งในภูมิภาคได้โดยสันติวิธี โดยได้ร่วมกันจัดทำแผนงาน (Blueprint) โดยเน้นแผนงาน 3 ประการ คือ 1. การมีกฎเกณฑ์แบะค่านิยมร่วมกัน 2. การส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน 3. การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การดำเนินงานในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 1. การพัฒนาทางการเมืองและข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียน 2. การป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง โดยวางกลไกที่สำคัญ คือ มาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน การจดทะเบียนการซื้อขายอาวุธในอาเซียน และการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC อาเซียนกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ได้มีการจัดทำปฏิญญาอาเซียนในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) เมื่อปี พ.ศ. 2544 เป็นเอกสารที่ระบุมาตรการความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ 1. มีการเพิ่มบทบาทกลไกภายในประเทศเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย 2. พยายามลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาการต่อต้านการก่อการร้าย 12 ฉบับ 3. ให้มีความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย 4. ให้มีการศึกษาข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย เพื่อปรับใช้กับกลไกอาเซียน 5. เพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันมากขึ้น 6. เพิ่มความร่วมมือและประสานงาน โดยเฉพาะเรื่องกลไกการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ 7. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอาเซียน 8. เพิ่มความร่วมมือในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC อาเซียนกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย มีผลให้เกิดความร่วมมือในความพยายามทำลายกลุ่มก่อการร้าย เครือข่ายเมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemma Islamiyah-JI) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายอัลกออิดะ (AI Qaeda) และยังมีปฏิญญาร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา พัฒนาการในการสร้างความร่วมมือของอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย เช่น - สิงหาคม พ.ศ. 2545 อาเซียนและสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย รัสเซีย และออสเตรเลีย ได้จัดทำปฏิญญาความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย - อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ลงนามในข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งต่อมาไทยและกัมพูชาได้ร่วมลงนามด้วย - พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีการประกาศปฏิญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายฉบับที่ 2 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ ประเทศกัมพูชา - พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นปัญหาความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้าย ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC บทบาทของสหรัฐอเมริกา - เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นหลักสำคัญในการผลักดันความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย - ได้เพิ่มความร่วมมือทางทหารกับประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย - ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน โดยเสนอส่งกองทัพเรือลาดตระเวนและปกป้องช่องแคบมะละกา แต่อินโดนีเซียและมาเลเซียปฏิเสธ - ต่อมาอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อป้องกันการก่อการร้ายใน ช่องแคบมะละกา และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 4 Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - AEC ภูมิหลัง - เป้าหมายเพื่อให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี - พ.ศ. 2550 ได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ 1. การตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี 2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - AEC ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 16 ได้มีรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่ปรากฏในแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า มีความคืบหน้ามากที่สุด โดยอัตราภาษีของสินค้าลดลงอยู่ที่ 0-5% 2. การเกิดเสรีการค้าภาคบริการ สาขาที่มีความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการ ได้แก่ สาขาการบริการทางธุรกิจ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ การขนส่งทางทะเล การจัดจำหน่ายสินค้า สาขาโทรคมนาคม การศึกษา และการท่องเที่ยว 3. การเปิดเสรีการค้าด้านการลงทุน มีการจัดทำข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Comprehensive Investment Agreement ซึ่งเน้นเรื่องการป้องกันการลงทุน การมีกฎระเบียบด้านการลงทุนที่โปร่งใส การส่งเสริมอาเซียนให้เป็นเขตการลงทุนเดียว 4. การเปิดเสรีการไหลเวียนของเงินทุน มีมาตรการที่จะให้การไหลเวียนของเงินทุนมีเสรีมากขึ้น 5. การเปิดเสรีด้านแรงงาน มีการพยายามที่จะเปิดเสรีฝีมือแรงงานด้านต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักบัญชี Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน - ASCC ภูมิหลัง - จุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนประเทศสมาชิกมีความกินดีอยู่ดี ปลอดภัย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประกอบด้วย 6 ด้าน ดงนี้ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นที่การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม เน้นด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน 3. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่สะอาด การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเล และการปรับปรุงคุณภาพของน้ำและอากาศ 4. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เน้นการสร้างความรู้สึกของการอยู่ร่วมกันของสมาชิก 5. ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มีการวางแผนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิของประชาชน โดยเน้นการปกป้องผลประโยชน์ สิทธิ เสรีภาพ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียม 6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา มีการวางแผนในการลดช่องว่างการพัฒนาประเทศระหว่างประเทศอาเซียน 6 ประเทศแรก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไนดารุสซาลาม กับ 4 ประเทศที่เข้ามาภายหลัง ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

เสาหลักประชาคมอาเซียน กิจกรรม งานกลุ่ม แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาและสืบค้นความรู้เกี่ยวกับบทบาทของไทยกับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บทบาทของไทยในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน กลุ่มที่ 2 บทบาทของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มที่ 3 บทบาทของไทยในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน บันทึกผลการสืบค้น และนำความรู้สรุปเป็นแผนที่ความคิดรายงานหน้าชั้นเรียน ในคาบถัดไป พร้อมจัดทำสรุปเป็นแผ่นพับส่งครูตามเวลาที่กำหนด Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก

บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ภูมิหลังบทบาทไทยในอาเซียน - พ.ศ. 2510 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาตลอด โดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก และการแยกตัวออกจากมาเลเซียของสิงคโปร์ โดยมีรัฐมนตรีอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมกันหารือ จนนำไปสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 - พ.ศ. 2542 อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ ไทยจึงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ในอาเซียนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน - พ.ศ. 2546 การประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการเสนอแนวคิดจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน - ไทยเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้มีความพิเศษหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอาเซียนเนื่องจากเพิ่งมีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างของอาเซียนเพื่อวางรากฐานการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน 2. กฎบัตรอาเซียนได้มีการปรับเปลี่ยนการเข้ารับตำแหน่งผู้นำอาเซียนจากเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนมกราคมแทน ทำให้ประเทศไทยได้ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนานขึ้นถึง 1 ปีครึ่ง คือ จาก กรกฎาคม 2551 ถึง ธันวาคม 2552 3. การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งทำให้การประสานงานด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน - การดำรงตำแหน่งผู้นำอาเซียน ที่ประชุมคณะกรรมการได้วางเป้าหมายหลักในการดำรงตำแหน่งของไทยไว้ 3 ประการ คือ 1. ไทยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน คือ การวางรากฐานในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามที่ระบุในกฎบัตรให้แล้วเสร็จภายในวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น > การจัดตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 เสาหลัก คือ การจัดตั้งคณะมนตรี ประสานงานอาเซียน การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุง จาการ์ตา การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน 2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างประชาคมอาเซียน 3. การเสริมสร้างพัฒนาการและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19 กิจกรรม งานเดี่ยว ครูให้นักเรียนวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงบทบาทของประเทศไทย เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคม ในปี 2558 ความยาว 2-4 หน้ากระดาษ A4 และนำส่งครูในคาบเรียนถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19 สถานที่ วันที่ สาระสำคัญ 14 ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 52 กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาคมอาเซียน เช่น การมุ่งสร้างชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในภูมิภาค การลงนามในปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 15 23-25 ต.ค. 52 เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยไทยจะผลักดันในประเด็นเหล่านี้ 16 ฮานอย ประเทศเวียดนาม 8-9 เม.ย. 53 มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน : จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ ประเด็นสำคัญในกฎบัตรอาเซียน การเสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันระหว่างภูมิภาค การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันระหว่างประเทศ ประเด็นที่มีผลกระทบต่อประชาชน Friday, August 23, 2019 ต่อหน้าถัดไป หน้าหลัก หน้าแรก

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19 สถานที่ วันที่ สาระสำคัญ 17 ฮานอย ประเทศเวียดนาม 28 ต.ค. 53 การเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน การประกาศปฏิญญาฮานอย 18 จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 7-8 พ.ค. 54 การบูรณาการทางยุทธศาสตร์ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนในทะเลจีนใต้ การค้ามนุษย์ การเสนอชื่อติมอร์-เลสเตเข้าร่วมเป็นสมาชิก การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการสร้างและใช้ผลประโยชน์จากประชาคมอาเซียน การขอเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2557 ของเมียนมา 19 บาหลี 17 พ.ย. 54 การสร้างประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 การสร้างบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก การร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19 กิจกรรม งานกลุ่ม แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน แต่ละกลุ่มหาภาพข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียนตั้งแต่ครั้งที่ 14-19 บรรยายใต้ภาพข่าวโดยสังเขป แล้วจัดทำเป็นสมุดภาพ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ นำเสนอหน้าชั้นเรียนในคาบเรียนถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก