การจดทะเบียนพาณิชย์ ของกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ การจดทะเบียนพาณิชย์ ของกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรกฎาคม 2559
ความเป็นมา กรุงเทพมหานครรับถ่ายโอนภารกิจจดทะเบียนพาณิชย์ตามนโยบายการกระจายอำนาจจากรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรับจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 17 เมษายน 2549 ในระยะแรก จำนวน 5 พาณิชยกิจ และโอนถ่ายเพิ่มเติมอีก 12 พณิชยกิจตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร 1. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 2. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 3. พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546 4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 5. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 6. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร (ต่อ) 7. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2552 8. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนพาณิชยกิจ ณ สำนักงาน ทะเบียนพาณิชย์ กรุงเทพมหานคร 9. คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2448/2553 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการ กรุงเทพมหานครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ตาม ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการตั้งสำนักงานทะเบียนพณิชย์ แต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2549
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร(ต่อ) 8. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์ พ.ศ. 2549 9. คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิชย์และเลขคำขอจดทะเบียน พาณิชย์ 10. คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 2/2553 เรื่อง ให้จัดส่ง สถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์
ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ 1. เพื่อประโยชน์ทางสถิติและทราบหลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 2. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือส่งเสริมด้านการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางการค้าได้
สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร มาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เพื่อรับจดทะเบียนพาณิชย์ในท้องที่ของตน ข้อ 1 และ 2 ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ กรุงเทพมหานคร กำหนดให้สำนักงานเขตทุกสำนักงานเขต และสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง สำนักการคลัง มีหน้าที่ในการรับจดทะเบียนพาณิชย์
อำนาจการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ มาตรา 5 และมาตารา 17 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง ให้เป็นผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจ ดังนี้ เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ในระหว่างเวลาทำงาน ตรวจดู คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจด ทะเบียนพาณิชย์
อำนาจการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ นายทะเบียนพาณิชย์ หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง รัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่ รับจดทะเบียนพาณิชย์และออกใบทะเบียนพาณิชย์ ออกคำสั่งเรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจมาสอบสวน เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบ พาณิชยกิจ ในระหว่างเวลาทำงาน
อำนาจการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์(ต่อ) ข้อ 5 ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2552 กำหนดให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปซึ่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และ นายทะเบียนพาณิชย์เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ ภายในเขตอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อำนาจการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์(ต่อ) คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2448/2553 ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้การมอบหมายข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไปสังกัดกลุ่มงานนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง (ส่วนกลาง) ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป สังกัดฝ่ายปกครอง ทุกสำนักงานเขต(ส่วนสำนักงานเขต) หัวหน้าฝ่ายเทศกิจและข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดฝ่ายเทศกิจที่หัวหน้าฝ่ายเทศกิจมอบหมาย 2 คน ของทุกสำนักงานเขต (อำนาจเฉพาะการเข้าไปตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจเฉพาะระหว่างเวลาทำงาน)
บุคคลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 “ผู้ประกอบพาณิชยกิจ” หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งประกอบพาณิชยกิจเป็นอาชีพปกติและให้หมายความรวมทั้ง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด กรรมการ และผู้จัดการด้วย
บุคคลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 1. บุคคลธรรมดาคนเดียว หมายถึง เจ้าของ หรือผู้จัดการในกรณีตั้งบุคคลอื่นเป็น ผู้ดำเนินกิจการแทน 2. ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือคณะบุคคล หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทุกคน หรือ ผู้จัดการในกรณีตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน 3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และให้รวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และ รวมถึงหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างนั้นด้วย
บุคคลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 4. บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด หมายถึง บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดและให้รวมถึง กรรมการด้วย 5. นิติบุคคลต่างประเทศที่มาเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย และ แต่งตั้งผู้จัดการดำเนินงานในสำนักงานสาขา หมายถึง นิติบุคคลต่างประเทศ กรรมการ หรือผู้จัดการสาขาใน ประเทศไทย 6. วิสาหกิจชุมชนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 หมายถึง วิสาหกิจชุมชนหรือผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน 7. นิติบุคคลประเภทอื่น หมายถึง นิติบุคคลประเภทอื่นตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อ 4 และ ข้อ 5 ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบ พาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2553 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 1. การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้น มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้า ที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวัน ใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่า รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือ เรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่ง โดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ การทำโรงแรม
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัท มหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 1. การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี 3. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4. การบริการอินเทอร์เน็ต (จดทะเบียนพาณิชย์ เฉพาะผู้ประกอบ พาณิชยกิจที่เป็นนิติบุคคล)
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 7. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยว กับการบันเทิง 8. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 9. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 10. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 11. การให้บริการตู้เพลง 12. โรงงานแปรสภาพแกะสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
พาณิชยกิจที่ไม่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย 2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์ มาตรา 11 และ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 จดจัดตั้งใหม่ ภายใน 30 วัน จดเปลี่ยนแปลง จดเลิก
อัตราค่าธรรมเนียม รายการค่าธรรมเนียม บาท จดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) 50 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 ขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรายหนึ่ง ครั้งละ ขอคัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารรายหนึ่ง ครั้งละ
หน้าที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 หน้าที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 11 และมาตรา 13 ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ หรือวันที่เปลี่ยนแปลงรายการ หรือวันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ ตามแต่กรณี มาตรา 14 วรรค 2 และวรรค 3 ต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ สูญหาย หรือชำรุด ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่และสาขาให้เขียนเป็นอักษรไทยอ่านได้ง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศไว้ด้วยก็ได้
หน้าที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ. ศ หน้าที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 (ต่อ) มาตรา 15 ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย มาตรา 17 ต้องไปพบนายทะเบียนพาณิชย์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่และยินยอมให้ถ้อยคำ ต้องอำนวยความสะดวก เมื่อมีการไปตรวจในสำนักงาน
บทกำหนดโทษ มาตรา 19 ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน แสดงรายการเท็จ ไม่ไปพบนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้นายทะเบียนพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ตรวจสอบสำนักงาน ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท และความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกวันละ 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติตามกฎหมาย
มาตรา 20 ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 วรรค 2 วรรค 3 และมาตรา 15 บทกำหนดโทษ มาตรา 20 ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 วรรค 2 วรรค 3 และมาตรา 15 ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน ไม่จัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่และสาขาให้ ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 200 บาท และความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกวันละ 20 บาท จนกว่าจะปฏิบัติตามกฎหมาย
มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 16 วรรค 3 บทกำหนดโทษ มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 16 วรรค 3 ผู้ใดกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริตหรือกระทำทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ และจะประกอบพาณิชยกิจต่อไปอีกไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนใหม่ได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนยังประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,00 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
แบบพิมพ์ทะเบียนพาณิชย์ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403) แบบบริการข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ คำร้อง หนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แบบ ทพ. 32
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. 33
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ) 34
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ) 35
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ) 36
พค.0403 37
แบบบริการข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ 38
แบบคำร้อง 39
เอกสารประกอบ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารประกอบ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 40
ตัวอย่างการกรอกเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 41
ตัวอย่างการกรอกเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) 42
ปัญหาอุปสรรค &ข้อเสนอแนะแก้ไข ปัญหาแฟ้มทะเบียนพาณิชย์ สูญหายหรือถูกจัดส่งไปผิดเขต ผู้ประกอบการขอให้นายทะเบียนรับรองใบทะเบียนพาณิชย์เพื่อทำธุรกรรมต่างๆ /ขอคัดสำเนาคำขอจด /อุทกภัยแฟ้มข้อมูลเสียหาย ตรวจสอบฐานข้อมูลฯ รับโอน /ประสาน สอบถาม สนข.ใกล้เคียง /ประสาน หารือ จนท.กรมฯ แก้ไขปัญหา/ ทำความเข้าใจ/ให้คำแนะนำ/ผู้ประกอบการ ***การกำหนดอายุใบทะเบียนพาณิชย์
ปัญหาอุปสรรค &ข้อเสนอแนะแก้ไข การเรียกใบทะเบียนพาณิชย์ของส่วนราชการอื่นประกอบการขออนุญาต ตาม พ.ร.บ. อื่นๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ฯ *** บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /ปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริง/สะดวกต่อผู้ประกอบการ *** เพิ่มเติม แนบใบอนุญาตกรณีพาณิชยกิจที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น เช่น ค้าของเก่า จำหน่ายแก๊สหุงต้ม
ปัญหาอุปสรรค &ข้อเสนอแนะแก้ไข การสอบถามและร้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบการ งานบริการ ต่าง ๆ ที่ต้องการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อยืนยันตัวตน สถานการณ์ประกอบกิจการ ทำความเข้าใจ/ให้คำแนะนำ / รับจดได้เฉพาะตามประกาศฯ ****เสนอแก้ไข พ.ร.บ ทะเบียนพาณิชย์ ฯ
ปัญหาอุปสรรค &ข้อเสนอแนะแก้ไข การเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ คำสั่ง คสช.22 /2558 หรือ กรณีอื่นๆ *** แก้ไข มาตรา 16 อำนาจการเพิกถอน/ กรณีการถอน อำนาจการเปรียบเทียบ/ค่าปรับ ****ควรให้นายทะเบียนสามารถเปรียบเทียบปรับได้ และค่าปรับเป็นของ อปท. หรือ นำส่งส่วนกลางบางส่วน
สถิติการรับจดทะเบียนพาณิชย์ ปีงบประมาณ จดจัดตั้ง จดเปลี่ยนแปลง จดยกเลิก คัดสำเนา/ใบแทน รวมทั้งสิ้น จำนวน ค่าธรรม เนียม ค่าธรรมเนียม (ราย) (บาท) 2549 7,751 387,550 1,302 26,040 1,763 35,260 229 6,870 11,045 455,720 2550 13,964 698,200 2,876 57,520 3,964 79,280 992 29,760 21,796 864,760 2551 12,887 644,350 2,660 53,200 3,860 77,200 953 28,590 20,360 803,340 2552 14,648 732,400 3,179 63,580 4,469 89,380 919 27,570 23,215 912,930 2553 16,043 802,150 3,681 73,620 4,413 88,260 1,073 32,190 25,210 996,220 2554 16,583 829,150 3,368 67,360 4,271 85,420 1,372 41,160 25,594 1,023,090 2555 14,834 741,700 2,949 58,980 3,788 75,760 1,461 43,830 23,032 920,270 2556 15,956 797,800 3,475 69,500 4,132 82,640 3,183 95,490 26,746 1,045,430 2557 13,719 685,950 3,051 61,020 3,565 71,300 3,963 118,890 24,298 937,160 2558 14,927 746,350 2,976 59,520 4,338 86,760 1,996 59,880 24,237 952,510 รวม 112,666 5,633,300 23,490 469,800 30,660 613,200 10,182 305,460 176,998 7,021,760
10 อันดับการจดทะเบียนของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ปี 55 ลำดับที่ หน่วยงาน จดจัดตั้ง รวมทั้งสิ้น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล จำนวน ค่าธรรมเนียม (ราย) (50บาท/ราย) (บาท) 1 สนข.ปทุมวัน 921 46,050 17 850 938 46,900 2 สนข.บางกะปิ 711 35,550 11 550 722 36,100 3 สนข.บางขุนเทียน 693 34,650 7 350 700 35,000 4 สนข.จตุจักร 654 32,700 9 450 663 33,150 5 สนข.ราชเทวี 633 31,650 10 500 643 32,150 6 สำนักงานเศรษฐกิจฯ 486 24,300 149 7,450 635 31,750 สนข.สายไหม 555 27,750 565 28,250 8 สนข.ประเวศ 506 25,300 517 25,850 สนข.บางแค 509 25,450 400 สนข.บางเขน 473 23,650 480 24,000
10 อันดับการจดทะเบียนของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ปี 56 ลำดับที่ จดจัดตั้ง รวมทั้งสิ้น หน่วยงาน บุคคลธรรมดา นิติบุคคล จำนวน ค่าธรรมเนียม (ราย) (50บาท/ราย) (บาท) 1 สนข.บางขุนเทียน 687 34,350 9 450 696 34800 2 สนข.บางกะปิ 642 32,100 22 1100 664 33200 3 สำนักงานเศรษฐกิจฯ 496 24800 162 8100 658 32900 4 สนข.สายไหม 577 28850 7 350 584 29200 5 สนข.ราชเทวี 571 28550 11 550 582 29100 6 สนข.จตุจักร 548 27400 24 1200 572 28600 สนข.บางแค 507 25350 12 600 519 25950 8 สนข.วังทองหลาง 459 22950 27 1350 486 24300 สนข.ประเวศ 447 22350 14 700 461 23050 10 สนข.บางบอน 424 21200 433 21650
10 อันดับการจดทะเบียนของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ปี 57 ลำดับที่ จดจัดตั้ง รวมทั้งสิ้น หน่วยงาน บุคคลธรรมดา นิติบุคคล จำนวน ค่าธรรมเนียม (ราย) (50บาท/ราย) (บาท) 1 สนข.บางขุนเทียน 669 33,450 11 550 680 34000 2 สนข.บางกะปิ 580 32,100 46 2300 626 34400 3 สนข.สายไหม 551 24800 4 200 555 25000 สนข.จตุจักร 512 28850 24 1200 536 30050 5 สนข.ประเวศ 469 28550 14 700 483 29250 6 สนข.บางแค 446 27400 10 500 456 27900 7 สนข.บางเขน 441 25350 451 25850 8 สนข.ราชเทวี 426 22950 15 750 23700 9 สนข.ลาดกระบัง 413 22350 50 414 22400 สนข.วังทองหลาง 398 21200 13 650 411 21850
10 อันดับกิจการที่จดทะเบียนสูงสุด ปี 55 ลำดับที่ รหัส ประเภทกิจการ จำนวน (ราย) 1 G52322 ร้านขายปลีกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย 1996 2 G52209 การขายอาหารและเครื่องดื่ม 1714 3 G52114 ร้านขายของชำ Grocery Store 1599 4 G52312 ร้านขายปลีกเครื่องสำอาง 1086 5 G52510 (การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ผ่าน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) การขายปลีก โดยการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ 704 6 G52399 การขายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสาร 654 7 G50302 การขายปลีกอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ 625 8 I64206 (การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต) 618 9 G52391 ร้านขายปลีกเครื่องใช้สำนักงาน 504 10 (การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกียวกับการบันเทิง ) ร้านขายปลีกสินค้าอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 444
10 อันดับกิจการที่จดทะเบียนสูงสุด ปี 56 ลำดับที่ รหัส ประเภทกิจการ จำนวน (ราย) 1 G52322 ร้านขายปลีกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย 1619 2 G52209 การขายอาหารและเครื่องดื่ม 1533 3 G52114 ร้านขายของชำ Grocery Store 1340 4 G52312 ร้านขายปลีกเครื่องสำอาง 1202 5 G52510 (การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) การขายปลีก โดยการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ 858 6 G50302 การขายปลีกอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ 608 7 G52399 การขายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสาร 484 8 G52311 ร้านขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรม เวชภัณฑ์ และสินค้าทางการแพทย์ 9 G52341 ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง 433 10 G52391 ร้านขายปลีกเครื่องใช้สำนักงาน 426
10 อันดับกิจการที่จดทะเบียนสูงสุด ปี 57 ลำดับที่ รหัส ประเภทกิจการ จำนวน (ราย) 1 G52209 การขายอาหารและเครื่องดื่ม 1867 2 G52114 ร้านขายของชำ Grocery Store 1438 3 G52322 ร้านขายปลีกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย 1358 4 G52312 ร้านขายปลีกเครื่องสำอาง 1118 5 G52510 (การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต) การขายปลีก โดยการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ 990 6 G50302 การขายปลีกอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ 607 7 G52311 ร้านขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรม เวชภัณฑ์ และสินค้าทางการแพทย์ 413 8 G52399 การขายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสาร 408 9 G52341 ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง 363 10 (การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกียวกับการบันเทิง ) ร้านขายปลีกสินค้าอื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 331
ช่องทางติดต่องานทะเบียนพาณิชย์ กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2547 4446-7 สายด่วน 1570 โทรสาร 0 2547- 4939 e-mail address: regis_c@dbd.go.th กระดานถาม-ตอบ www.dbd.go.th ห้องสนทนา http://regcom.dbd.go.th Line ID : 0873395417 Facebook : ทะเบียนพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
กลุ่มงานนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร โทร 1660 หรือ โทร. 0 2224 1916 E-mail : bes_bma@hotmail.com (ขอขอบคุณข้อมูลจากกองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์)