งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่
การอบรม “ระบบจัดเก็บและบันทึกข้อมูลทะเบียนพาณิชย์” โครงการติดตามและประเมินผลการจดทะเบียนพาณิชย์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่ 29 พฤศจิกายน 2555 ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

2 ทบทวน ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์
ทบทวน ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ นิรันดร์ ชุมพลอนันต์ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่ 29 พฤศจิกายน 2555

3 1. ธุรกิจใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์?
พาณิชยกิจตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

4 1. ธุรกิจใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์(ต่อ)
  1. ธุรกิจใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์(ต่อ) ธุรกิจต่อไปนี้ของ บุคคลธรรมดา / ห้างหุ้นส่วนสามัญ / คณะบุคคล / วิสาหกิจชุมชน ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด การทำโรงสี โรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ และขายสินค้าที่ผลิตได้ การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

5 1. ธุรกิจใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์(ต่อ)
ธุรกิจต่อไปนี้ของ บุคคลธรรมดา / ห้างหุ้นส่วนสามัญ / คณะบุคคล / วิสาหกิจชุมชน รวมถึง ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่น  วีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี  การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  การบริการอินเทอร์เน็ต  การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6 1. ธุรกิจใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์(ต่อ)
ธุรกิจต่อไปนี้ของ บุคคลธรรมดา / ห้างหุ้นส่วนสามัญ / คณะบุคคล / วิสาหกิจชุมชน รวมถึง ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง  การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต  การให้บริการฟังเพลง และร้องเพลงโดยคาราโอเกะ  การให้บริการเครื่องเล่มเกม การให้บริการตู้เพลง  โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

7 2. ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่มีสถานะดังต่อไปนี้ บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายประเทศอื่นแต่มาเปิดสาขาในประเทศไทย วิสาหกิจชุมชน Tip พาณิชยกิจตาม 3 – 8 ต้องได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งมาจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบก่อน

8 3. ใครบ้างที่ต้องยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบการค้าแร่ ค้าแผงลอย พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนา หรือสาธารณกุศล พาณิชยกิจของนิติบุคคลที่มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกร พาณิชยกิจของ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด เฉพาะพาณิชยกิจตามประกาศฯ ฉ.11 ข้อ 1 – 5

9 4. เมื่อไหร่ที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์ แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ กรณีจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง กรณีเลิกกิจการ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ

10 5. จดทะเบียนพาณิชย์ที่ไหน?
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2553 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ได้ให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ให้มีหน้าที่ รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่นั้น Tip กรณีผู้ประกอบการย้ายที่ตั้งสำนักงานไปต่างเขตเทศบาล/อบต.ภายในจังหวัด หรือ ต่างจังหวัด จะต้องยื่นจดทะเบียนในท้องที่ใด? ? กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์และมีสำนักงานสาขา ควรทำอย่างไร ? ? ?

11 6. ใครเป็นผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ?
พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ 6.1 พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร? พนักงานเจ้าหน้าที่ : เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ ในระหว่างเวลาทำงาน ให้ตรวจดูหรือคัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ เมื่อมีผู้ร้องขอและได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว

12 6. ใครเป็นผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ? (ต่อ)
6.1 พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร(ต่อ) นายทะเบียนพาณิชย์ : รับจดทะเบียนพาณิชย์และออกใบทะเบียนพาณิชย์ให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน ออกคำสั่งเรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจมาสอบสวนข้อความอันเกี่ยวกับการจดทะเบียน เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ในระหว่างเวลาทำงาน

13 6. ใครเป็นผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ? (ต่อ)
6.2 พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์จะต้องแต่งตั้งจากตำแหน่งใด ? เทศบาล : พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปซึ่งนายกเทศมนตรีเทศบาลมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499ภายในเขตอำนาจหน้าที่ของเทศบาลนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล : พนักงานส่วนตำบลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ ภายในเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น Tip ข้าราชการการเมือง จะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนพาณิชย์ ไม่ได้

14 7. ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
หลักการใช้ชื่อของพาณิชยกิจ จะใช้อย่างไรก็ได้อาจจะซ้ำหรือคล้ายกับชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้วก็ได้ (ซื่อซ้ำหรือคล้ายได้ แต่ห้ามใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เว้นแต่ห้างหุ้นส่วน/บริษัท นั้นๆ เป็นผู้ขอจดทะเบียนพาณิชย์เอง) ถ้าไม่มี ให้ใช้ชื่อของผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ จะต้องไม่มีคำหรือข้อความใด ๆ ดังต่อไปนี้  พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง  ชื่อประเทศ กรณีใช้ชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของชื่อให้ระบุไว้ในวงเล็บท้ายชื่อ

15 7. ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ)
ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่ารัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ  ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  กรณีผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่นิติบุคคลประเภทนั้นๆ ห้ามใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” “บริษัทจำกัด” “บริษัทมหาชนจำกัด” “บริษัทจำกัด (มหาชน)” “บมจ” “สมาคมการค้า” หรือ “หอการค้า” หรือชื่อที่คล้ายกันหรือเรียกขานคล้ายกับคำเช่นว่านั้น 

16 7. ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ(ต่อ)
กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจไม่ใช่สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตแล้ว ห้ามใช้ชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต หรือชื่อที่มีคำดังต่อไปนี้ “ธนาคาร” “เงินทุน” “การเงิน” “การลงทุน” “เครดิต” “ทรัสต์” “ไฟแนนซ์” “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ชื่อซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจกิจการประกันภัย กิจการจัดหางาน และกิจการคลังสินค้า   คำว่า “โรงเรียน” “สถาบัน” “วิทยาลัย” “มหาวิทยาลัย” หรือคำในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายอย่างเดียวกัน

17 7. ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ(ต่อ)
ชื่อ ซึ่งมีคำใดคำหนึ่งดังต่อไปนี้ เงินทุน การเงิน สินเชื่อ ลงทุน การลงทุน ธนกิจ ธนากิจ ธนการ ธนทุน ธนาทุน ไฟแนนซ์ ไฟแนนเชียล ไฟแนนซิ่งแอนทรัสต์ ทรัสต์ อินเวสต์เครดิต อินเวสต์เมนต์ หลักทรัพย์ ซีเคียวริตี้ เครดิตฟองซิเอร์ มอร์ตเกจ

18 8. แบบพิมพ์ (1) คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) (2) ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403) (3) คำร้อง (4) แบบบริการข้อมูลธุรกิจ (5) แบบรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ * สามารถ Download ได้ที่ หัวข้อดาวน์โหลดแบบพิมพ์

19 9. อัตราค่าธรรมเนียม อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังนี้ (1) การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) 50 บาท (2) การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ - เลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท (3) การขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ 30 บาท (4) การขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ รายละ 20 บาท (5) ค่าธรรมเนียมการขอให้คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียน พาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (1คำขอ = 1 ฉบับ)

20 10. เอกสารประกอบในการจดทะเบียนพาณิชย์
สำเนาบัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่/สัญญาเช่า สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน/เอกสารสิทธิ์แผนที่ตั้งสถานประกอบการ หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ รายละเอียดเว็บไซต์ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) สำเนาหนังสืออนุญาตให้เป็นผู้จำหน่าย/ใบเสร็จรับเงิน (ซีดี เพื่อการบันเทิง) หลักฐานแสดงแหล่งเงินทุน (อัญมณี) หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล หรือกิจการร่วมค้า เอกสารแสดงสถานะนิติบุคคลนั้นๆ กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บุคคลธรรมดา/กรณีปกติ กรณีผู้ขอฯไม่เป็นเจ้าบ้าน/เช่า กรณีมอบอำนาจ

21 11. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด         ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ต้องจัดให้มีป้ายชื่อ(ภาษาไทย/ใช้ภาษาต่างประเทศร่วมด้วยได้) ที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา(มีคำว่า “สาขา”) โดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย

22 12. บทกำหนดโทษต่อผู้ฝ่าฝืน พรบ.ทะเบียนพาณิชย์
ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสำนักงาน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติ ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน, ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานในที่เห็นได้ง่าย, ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง กระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

23 13. ตราของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์
รูปวงกลมสองวงซ้อนกัน เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก 4.5เซนติเมตร วงใน 3.5 เซนติเมตร ล้อมครุฑ ขนาดครุฑสูง 3 เซนติเมตร ระหว่างวงนอกและวงใน มีอักษรไทย “สำนักงานทะเบียนพาณิชย์” อยู่ขอบบน มีอักษรไทย ชื่อส่วนราชการอยู่ขอบล่างของตรา

24 14. การจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป
ในแบบ ทพ. : การกรอกคำขอ จะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ รายการอื่นๆ ให้ระบุจำนวนเว็บไซต์ “เลขที่รับ” คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ – เปลี่ยนแปลง – เลิก ให้ใช้ชุดเดียวเรียงต่อกันไป เอกสารประกอบคำขอ : ให้นายทะเบียนประทับตรา “เอกสารนี้เป็นเอกสารประกอบคำขอที่ รับวันที่ ”

25 15. การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่
กรณีนิติบุคคลขอจดทะเบียน ต้องตรวจสอบผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ กรณีขอจดทะเบียนค้าอัญมณี ให้ผู้ขอชี้แจงข้อเท็จจริงแหล่งที่มาของเงินทุน กรณีเป็นคำขอจดทะเบียนตั้งใหม่ โดยพาณิชยกิจที่ขอจดทะเบียนมีสำนักงานสาขา หรือมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตความรับผิดของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์อื่น สามารถกระทำได้ 2 วิธี ยื่นคำจดทะเบียนตั้งใหม่เพียงคำขอเดียว ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่ที่สถานประกอบการแห่งใหญ่ตั้งอยู่ โดยระบุสาขาไว้ในแบบ ทพ. ข้อ 10 (ไม่ออกแบบ พค.0403 ของสาขาให้) แยกยื่นคำจดทะเบียนตั้งใหม่ ต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่สถานประกอบการสาขาตั้งอยู่ โดยระบุชื่อสาขาไว้ต่อท้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจในแบบ ทพ. ข้อ 2.

26 15. การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ กรณี “ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า”
(1) ชื่อผู้ประกอบพาณิชยกิจ ให้กรอกชื่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล/กิจการร่วมค้า (แล้วแต่กรณี) ตามด้วยชื่อผู้จัดการ ตัวอย่าง “ห้างหุ้นส่วนสามัญพันธกิจ โดยนายพัฒนา พัฒนาการค้า (ผู้จัดการ)” “คณะบุคคลพันธกิจ โดยนายพัฒนา พัฒนาการค้า (ผู้จัดการ)” “กิจการร่วมค้าพันธกิจ โดยนายพัฒนา พัฒนาการค้า (ผู้จัดการ)” (2) ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ให้ระบุชื่อของกิจการ โดยจะใช้คำว่า "ห้าง" หรือ "ห้างหุ้นส่วน" หรือ "ห้างหุ้นส่วนสามัญ" ไว้หน้าชื่อหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่าง “ก.พาณิชย์” หรือ “ห้าง ก.พาณิชย์” หรือ “ห้างหุ้นส่วน ก.พาณิชย์” หรือ “ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.พาณิชย์” คณะบุคคล ก.พาณิชย์ กิจการร่วมค้า ก.พาณิชย์

27 16. การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงพาณิชยกิจ
แบบ ทพ. การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้กรอกเฉพาะรายการ (1) และรายการที่ได้เปลี่ยนเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ช่อง “เลขที่คำขอเดิม” ให้กรอกเลขที่คำขอจดทะเบียนตามที่ได้ออกให้ไว้ตอนจดทะเบียนพาณิชย์(ตั้งใหม่) เท่านั้น ช่อง “ทะเบียนเลขที่” ให้กรอกเลขทะเบียนพาณิชย์ตามที่ได้ออกให้ไว้ตอนจดทะเบียนพาณิชย์(ตั้งใหม่) กรณีที่ไม่มีรายการใดต้องแก้ไขในใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403) ที่ออกให้ไปแล้ว เมื่อรับจดทะเบียนแล้วให้ประทับตรายาง “ไม่ต้องออกใบสำคัญใหม่” ในแบบ ทพ. ต่อท้ายประเภทคำขอ ใบสำคัญ (แบบ พค.0403) เรียกคืนใบสำคัญฉบับเดิม ช่อง “ทะเบียนเลขที่ ………………..” ให้กรอกเลขทะเบียนพาณิชย์เดิม ช่อง “คำขอที่ … ” ให้กรอกเลขคำขอที่ออกให้ตอนจดทะเบียนตั้งใหม่และใช้เครื่องหมาย (/) ตามด้วยเลขที่คำขอที่เปลี่ยนแปลงครั้งปัจจุบัน

28 16. การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงพาณิชยกิจ(ต่อ)
กรณีเป็นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ โดยย้ายไปอยู่ในเขตความรับผิดของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์อื่น ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เดิมที่จดทะเบียนไว้/ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์(เดิม) รับจดทะเบียนและออกใบ พค.0403 ใบใหม่ให้ โดยระบุที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่(ต่างเขต)ได้เลย ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์(เดิม) จัดส่งแฟ้มเอกสารทะเบียนพาณิชย์รายนั้นไปยังสำนักงานทะเบียนพาณิชย์อื่นที่รับผิดชอบ ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่รับโอนแฟ้มทะเบียนพาณิชย์มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบพาณิชยกิจรายนั้นทราบว่าสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ได้รับโอนแฟ้มทะเบียนของผู้ประกอบพาณิชยกิจไว้แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการใดๆ หรือประสงค์จะตรวจหรือขอคัดสำเนาเอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจให้ติดต่อกับสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่รับโอนแฟ้มทะเบียน

29 17. การแก้ไขรายการทางทะเบียนโดยไม่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
ใช้แบบคำร้อง ใช้เฉพาะกรณี เปลี่ยนคำนำหน้านาม, เปลี่ยนชื่อ-สกุล, ที่ตั้งสถานประกอบการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของทางราชการโดยไม่ได้ย้ายสถานประกอบการ เปลี่ยนสัญชาติ ในแบบ ทพ.(ในแฟ้ม/เดิม) : ให้ใช้หมึกแดงขีดฆ่าข้อความที่เปลี่ยนแปลง และเขียนข้อความที่ถูกต้องแทน แล้วบันทึกด้วยหมึกสีแดงใกล้ข้อความที่แก้นั้นว่า “แก้โดยคำร้องที่ ลงวันที่/เดือน/พ.ศ.” บันทึกการเปลี่ยนแปลงในระบบ เก็บคำร้องนั้นไว้รวมกับแฟ้มทะเบียน รายงานพร้อมกับการรายงานประจำเดือน กรณีแก้ไขแล้วทำให้ต้องมีการแก้ไขใบทะเบียน(แบบ พค.0403) ให้เรียกเก็บใบทะเบียนพาณิชย์เดิมคืนแนบไว้กับคำร้อง แล้วออกใบทะเบียนพาณิชย์ใหม่ให้โดยคิดค่าธรรมเนียม 30 บาท

30 18. การจดทะเบียนเลิกพาณิชยกิจ
ให้เรียกคืนใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403) แบบ ทพ. ให้กรอกเฉพาะ ข้อ (1) (2) และ (5) ช่อง “เลขที่คำขอเดิม” ให้กรอกเลขที่คำขอจดทะเบียนตามที่ได้ออกให้ไว้ตอนจดทะเบียนพาณิชย์(ตั้งใหม่) เท่านั้น กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมีเหตุไม่สามารถยื่นจดทะเบียนเลิกด้วยตนเอง เช่น วิกลจริต ตาย สาบสูญ ให้ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย เช่น สามี ภรรยา บิดา มารดา บุตร (แนบหลักฐาน) ยื่นขอจดทะเบียนและลงลายมือชื่อแทนผู้ประกอบพาณิชยกิจ พร้อมแนบหลักฐานแสดงเหตุที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจไม่สามารถมาจดทะเบียนเลิกพาณิชยกิจด้วยตนเอง เช่น ใบมรณบัตร คำสั่งศาล

31 19. การโอนพาณิชกิจ พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ไม่ได้กำหนดวิธีการจดทะเบียนโอนพาณิชยกิจไว้ เหตุเพราะ พาณิชยกิจเป็นกิจการเฉพาะตัวบุคคล แต่การโอนพาณิชยกิจให้กระทำได้โดยผู้รับโอนไม่อาจนับช่วงเวลาที่ผู้โอนได้ดำเนินกิจการมาก่อนได้ (วันเริ่มประกอบการจะเป็นวันปัจจุบันที่ขอจดทะเบียนเลิก/ตั้งใหม่) โดยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจเดิมที่จะโอน ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิก โดยระบุในแบบ ทพ.ข้อ 14. ว่า “โดยเหตุโอนพาณิชยกิจให้กับ ผู้รับโอน” ให้ผู้รับโอน ยื่นคำขอจดทะเบียนตั้งใหม่โดยระบุในแบบ ทพ.ข้อ (9) ว่าได้รับโอนจากผู้ใด ให้สอดคล้องกัน ทั้งสองกรณีให้ยื่นคำขอในวันเดียวกัน โดยให้ยื่นคำขอเลิกและรับจดทะเบียนก่อน จึงจะจดทะเบียนตั้งใหม่ หรือจะยื่นพร้อมกันโดยรับจดทะเบียนเลิกก่อนรับจดทะเบียนตั้งใหม่ก็ได้

32 20. การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1.1 มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า หรืออื่น ๆ 1.2 มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น 1.3 มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย 1.4 มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น 1.5 รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต) 1.6 เว็บไซต์ให้บริการเกมออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน) 1.7 เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลงโปรแกรม เกม Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

33 20. การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ต่อ)
2. ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2.1 มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้ง ว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ …. 2.2 การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม 2.3 การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน 2.4 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า 2.5 เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว 2.6 เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ

34 20. การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ต่อ)
3. การรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันที่มีการรับจดทะเบียนทาง ซึ่งประกอบด้วย (1) แบบรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ข้อมูลผู้ประกอบการ) (2) แบบรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ข้อมูลเว็บไซต์) และส่งสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403) พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ ผ่านทางโทรสารหมายเลข หรือส่งทาง

35 20. การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ต่อ)
คำอธิบาย บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ไม่ได้หมายถึง ร้านบริการอินเทอร์เน็ต หรือ ร้านอินเตอร์ เน็ตคาเฟ่ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการในการเล่นอินเทอร์เน็ต หรือเกมคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ หน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) คือ ผู้ให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่ในการรับ ฝากเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถออนไลน์ หรือมองเห็นบนอินเทอร์เน็ตได้ (สรุปคือผู้ให้บริการในการ เช่าพื้นที่ของเครื่อง Server) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ( หรือ e-Marketplace) คือ เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้าและร้านค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน

36 21. การจัดทำทะเบียนคุม แฟ้มทะเบียน และการรายงาน
ทะเบียนคุมให้เป็นไปตามบัญชีรับจดทะเบียนพาณิชย์(ดาวน์โหลด จัดทำแฟ้มทะเบียน เพื่อจัดเก็บคำขอและเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชยกิจแต่ละราย โดยเก็บคำขอตั้งใหม่-เปลี่ยนแปลง-เลิก ของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายนั้นไว้ในแฟ้มเดียวกัน และจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อกันตามลำดับการจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ รายงานสถิติการจดทะเบียนพาณิชย์ (คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง ให้จัดส่งสถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ ) ตามแบบรายงานที่กำหนดโดยส่งมายังสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่ ทางอีเมล์ ทุกเดือน/ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

37 22. การขอตรวจดูเอกสาร คัดสำเนา และรับรองสำเนาเอกสาร
ประชาชนจะขอตรวจดู หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนให้ก็ได้ โดยยื่นแบบบริการข้อมูลธุรกิจ และเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการรับรองสำเนาเอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์ ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์จัดทำตราประทับสำหรับใช้ในการรับรองสำเนาเอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์ โดยมีรูปแบบและขนาดดังนี้


ดาวน์โหลด ppt ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google