งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ อีเมล์ : โทรศัพท์ : สายด่วน 1570

2 รูปแบบองค์กรธุรกิจ

3 หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียน พาณิชย์ 2. ประโยชน์ของการจดทะเบียน พาณิชย์ 3. ความหมายของพาณิชยกิจ และผู้ ประกอบพาณิชยกิจ 4. พนักงานเจ้าหน้าที่และนาย ทะเบียน 5. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ

4 หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย (ต่อ)
6. พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 8. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 9. บทกำหนดโทษ และแนวทางการ ดำเนินคดี 10. คำถามที่พบบ่อย

5 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์
1.1 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 1.2 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 1.3 พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.2546 1.4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2540) ออกตามความใน พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 1.5 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาการถอนใบทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 1.6 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2552 5

6 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
1.7 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียน พาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียน (ฉบับที่ 10) พ.ศ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2553

7 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
1.10 ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์ พ.ศ. 2549 1.11 คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิชย์ และเลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 1.12 คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 2/2553 เรื่อง ให้จัดส่งสถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ 1.13 คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2554 และเลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์จังหวัดบึงกาฬ

8 2. ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์
2.1 เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมสถิติข้อมูลและทราบ หลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกต้องเชื่อถือได้ 2.2 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือส่งเสริมด้านการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ ของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 2.3 ผู้ประกอบพาณิชยกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานในทาง การค้าได้

9 3. ความหมายของพาณิชยกิจ และผู้ประกอบพาณิชยกิจ
พาณิชยกิจ หมายถึง กิจการในทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม การบริการหรือกิจการอย่างอื่นที่เป็นการค้า ผู้ประกอบพาณิชยกิจ หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ซึ่ง ประกอบพาณิชยกิจเป็นอาชีพปกติและให้ หมายความรวมถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัด ความรับผิด กรรมการ หรือผู้จัดการด้วย

10 4. พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง บุคคลซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง ให้เป็นผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจ ดังนี้ 1. เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ใน ระหว่างเวลาทำงาน 2. ตรวจดู คัดสำเนาและรับรองสำเนา เอกสารเกี่ยวกับการ จดทะเบียนพาณิชย์

11 4. พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียน (ต่อ)
นายทะเบียนพาณิชย์ หมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจ หน้าที่ ดังนี้ 1. รับจดทะเบียนพาณิชย์และออกใบ ทะเบียนพาณิชย์ 2. ออกคำสั่งเรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจมา สอบสวน 3. เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ในระหว่างเวลา ทำงาน

12 5. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ
พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 6 ให้ถือว่า กิจการดังต่อไปนี้เป็นพาณิชยกิจ ได้แก่ 1. การซื้อ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปลี่ยน 2. การให้เช่า การให้เช่าซื้อ 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง 4. การขนส่ง 5. การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม 6. การรับจ้างทำของ 12

13 5. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ (ต่อ)
7. การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง 8. การคลังสินค้า 9. การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อ หรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การเครดิตฟองซิเอร์ การโพยก๊วน 10. การรับประกันภัย 11. กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

14 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๕
วัตถุประสงค์ : ควบคุมกิจการค้าที่อาจจะกระทบต่อสาธารณชน ๘ กิจการ ประเภทกิจการที่ใช้บังคับ กฎหมายที่ใช้บังคับ การประกันภัย พรบ.ประกันชีวิต พรบ.ประกันวินาศภัย การธนาคาร พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พรบ.การธนาคารพาณิชย์ การออมสิน พรบ.ธนาคารออมสิน

15 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๕
การเครดิตฟองซิเอร์ พรบ.การประกอบธุรกิจเงินทุน การซื้อ หรือขายตั๋วเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจ การจัดหาเงินทุน การเครดิตฟองซิเอร์ การซื้อ ขายแลกเปลี่ยนเงินตรา การคลังสินค้า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ควบคุม กิจการคลังสินค้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ไซโลและห้องเย็น พ.ศ. ๒๕๓๕

16 5. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ (ต่อ)
พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.2546 เพิ่มเติม โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ได้แก่ 1. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ อินเตอร์เน็ต 2. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดย คาราโอเกะ 3. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 4. การให้บริการตู้เพลง

17 6. พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย 2. พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนาหรือการ กุศล 3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระ ราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

18 ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ 2499
6. พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ 1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 83 (พ.ศ ) ลงวันที่ พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ผู้ประกอบ พาณิชยกิจซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชน จำกัด 2. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2520) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 กำหนดให้พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรซึ่งได้จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 เฉพาะการประกอบพาณิชยกิจตาม (1) – (5) (ยกเลิกแล้ว ให้ใช้ พรฎ.ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2547) ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์

19 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2553 ลงวันที่ 10 พ.ย.2553 ข้อ 4. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้น ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

20 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
1. การทำโรงสีข้าว และการทำ โรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่าง เดียวหรือหลายอย่าง ก็ตาม คิดรวม ทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อ ขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป

21 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่า รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป 4. การประกอบหัตถกรรมหรือการ อุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือ หลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้มี ค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ บาทขึ้นไป

22 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่ง โดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม

23 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
ข้อ 5. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์

24 พาณิชยกิจตาม 3 - 6 เป็นการประกอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 1. ขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ ดีวีดีหรือ แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 2. ขายอัญมณีหรือเครื่องประดับซึ่งประดับ ด้วยอัญมณี 3. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต 4. การบริการอินเทอร์เน็ต (จดทะเบียน พาณิชย์เฉพาะ ผู้ ประกอบพาณิชยกิจเป็นนิติบุคคล) พาณิชยกิจตาม เป็นการประกอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

25 พาณิชยกิจตาม 3 - 6 เป็นการประกอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 6. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขาย สินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 7. ผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบ บันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับ การบันเทิง 8. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ ใช้อินเทอร์เน็ต พาณิชยกิจตาม เป็นการประกอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

26 7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ)
9. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 10. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 11. การให้บริการตู้เพลง 12. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการ ทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้า ส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

27 8. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่ วันเริ่ม ประกอบพาณิชยกิจ หรือวันที่เปลี่ยนแปลง รายการ หรือวันที่ เลิกประกอบพาณิชย กิจ ตามแต่กรณี 2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย 3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงาน ใหญ่และสาขา ให้ เขียนเป็นอักษรไทยอ่านได้ง่ายและชัดเจน จะ มีอักษรต่างประเทศ ไว้ด้วยก็ได้

28 8. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ)
4. ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด 5. ต้องไปพบนายทะเบียนพาณิชย์ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ และยินยอมให้ ถ้อยคำ 6. ต้องอำนวยความสะดวก เมื่อมีการไป ตรวจในสำนักงาน

29 9. บทกำหนดโทษ และการดำเนินคดี
1. ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน 2. แสดงรายการเท็จ 3. ไม่ไปพบนายทะเบียนหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ 4. ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

30 9. บทกำหนดโทษ และการดำเนินคดี(ต่อ)
5. ไม่ยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียน พาณิชย์ ภายใน 30 วัน 6. ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ในที่ เปิดเผย 7. ไม่จัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงาน แห่งใหญ่หรือสาขา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท และปรับอีกไม่เกินวันละยี่สิบบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

31 9. บทกำหนดโทษ และการดำเนินคดี(ต่อ)
8. ผู้ใดกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต หรือกระทำทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ และจะประกอบพาณิชยกิจต่อไปอีกไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนใหม่ได้ ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังคงฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

32 9. บทกำหนดโทษ และการดำเนินคดี(ต่อ)
กรณีพบความผิดจะดำเนินคดี/ปรับ ได้เลยหรือไม่ พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มิได้มีบทบัญญัติ ให้อำนาจ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผู้ที่อธิบดีกรม พัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย มีอำนาจ เปรียบเทียบปรับได้ ดังนั้นการดำเนินคดีทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็น โทษ จำคุก หรือทั้งจำและปรับ จึงต้อง เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา โดยรวบรวมเอกสารหลักฐานส่งให้ พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการ ตาม ขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

33 10. คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย

34 ขอบคุณ Call Center 1570 สายด่วน 1570


ดาวน์โหลด ppt ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google