02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar of Compressive Coal for Local Community in Surin Province ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยตรี ดร.ชูชาติ พยอม นายศุภชัย แก้วจันทร์ นายวิทยา อินทร์สอน สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1. เพื่อศึกษา และออกแบบทดลอง การทำถ่านอัดแท่งจากมูลช้างในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนทดแทนถ่านเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ 2. เพื่อสร้างเครื่องต้นแบบทำถ่านอัดแท่งจากมูลช้าง สำหรับชุมชนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. ขอบเขตทางด้านการสร้าง 1.1 โครงสร้างของเครื่องอัดเชื้อเพลิงจากมูลช้าง กว้าง 152 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร สูง 127 เซนติเมตร 1.2 ขนาดของชุดผสม กว้าง 45 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร 1.2.1 ขนาดของถังผสม Ø 45 เซนติเมตร 1.2.2 ขนาดของใบพายผสม กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว15เซนติเมตร 1.3 ขนาดของชุดกระบอกอัด กว้าง เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร 1.3.1 ชุดเกลียวอัด 1 ชุด 1.3.2 กระบอกรีดเส้นผ่าศูนย์กลาง Ø 4 เซนติเมตร 2. ขอบเขตทางด้านวัตถุดิบ คณะผู้วิจัยได้ดัดแปลงสูตรผสมการทำถ่านอัดก้อนเชื้อเพลิงของ (จันทร์เทพ พยุงเกษมและสมเกียรติ ขรวนรัมย์. 2550) มูลช้างสับละเอียด 32.5 % ขี้เลื่อยบดละเอียด 15 % ชีวมวล(ผงถ่าน) บดละเอียด 17.5 % แป้งมัน 5 % น้ำ 30 % 3. ขอบเขตทางด้านประสิทธิภาพ 3.1 พิจารณาจากผลในการผสมมูลช้างที่คลุกเคล้าเข้ากันได้ดีจนสามารถอัดเป็นแท่งได้ 3.2 พิจารณาจากผลความสามารถในการอัดเป็นแท่งได้ 3.3 พิจารณาจากผลการเปรียบเทียบระหว่างเชื้อเพลิงจากมูลช้างกับถ่านไม้จบก ในด้านอุณหภูมิและเวลาในการให้ความร้อน แสดงขั้นตอนการหาประสิทธิภาพเครื่องอัดถ่านจากมูลช้าง ผลการดำเนินงานและอภิปรายผล ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพเครื่องอัดเชื้อเพลิงจากมูลช้าง สามารถอัดได้ 10 กิโลกรัมต่อ 5.62 นาที หรือ 107 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ผลการทดสอบหาค่าความหนาแน่น ที่เส้นผ่านศูนย์กลางจากปากกระบอกรีด 4.5 เซนติเมตร ความยาวของแท่งเชื้อเพลิงจากมูลช้างเฉลี่ย 10 เซนติเมตร น้ำหนักของแท่งเชื้อเพลิงจากมูลช้างเฉลี่ย 270 กรัม ค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 0.34 กรัมต่อลูกบาศกเซนติเมตร การรักษาอุณหภูมิคงที่ของเชื้อเพลิงจากมูลช้างรักษาอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 69.56 นาที จะเห็นได้ว่าถ่านจากเชื้อเพลิงจากมูลช้างจะให้ความร้อนได้เร็วกว่าถ่านไม้จบก 0.88 นาที และรักษาอุณหภูมิความร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่าถ่านไม้จบก 11.33 นาที อธิบายได้ว่า ผลจากการอัดเชื้อเพลิงจากมูลช้างที่พัฒนาขึ้นโดยลดขนาดของกระบอกรีดให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงกว่าเดิม มีความเหมาะสมมาใช้ในการอัดเชื้อเพลิงจากมูลช้างให้มีความหนาแน่นและสะสมอุณหภูมิได้นานขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ วัฒนา หมุ่ยศรีและคณะ (2550) ผลอัดแท่งเชื้อเพลิงที่ความเร็วรอบ 106 รอบต่อนาที สามารถทำงานได้ดีที่สุด เนื่องจากแท่งเชื้อเพลิงที่อัดได้มีความหนาแน่นดีที่สุด แท่งเชื้อเพลิงจับกันได้ดี และควรลดขนาดของกระบอกรีดให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงกว่าเดิม คือ จาก 5.1 เซนติเมตร เป็น 4.5 เซนติเมตร เพื่อให้มีปริมาตรเล็กลง การอัดจะแน่นขึ้น แนวทางการนำผลการดำเนินโครงการไปใช้ประโยชน์/แนวทางการพัฒนาต่อยอดโครงการวิจัย 1. ควรศึกษา เรื่อง การสร้าง และหาประสิทธิภาพเครื่องบดสับมูลช้างสด เพื่อผลิตถ่านอัดแท่ง สำหรับชุมชนคนเลี้ยงช้าง 2. ควรศึกษา เรื่อง การสร้าง และหาประสิทธิภาพเครื่องอบถ่านแท่งจากมูลช้าง เพื่อผลิตถ่านอัดแท่ง สำหรับชุมชนคนเลี้ยงช้าง กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องการศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่งสู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำสำเร็จลุล่วงลงได้ เพราะได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาวิจัยแห่งชาติ สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ตามมติคณะรัฐมนตรี คำชี้แนะข้อมูลจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ ชุมชนคนเลี้ยงช้างในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ นักวิชาการจากศูนย์คชศึกษาและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พร้อมทั้งให้ความอนุเคราะห์มูลช้างจำนวนมากในการทดสอบ ขอขอบคุณ ท่านสิทธิพร หวังดี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ซึ่งได้มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและคำแนะนำ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินการวิจัย ในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจึง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ วิธีการดำเนินการวิจัย 1. ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลและสภาพปัญหา 2. ขั้นตอนการออกแบบและสร้าง 3. ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพเครื่องอัดถ่านจากมูลช้าง 4. ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล 6. ขั้นตอนการสรุปรายงาน